พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11028/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้ภาษีของเจ้าของใหม่หลังโอนทรัพย์สิน และอำนาจฟ้องคดีภาษีที่ต้องชำระภาษีให้ครบก่อน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" เมื่อบริษัท บ. เจ้าของโรงเรือนพิพาทคนเก่าผู้รับประเมินเป็นหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและยังมิได้ชำระ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จึงเป็นเจ้าของคนใหม่ ต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีร่วมกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง โดยประการสำคัญก็เพื่อให้จำเลยยกเลิกการเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามนัยมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า จะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา เช่นว่านั้น คดีโจทก์เป็นเรื่องภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์เป็นเจ้าของคนใหม่ ย่อมอยู่ในฐานะเดียวกับเจ้าของคนเก่าผู้รับประเมิน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 39 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้อง เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8699/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีค้างชำระและเจ้าของใหม่มีหน้าที่รับผิดร่วมกันตามกฎหมาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยมิได้ใช้อำนาจ ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 115 วรรคสอง ก่อนที่โรงเรือนพิพาทจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด และเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เจ้าของคนใหม่แล้ว แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย ย่อมถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีเมื่อมีการโอนทรัพย์สิน โดยหนี้ภาษียังไม่ถูกชำระ
ความในมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มิได้หมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติคำว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไป บัญญัติเพียงว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้ว เพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเอง แต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกันเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38 ล่วงพ้นไป เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มดังโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในหนี้ภาษีค้างชำระเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2479 มาตรา 45กำหนดว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตามเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน จึงเห็นได้ว่าความในมาตรา 45 มิได้หมายความถึง มีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไปเพียงแต่บัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้วเพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเองแต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน คดีนี้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38ล่วงพ้นไปแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้ภาษีค้างของเจ้าของคนใหม่, อายุความ, และขอบเขตคำพิพากษา
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา55บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันเมื่อหนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจากว.เจ้าของคนเก่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่ว. เจ้าของคนเก่าแล้วการนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่ว.เจ้าของคนเก่าได้คือนับแต่วันพ้นกำหนด90วันที่ว. ได้รับแจ้งรายการประเมินตามมาตรา38เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือน: การรับผิดของเจ้าของคนใหม่, อายุความ, และขอบเขตคำฟ้อง
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 55บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกัน เมื่อหนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจากว. เจ้าของคนเก่า สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่ ว. เจ้าของคนเก่าแล้ว การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่ว. เจ้าของคนเก่าได้ คือ นับแต่วันพ้นกำหนด90 วัน ที่ว. ได้รับแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 38 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษีโรงเรือน, การบังคับสิทธิเรียกร้อง, และขอบเขตคำฟ้อง
เมื่อไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรและไม่มีข้อกำหนดคดีภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องคำฟ้องไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ฟ้องของโจทก์ได้แสดงรายละเอียดจำนวนหนี้ค่าภาษีโรงเรือนที่ว.เจ้าของโรงเรือนคนเก่าค้างชำระในปีใด จำนวนเท่าใด จำเลยทั้งหกต้องรับผิดร่วมด้วยเพราะเหตุใด กับขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระเงินจำนวนเท่าใดไว้ครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะเคยมีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่า ว.ค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 เป็นเงินรวม 61,545 บาท ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนตามคำฟ้องก็เป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมิใช่ข้ออ้างแห่งข้อหาหรือสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้คำฟ้องที่สมบูรณ์ของโจทก์กลับกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไปได้
มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ที่บัญญัติให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้รัฐสามารถติดตามเอาชำระค่าภาษีค้างให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของผู้ใด และโดยที่หนี้ค่าภาษีค้างเป็นหนี้ที่มีอยู่ก่อนเจ้าของคนใหม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีค้างจึงอาจบังคับได้ตั้งแต่เจ้าของคนเก่าแล้ว ดังนั้น การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าของคนเก่าได้ คือนับแต่วันพ้นกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ว.เจ้าของคนเก่าได้รับแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2515 ถึงพ.ศ.2519 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520 ส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2520ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2520 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2521 ถึง พ.ศ.2524 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2524 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) คดีโจทก์เกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีค้างประจำปี พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2524 จึงขาดอายุความส่วนภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2525 ว.ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2525 และภาษีโรงเรือนปี พ.ศ.2526 ได้รับแจ้งรายการประเมินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526 นับตั้งแต่วันครบกำหนด 90 วัน ที่ได้รับแจ้งรายการประเมินถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้อง ว.หรือทายาทและมีคำขอให้ ว.หรือทายาทร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งหกแต่อย่างใด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ ว.และทายาทร่วมชำระเงินแก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แม้ปัญหานี้จำเลยทั้งหกไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยทั้งหกแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้ซื้อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 45 การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: ลูกหนี้ร่วมและผลของการซื้อขาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้ จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 45
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.