พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน โดยพิจารณาจากทุนทรัพย์และข้อกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ประกอบมาตรา 83 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยหลังจากลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงปรับ 40 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419-4420/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการรับอุทธรณ์คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการวินิจฉัยประเด็นความรับผิดทางแพ่งร่วมกับคดีอาญา
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ในแต่ละฐานความผิดไม่ได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะพิพากษาคดีไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องพิพากษาคดีไปตามคำรับสารภาพของจำเลยโดยไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสมอไปไม่ เพราะในคดีอาญาเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และโจทก์ร่วมทั้งสามขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสาม ซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเป็นต้องสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสามต่อไปเพื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ประกอบการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ซึ่งพยานหลักฐานที่นำสืบคดีในส่วนแพ่งย่อมเกี่ยวพันกับคดีในส่วนอาญา ดังนั้นหากปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิด ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ และต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ร่วมทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เกินคนละ 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีส่วนแพ่งมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าว กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมสามารถยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และมาตรา 40
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ร่วมทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เกินคนละ 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีส่วนแพ่งมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าว กรณีเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมสามารถยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และมาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งจากทุนทรัพย์ และขอบเขตค่าสินไหมทดแทนที่ศาลบังคับได้ตามกฎหมาย
สิทธิในการอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 24,725 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. อาญา มาตรา 40 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอำนาจอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์และทุนทรัพย์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นของโจทก์ แต่เป็นของผู้อื่น คือ ม. และ ห. กับมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินมาจาก ม. และ ห. และยึดถือครอบครองเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีของโจทก์ที่ฟ้องและมีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จากการที่จำเลยอยู่ในที่ดินโดยละเมิดเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องถือว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไปคำนวณถึงวันที่ 27 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นวันฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เช่นกัน อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่สิทธิที่จะฎีกาปัญหาดังกล่าวอีก เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงานในข้อเท็จจริง และการไล่ออกเนื่องจากลักทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เป็นการเฉพาะให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานได้เฉพาะในข้อกฎหมาย ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นกรณีหนึ่งกรณีใดให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงนำหลักการอุทธรณ์กรณีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างทำความเห็นแย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มาใช้กับการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานไม่ได้
ตามวิธีปฏิบัติงาน เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ระบุการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์โดยสารแต่ละคันเติมด้วยยอดจำนวนเต็มหรือตามที่กำหนดในแต่ละสาย เมื่อครบจำนวนตามกำหนดพนักงานเติมน้ำมันจะดึงหัวจ่ายออกแล้วเก็บไว้ในที่เก็บและปิดฝาถังน้ำมันรถยนต์โดยสาร แสดงให้เห็นว่าน้ำมันที่ยังค้างอยู่ในหัวจ่ายเป็นน้ำมันของจำเลย แม้จะมีการตัดยอดจ่ายน้ำมันแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มีระเบียบให้ทิ้งน้ำมันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเติมน้ำมันเทน้ำมันที่ค้างอยู่ที่หัวจ่ายใส่ถังน้ำมันและเอาไว้เป็นส่วนตัวจึงเป็นการลักทรัพย์นายจ้างซึ่งเป็นความผิดอาญาและจงใจไม่ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงาน เป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 จำเลยมีอำนาจไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับ
