คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตและผลกระทบต่อการอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่า จำเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจำเลยที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทราคา 9,600 บาท แม้จะมีคำขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีอยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของใคร ส่วนคำขอให้รื้อถอนรั้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แยกกันได้จากคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์จำกัด การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินอำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อราคาทรัพย์สินไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจำเลยที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทราคา9,600บาทแม้จะมีคำขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยก็ตามแต่ประเด็นสำคัญของคดีอยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครส่วนคำขอให้รื้อถอนรั้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แยกกันได้จากคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียวเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์จำกัด การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้มีคำขอให้รื้อถอนรั้ว
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยกั้นรั้วตามแนวเขตที่ดินของจำเลยที่จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทราคา9,600บาทแม้จะมีคำขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยก็ตามแต่ประเด็นสำคัญของคดีอยู่ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครส่วนคำขอให้รื้อถอนรั้วออกไปเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แยกกันได้จากคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียวเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีบุกรุกที่ดินและข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์ รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกัน มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ 3,000 บาท คดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีบุกรุกที่ดิน: อุทธรณ์ต้องห้าม เหตุจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น และสิทธิฟ้องตกทอดสู่ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันมิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมจำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมาคดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ3,000บาทคดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา12แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวสิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และการพิจารณาอำนาจฟ้องในคดีแพ่ง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบ จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาทจำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1 รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์ที่แท้จริงเป็นเกณฑ์พิจารณา มิใช่จำนวนที่ระบุในฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตามแต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบจึงไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาท จำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์, หนังสือมอบอำนาจ, หลักฐานเอกสารต่างประเทศ: การพิจารณาคดีค่าเสียหายและการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ฟ้องขอให้จำเลยผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 91,380 บาท โดยโจทก์ที่ 2เรียกร้องเป็นเงิน 8,275 บาท โจทก์ที่ 3 เรียกร้องเป็นเงิน 12,921 บาทและโจทก์ที่ 4 เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับรถของตนเองเป็นเงิน 70,184 บาทดังนี้ไม่ใช่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าหนี้ร่วม แต่เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแยกจากกัน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิดมาดังกล่าวเท่านั้น เมื่อคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต่อมาได้แม้จำเลยจะให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมาแล้วก็ตาม
โจทก์ที่ 2 ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 1 มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วย และแม้ขณะที่โจทก์ที่ 1ยื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 2 และที่ 3นั้นจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ก็ได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้ มิใช่กรณีที่หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นอันจะทำให้ฟ้องสำหรับคดีโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ได้
แม้ใบเสร็จรับเงินจะเป็นภาษาต่างประเทศบางส่วน ไม่มีคำแปลภาษาต่างประเทศดังกล่าวให้เป็นภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม หรือไม่ เมื่อศาลมิได้สั่งให้โจทก์ที่ 2 ทำคำแปล โจทก์ที่ 2 ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปล ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ หาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ที่2ที่3และที่4ฟ้องขอให้จำเลยผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน91,380บาทโดยโจทก์ที่2เรียกร้องเป็นเงิน8,275บาทโจทก์ที่3เรียกร้องเป็นเงิน12,921บาทและโจทก์ที่4เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับรถของตนเองเป็นเงิน70,184บาทดังนี้ไม่ใช่โจทก์ที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหนี้ร่วมแต่เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแยกจากกันจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิดมาดังกล่าวเท่านั้นเมื่อคดีในส่วนของโจทก์ที่2ที่3มีทุนทรัพย์ไม่เกิน20,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่2และที่3ต่อมาได้แม้จำเลยจะให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมาแล้วก็ตาม โจทก์ที่2ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแต่ฝ่ายเดียวโจทก์ที่1มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วยและแม้ขณะที่โจทก์ที่1ยื่นฟ้องคดีแทนโจทก์ที่2และที่3ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่2และที่3นั้นจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแต่เมื่อโจทก์ที่1ที่2แบะที่3ได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานก็ได้ปิดแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์แล้วหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าโจทก์ที่2และที่3ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ฟ้องคดีนี้มิใช่กรณีที่หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นอันจะทำให้ฟ้องสำหรับคดีโจทก์ที่2และที่3ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่อย่างใดโจทก์ที่1จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์ที่2และที่3ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่2และที่3ได้ แม้ใบเสร็จรับเงินจะเป็นภาษาต่างประเทศบางส่วนไม่มีคำแปลภาษาต่างประเทศดังกล่าวให้เป็นภาษาไทยก็เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามหรือไม่เมื่อศาลมิได้สั่งให้โจทก์ที่2ทำคำแปลโจทก์ที่2ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องและเจตนาครอบครอง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเข้าไปปั้นคันนาในที่พิพาทแล้วออกไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับที่พิพาทอีก ระยะเวลาหลังจากนั้นมาจึงมิใช่การครอบครองหรือแย่งการครอบครองตามกฎหมาย แม้ต่อมาจำเลยจะเข้าไปตัดฟันต้นชาด จำเลยก็ไม่ได้ครอบครองต่อเนื่องนับจากเข้าไปปั้นคันนา จำเลยมีเจตนารบกวนเพื่อให้โจทก์ดำเนินคดี แต่มิใช่เจตนาครอบครองที่พิพาทเพื่อตน ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองตามกฎหมาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 13