คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 26

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ สิทธิเช่าจึงไม่ได้รับการคุ้มครอง
หญ้าไม่ใช่พืชไร่ตามความหมายของคำนิยามศัพท์ของมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ของโจทก์จึงมิใช่การเช่านาอันจะต้องมีการควบคุมตามมาตรา 22 ทั้งจะขยายความให้มีความหมายถึงการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น นอกจากการเช่านาตามคำนิยามศัพท์ของคำว่าเกษตรกรรม มาตรา 5 หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อการเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.ควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นการเช่าที่ดินของโจทก์จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทต่อไปจนครบ 6 ปี หาได้ไม่ เพราะกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 26 ใช้เฉพาะการเช่านาอย่างเดียว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 บอกเลิกการเช่าจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดินและข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของวัด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวาอารามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับ จึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้ พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ พ. ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ครอบครองเดิม ผู้รับพินัยกรรม และผู้เช่า: การพิพากษาตามฟ้องแย้ง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวา อา รามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับจึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาท เป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของพ.ดังนี้กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่าใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินทำนา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การบอกเลิกก่อนกำหนดและไม่แจ้งเหตุต่อ คชก.ตำบล ทำให้สัญญาเช่ายังมีผล
ตามบทบัญญัติในมาตรา26และมาตรา37แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524เห็นได้ว่าเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาตามมาตรา26วรรคหนึ่งแล้วถ้าผู้ให้เช่านามิได้บอกเลิกการเช่านาตามมาตรา37และผู้เช่านายังทำนาในที่นานั้นต่อไปให้ถือว่าได้มีการเช่านานั้นต่อไปอีกคราวละหกปีและการบอกเลิกการเช่านาต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา37โดยผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านาและผู้ให้เช่านาจะบอกเลิกการเช่านาได้ก็ด้วยเหตุตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา37 การเช่านาระหว่างโจทก์และจำเลยจะครบกำหนดในวันที่20ตุลาคม2532แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าเมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2532การบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวจึงเป็นการบอกเลิกก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง8เดือนเท่านั้นและตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาไปยังคชก.ตำบลตามที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37กำหนดไว้การบอกเลิกการเช่านาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายการเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่สิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ หากไม่ครบถ้วน สัญญาเช่ายังมีผล
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 26,37 กำหนดให้ผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกการเช่านาด้วยเหตุตามมาตรา 37 โดยทำเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านา เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง 8 เดือน และตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุการบอกเลิกการเช่านาไปยัง คชก.ตำบล ตามที่มาตรา 37 กำหนดไว้เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเช่านายังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ การบอกเลิกก่อนกำหนดหรือขาดเหตุผลตามกฎหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 26 และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เห็นได้ว่า เมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งแล้ว ถ้าผู้ให้เช่านามิได้บอกเลิกการเช่านาตามมาตรา37 และผู้เช่านายังทำนาในที่นานั้นต่อไป ให้ถือว่าได้มีการเช่านานั้นต่อไปอีกคราวละหกปี และการบอกเลิกการเช่านาต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของมาตรา 37 โดยผู้ให้เช่านาต้องบอกเลิกเป็นหนังสือให้ผู้เช่านาทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจะครบกำหนดการเช่านาและผู้ให้เช่านาจะบอกเลิกการเช่านาได้ก็ด้วยเหตุตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 37
การเช่านาระหว่างโจทก์และจำเลยจะครบกำหนดในวันที่ 20ตุลาคม 2532 แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2532การบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวจึงเป็นการบอกเลิกก่อนครบกำหนดการเช่าเพียง8 เดือนเท่านั้น และตามหนังสือบอกกล่าวก็มิได้ระบุเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาไปยัง คชก.ตำบล ตามที่ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 กำหนดไว้ การบอกเลิกการเช่านาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นายท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง298 ไร่ จากนาง จ. มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนายป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายป.ยังขีดข้อความว่า "จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นายป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนายป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของนายป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่าการบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31,34,36 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด 15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง การบอกเลิกสัญญา และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นาย ท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง 298 ไร่ จากนาง จ.มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนาย ป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนาย ป.ยังขีดข้อความว่า"จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นาย ป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนาย ป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของ นาย ป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่า การบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31, 34,36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสัญญาเช่าเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การสิ้นสุดภาระหนี้เมื่อมีการโอนที่ดิน
คู่ความท้ากันว่า ถ้าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยยอมแพ้ข้อต่อสู้อื่น ๆ จำเลยสละทั้งหมดถ้าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยอมแพ้ สำหรับค่าเสียหายหากโจทก์ชนะคดี จำเลยยอมให้เป็นไปตามฟ้อง ปรากฏว่ามาตรา 63วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นช่องทางให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกรผู้เช่าโดยไม่เป็นธรรมจนเกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ไม่ปรากฏว่าตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนบัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดแสดงว่ากฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสงค์ให้มีการควบคุมคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา) เหมือนกับการเช่านาเพื่อทำนาปลูกข้าวหรือพืชไร่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 26 จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยต้องแพ้คดีตามคำท้า และแม้โจทก์ได้โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยกับบุตรแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยก็ยังต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นับแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทจนถึงวันที่โจทก์โอนที่พิพาทดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 จนกว่าจะมี ร.ก. ออกมา
คู่ความท้ากันว่า ถ้าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยยอมแพ้ ข้อต่อสู้อื่น ๆ จำเลยสละทั้งหมด ถ้าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโจทก์ยอมแพ้ สำหรับค่าเสียหายหากโจทก์ชนะคดี จำเลยยอมให้เป็นไปตามฟ้อง ปรากฏว่ามาตรา63 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใด นอกจากการเช่านาเป็นช่องทางให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกรผู้เช่าโดยไม่เป็นธรรมจนเกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่ปรากฏว่าตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนบัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใด แสดงว่ากฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสงค์ให้มีการควบคุมคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา) เหมือนกับการเช่านาเพื่อทำนาปลูกข้าวหรือพืชไร่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 26 จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยต้องแพ้คดีตามคำท้า และแม้โจทก์ได้โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยกับบุตรแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นับแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทจนถึงวันที่โจทก์โอนที่พิพาทดังกล่าว
of 2