ตามวิธีปฏิบัติงาน เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ระบุการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์โดยสารแต่ละคันเติมด้วยยอดจำนวนเต็มหรือตามที่กำหนดในแต่ละสาย เมื่อครบจำนวนตามกำหนดพนักงานเติมน้ำมันจะดึงหัวจ่ายออกแล้วเก็บไว้ในที่เก็บและปิดฝาถังน้ำมันรถยนต์โดยสาร แสดงให้เห็นว่าน้ำมันที่ยังค้างอยู่ในหัวจ่ายเป็นน้ำมันของจำเลย แม้จะมีการตัดยอดจ่ายน้ำมันแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มีระเบียบให้ทิ้งน้ำมันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเติมน้ำมันเทน้ำมันที่ค้างอยู่ที่หัวจ่ายใส่ถังน้ำมันและเอาไว้เป็นส่วนตัวจึงเป็นการลักทรัพย์นายจ้างซึ่งเป็นความผิดอาญาและจงใจไม่ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงาน เป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 จำเลยมีอำนาจไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 50,000 บาท และการรับฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3 ตำบลบางเลน (บางยุง) อำเภอบางเลน (บางปลา) จังหวัดนครปฐม (เมืองนครชัยศรี) และเรียกค่าเสียหาย โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทคือ 16,100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาต่อไป ดังนี้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฎีกา กับทั้งไม่ใช่กรณีที่จะรับรองให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกา จึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม รวมทั้งศาลชั้นต้นรับรองให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริง ล้วนแต่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ทำให้โจทก์เข้าใจผิดว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเห็นควรให้โอกาสแก่โจทก์ในการดำเนินการขอให้รับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม และให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6912/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: การพิจารณาคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งในคำร้องและคำสั่งรับอุทธรณ์ประกอบกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่า "พิเคราะห์แล้ว มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้" และมีคำสั่งในอุทธรณ์ในวันเดียวกันว่า "ศาลรับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ รับอุทธรณ์ของจำเลย..." ซึ่งการรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องขอให้รับรองอุทธรณ์จะไม่มีข้อความยืนยันว่าตนรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ขณะเดียวกันศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวกันได้มีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความยืนยันรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อนำคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องและอุทธรณ์มาพิจารณาประกอบกันรับฟังได้ว่า คำรับรองของศาลชั้นต้นมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือว่าเป็นการรับรองอุทธรณ์โดยชัดแจ้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์อุทธรณ์ในคดีครอบครองที่ดินเป็นส่วนๆ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้โจทก์ทั้งสามร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งสามจะถือราคาที่ดินทั้งแปลงเป็นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 50,000 บาท และอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับอายุความในคดีละเมิด: ความรู้ของผู้กระทำละเมิด vs. ความรู้ของผู้มีอำนาจสั่งฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า อายุความให้เริ่มนับตั้งแต่ปี 2536 เพราะกองนิติการของโจทก์ได้รับข้อมูลครบถ้วนว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำละเมิด แต่โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่า ควรเริ่มนับอายุความเมื่ออธิบดีของโจทก์ทราบ มิใช่เริ่มนับแต่กองนิติการของโจทก์ทราบ ดังนี้ การอุทธรณ์ว่าอายุความควรเริ่มนับเมื่อใดจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้าม – ผลประโยชน์ร่วมกัน – การคำนวณทุนทรัพย์ – ศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบสองร่วมเล่นแชร์วงพิพาท โจทก์ทั้งสิบสองได้ส่งเงินค่างวดให้แก่จำเลยครบตามข้อตกลงรวม 24 เดือน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 จำเลยได้ขอให้โจทก์ทั้งสิบสองและลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลหยุดส่งเงิน โดยจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินพร้อมดอกแชร์จากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปก่อนแล้วมาชำระให้โจทก์ทั้งสิบสองจนครบ โดยจำเลยแบ่งลูกแชร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มของโจทก์ 12 คน จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้เดือนละ 18,627.50 บาท เป็นเวลา 26 เดือน ส่วนอีก 25,800 บาท โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและรับผิดชอบเงินจำนวนดังกล่าวเอง โดยให้กลุ่มของโจทก์ทั้งสิบสองจัดการแบ่งเงินแต่ละเดือนกันเอง จำเลยได้นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วส่งให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองถึงเดือนมกราคม 2541 เพียง 13 เดือนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้เรียกเก็บเงินค่างวดจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท โจทก์ทั้งสิบสองทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ชำระเงินค่าแชร์ให้โจทก์ทั้งสิบสองครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา