พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4917-4918/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, ทายาทรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่ฟ้องขอ, และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
การที่จำเลยร่วมอุทธรณ์ว่า ผู้ตายเป็นผู้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อแต่เพียงผู้เดียว เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นที่ฟังว่า ย. ลูกจ้างจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย อุทธรณ์ของจำเลยร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสำนวนที่ 2 มีเพียงคนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ และสมควรแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ถูกต้อง เหตุที่รถยนต์บรรทุกที่ ย. ขับเสียหลักแล่นไปชนรถยนต์โดยสารของโจทก์ที่ 1 เป็นเพราะผู้ตายขับรถยนต์เก๋งแล่นล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถเข้าไปชนรถยนต์บรรทุกก่อน ดังนั้น ย. จึงไม่ได้ขับรถประมาท เหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดความประมาทเลินเล่อของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่ ย. ขับรถด้วยความเร็วสูง หรือขับรถยนต์บรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจผู้พิพากษาในการรับรองอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ถือเป็นอำนาจเฉพาะตัวและเด็ดขาด
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้หรือไม่ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการใช้อำนาจเฉพาะตัวและถือว่าดุลพินิจดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาด จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การพิจารณาจากคำขอหลักและมูลค่าทรัพย์สินในการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องคดีโดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้เข้าแย่งการครอบครอง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมเป็นผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท คำขอที่ให้แสดงสิทธิครอบครองดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่การที่ศาลจะพิพากษาตามคำขอในส่วนนี้ได้ ก็ต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คำขอในส่วนนี้จึงเป็นเพียงคำขอที่ต่อเนื่องกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งถือว่าเป็นคำขอประธาน คดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ สิทธิของโจทก์ในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาจากราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ต่างอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนของตนแต่ละแปลงโดยมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทและอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ต่างอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนของตนแต่ละแปลงโดยมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทและอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637-6638/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการทำสัญญา สิทธิในการครอบครอง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหาย
โจทก์อ้างว่ามีการตกลงจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทกันตามคำฟ้องสำนวนแรก แต่จำเลยอ้างว่าตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกันตามคำฟ้องสำนวนหลัง และต่างโต้แย้งว่ามิได้มีการทำสัญญาตามที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้าง ดังนั้น การจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทซึ่งกำหนดไว้ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาท ย่อมจำเป็นต้องวินิจฉัยให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันตามข้ออ้างของฝ่ายใด และสัญญานั้นมีผลบังคับใช้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยว่า มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ จึงไม่นอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับฎีกาของจำเลยในเรื่องค่าเสียหายจากการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตามคำฟ้องในสำนวนแรก โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายก่อนวันฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากบ้านและที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีบังคับคดี: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยเมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองเหตุสมควร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งตีราคาทรัพย์ 20,155 บาท อันถือเป็นทุนทรัพย์คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอ ผู้ร้องอุทธรณ์ แม้คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าคดีของผู้ร้องต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142(5),243(1) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดและจำกัดขอบเขตการวินิจฉัย
เมื่อคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่จำต้องมีการรับรองให้อุทธรณ์ จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ แต่การที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฎีกาในข้อเท็จจริงประเด็นเดียวกับที่อุทธรณ์ และได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรอง แต่ไม่มีผู้ใดรับรองให้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงต้องถือว่าประเด็นข้อพิพาทมีอยู่ตามที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และจำเลยย่อมนำสืบให้ปรากฏได้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นที่มิใช่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงต้องถือว่าประเด็นข้อพิพาทมีอยู่ตามที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และจำเลยย่อมนำสืบให้ปรากฏได้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นที่มิใช่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดวงเงินทุนทรัพย์อุทธรณ์-ฎีกา: ศาลอุทธรณ์-ฎีกาต้องห้ามหากทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงิน 150,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 139,716 บาท นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ 112,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เท่ากับจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง 150,194 บาท หักด้วยจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระ 112,000 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องอีก 8,400 บาท แล้ว คือ 29,794 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่คดีแพ่งต้องถือตามต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยตรง และคดีมีทุนทรัพย์ที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามดังที่บัญญัติไว้ในป.วิ.อ. มาตรา 46 ต้องเป็นเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้โดยตรงในคดีอาญาแล้ว เมื่อคีดดังกล่าวศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเพียงว่ามีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ ยังฟังไม่แจ้งชัดว่าเป็นของโจทก์ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเท่ากับว่าคดีดังกล่าวศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นเนื้อประมาณ 50 ตารางวา โดยมีเจตนายึดถือเป็นของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นเนื้อประมาณ 50 ตารางวา โดยมีเจตนายึดถือเป็นของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง