คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์รวม: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และการพิจารณาคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไปเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และการร่วมรับผิดในสัญญาค้ำประกันค่าเสียหายจากสัญญาว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์สองจำนวน คือจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้อง เพิ่มเงินจ้างบุคคลอื่นเป็นเงิน 856,067.45 บาท และอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ 856,067.45 บาท แต่ยกฟ้องค่าเสียหาย ส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานเป็นเงิน 36,200 บาท โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ในส่วนนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในส่วนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าเสียหายในส่วนต้องจ้างผู้ควบคุมงานโจทก์ได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เป็นปัญหา ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้ ให้จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหานี้ได้ยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว และไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารชลประทานและบ้านพักพนักงานสูบน้ำสถานีสูบน้ำ ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 และ (2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้ว เสร็จบริบูรณ์ ส่วนสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 302,800 บาท มอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 20 (1) และ (2) จากจำเลยทั้งสามได้ทั้งสองจำนวน แต่ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 20 (1) และ (2) เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้าหากกำหนดได้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อศาลล่าง ทั้งสองกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวคุ้มกับความเสียหายที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงไม่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์แยกต่างหากเป็นอีกจำนวนหนึ่งแต่ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 302,800 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528-6531/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุกรุกเข้าไปในที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์และปลูกบ้านอยู่อาศัย ขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน ที่ปลูกบ้านของจำเลยแต่ละคนเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปสร้างบ้านแยกต่างหากจากกันตามที่จำเลยแต่ละคนโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดือนละ 300 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายดังกล่าวเสร็จสิ้น จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ยกฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ตามฎีกาของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินจำนวน 200,000 บาท แม้จำเลยทั้งสี่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ก็ห้ามมิให้จำเลยแต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512-6513/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้มีเหตุผลด้านการดำเนินการของศาล
สำนวนแรกโจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 173,143 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 148,132 บาทส่วนสำนวนหลังจำเลยที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์กับจำเลยที่ 4ร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแก่จำเลยที่ 3เป็นเงิน 37,006 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีแรก และคดีหลังพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระเงิน37,006 บาท แก่จำเลยที่ 3 สำนวนแรกทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนสำนวนหลังทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือไม่สนใจในการดำเนินคดีตามที่ศาลได้วินิจฉัย แต่ติดขัดเพราะการดำเนินการขอคัดถ่ายเอกสารอันเป็นการจัดระเบียบบริหารงานธุรการของศาล เป็นการนอกเหนืออำนาจโจทก์ที่จะดำเนินการก้าวล่วงได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตามลำดับกำหนดเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง
แม้อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์เป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามาพิจารณาว่าจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน, สัญญาจะซื้อจะขาย, ครอบครองปรปักษ์, การพิพากษาเกินคำขอ, ประเด็นข้อพิพาท
คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์เป็นคดีละเมิดขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท แต่เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทที่แต่ละคนครอบครองอยู่ได้ซื้อมาจาก พ. และชำระราคาแล้ว จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วยพร้อมทั้งขอให้ศาลบังคับตามฟ้องแย้ง ก็หาเป็นเหตุให้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ซึ่งกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์กลับมาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ การฟ้องแย้งของจำเลยคงมีผลทำให้จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันด้วยเท่านั้นเมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำนวนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายที่ดินระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแม้ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ระบุว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพ. กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขาย พ. มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ระบุอ้างว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพียงแต่ระบุอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้น ทั้งจำเลยก็ได้มีคำขอท้ายฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมีผลผูกพัน พ. และโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์มีหน้าที่ต้องแบ่งแยกที่ดินพิพาทแต่ละส่วนแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องแย้งของจำเลย
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแก่จำเลย เมื่อ พ. ถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกของ พ. ตกทอดแก่โจทก์ โจทก์จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของพ. เมื่อ พ. มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ดำเนินการตามหน้าที่ของ พ. สืบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีแพ่งที่จำเลยร่วมกัน โดยการพิจารณาการอุทธรณ์ต้องแยกรายบุคคล และศาลต้องวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยร่วมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง คดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท นั้นไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะการพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี: การพิสูจน์ผู้รับเงินสำคัญต่อการหักลดหย่อน
โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบกำกับภาษีและบิลเงินสดพิพาท จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18)
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ของให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์นั้นเมื่อโจทก์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม หากทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และค่าเสียหายยังไม่ถูกฟ้องก่อนยื่น
จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อจากโจทก์และจำเลยครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว สัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์จึงระงับไป เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยครอบครองแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่าอุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จำนวนค่าเสียหายที่จะนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์นั้นต้องเป็นค่าเสียหายก่อนยื่นคำฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายก่อนยื่นคำฟ้อง จึงไม่มีจำนวนค่าเสียหายที่จะนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ เมื่อคดีนี้ที่ดินพิพาทมีราคา 40,500 บาทและทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนดังกล่าว จำเลยย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสิ่งปลูกสร้างและการอุทธรณ์คำพิพากษาเรื่องข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ต้องห้ามมิชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 13