พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 และการบังคับใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ได้บัญญัติไว้ในมาตรา2ว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด60วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่27สิงหาคม2534ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญาจึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่2โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่1หรือโจกท์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แก้ไขใหม่ และผลของการกำหนดราคาทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใช้บังคับของมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ด้วย แม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญา จึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยยกคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยขึ้นวินิจฉัยประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการเดินเผชิญสืบ เป็นการวินิจฉัยพยานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะเมื่อต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะเมื่อต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 242: ทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนของหมั้นเป็นเงิน10,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนสินสอดเป็นเงิน 50,000 บาทหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 สามารถแยกออกจากหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคนละส่วนกันได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์แต่ละส่วนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายในอนาคตไม่อาจนำมารวมคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้
ค่าเสียหายปีละ 40,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ นับแต่วันหลังจากวันฟ้องนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำไปรวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งอุทธรณ์ทั้งคดีส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ฎีกาจำเลยจึงมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ 200 บาทรวมเป็น 400 บาท จำเลยเสียเกินมา ศาลฎีกาสั่งให้คืนส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งอุทธรณ์ทั้งคดีส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ฎีกาจำเลยจึงมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ 200 บาทรวมเป็น 400 บาท จำเลยเสียเกินมา ศาลฎีกาสั่งให้คืนส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ค่าเสียหายในอนาคตไม่นำมาคำนวณในชั้นอุทธรณ์ ทำให้คดีนั้นห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ค่าเสียหายปีละ40,000บาทที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องนั้นเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำไปรวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งอุทธรณ์ทั้งคดีส่วนฟ้องของโจทก์และคดีส่วนฟ้องแย้งของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ฎีกาจำเลยจึงมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยอย่างละ200บาทรวมเป็น400บาทจำเลยเสียเกินมาศาลฎีกาสั่งให้คืนส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินน.ส.3ก.เลขที่2239โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจากล.เจ้าของเดิมจำเลยที่1และที่2ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของล. โดยอ้างว่าที่ดินตามน.ส.3ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของล. เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1และที่2ได้ขอแบ่งที่ดินตามน.ส.3ก.แปลงนั้นออกเป็น7ส่วนและโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145เนื้อที่8ไร่ให้แก่จำเลยที่3และที่4และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3146เนื้อที่4ไร่ให้แก่จำเลยที่5โดยจำเลยที่3ที่4และที่5ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามและเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลืองทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่3และที่4เนื้อที่8ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทและเรียกคืนจากจำเลยที่5เนื้อที่4ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทเช่นกันคดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่3ที่4และที่5ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบมาตรา247 เมื่อที่พิพาทแปลงน.ส.3ก.เลขที่2239ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของล. จำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145และ3146และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3145ให้แก่จำเลยที่3ที่4และโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3146ให้แก่จำเลยที่5จำเลยที่3ที่4และที่5ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1และที่2ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวและย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่จำเลยที่3ที่4และที่5ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่3ที่4และที่5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อุทธรณ์ที่ไม่ชอบ, และการใช้กฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี
คดีนี้จำเลยฎีกาทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย สำหรับฎีกาในข้อเท็จจริงมีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีกทั้งผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมิได้รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ได้ ดังนั้น ศาลฎีกาแม้ผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง คดีก็ไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลฎีกาได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวกันแล้วในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า อุทธรณ์ของจำเลยได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มิใช่บุตรของ ห. เพราะโจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานใดมาแสดงศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการมิชอบนั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชัดแจ้ง แต่อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพราะเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานคดี จึงไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องมีเอกสารมาแสดงโดยจำเลยยกเอา ป.พ.พ.มาตรา 1555 ว่าด้วยการฟ้องคดีขอให้รับรองบุตรมาอ้างนั้น เห็นว่า คดีนี้มิใช่เป็นคดีฟ้องขอให้รับรองบุตรจึงนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ และที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ห. นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีมรดก: ทุนทรัพย์, การรับรอง, และประเด็นข้อเท็จจริงที่ยังมิได้ว่ากล่าว
จำเลยฎีกาทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายสำหรับฎีกาในข้อเท็จจริงมีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา224วรรคหนึ่งอีกทั้งผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมิได้รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ได้ดังนั้นแม้ผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงคดีก็ไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลฎีกาได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าอุทธรณ์ของจำเลยได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มิใช่บุตรของห.เพราะโจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานใดมาแสดงศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการมิชอบนั้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งแต่อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพราะเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลคดีจึงไม่อาจขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ได้ ที่จำเลยฎีกาว่าการอ้างว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องมีเอกสารมาแสดงโดยจำเลยยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1555ว่าด้วยการฟ้องคดีขอให้รับรองบุตรมาอ้างนั้นเห็นว่าคดีนี้มิใช่เป็นคดีฟ้องขอให้รับรองบุตรจึงนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้และที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของห. นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย