พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการซื้อขายบ้านที่เพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วย จำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้ว เดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดิน แต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วย ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่า วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้ว และนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีก ดังนี้ คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่า ขายบ้านพิพาทด้วย ก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเอง จำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตาม จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง/หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้มีผลทางทรัพย์สิน ก็เป็นคำขอประธาน ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามและคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสาม ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ว่าถ้ามีการเพิกถอนตามคำขอดังกล่าวแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่ 3 ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอประธาน ส่วนที่โจทก์ทั้งสามจะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือจำเลยที่ 3 จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นผลต่อเนื่องที่ตามมา จึงไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไม่ใช่คำขอที่จำกัดทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามและคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้ว่าถ้ามีการเพิกถอนตามคำขอดังกล่าวแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่3ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน50,000บาทก็ตามก็ต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์ทั้งสามจะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือจำเลยที่3จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นผลต่อเนื่องที่ตามมาจึงไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ชอบด้วยกฎหมาย แม้เกิดจากการขายที่ดิน ไม่ใช่การกู้ยืม ศาลวินิจฉัยถูกต้อง ฟ้องไม่ซ้อน
จำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่าหากป.ผิดนัดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้วจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตามหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ ข้อตกลงที่ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วจึงมีประเด็นข้อนี้ในคดีแต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรงแต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่างป.กับโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ป.ทำไว้กับโจทก์ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญาดังนี้จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้วที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้จากการซื้อขายที่ดินและสัญญาหย่า การอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และฟ้องซ้อน
จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำฟ้องโดยไม่มีข้อตกลงว่า หาก ป.ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตาม หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบ มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่
ข้อตกลงที่ ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว จึงมีประเด็นข้อนี้ในคดี แต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่าง ป.กับโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ แม้มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จะมิได้เกิดจากการกู้ยืมดังที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่เกิดจากการขายที่ดินดังที่จำเลยให้การก็ตาม หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็เป็นมูลหนี้ที่ชอบ มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ส่วนมูลหนี้จะเกิดจากการกู้ยืมหรือเกิดจากการขายที่ดินหาใช่ข้อสำคัญไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ หาใช่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่
ข้อตกลงที่ ป.จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ แต่มิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว จึงมีประเด็นข้อนี้ในคดี แต่ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ ซึ่งจำเลยได้แถลงโต้แย้งขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้ขอเพิ่มประเด็นข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการจะให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันระหว่าง ป.กับโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.รับผิดชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป.ทำไว้กับโจทก์ ส่วนอีกคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ป.เป็นจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาหย่าที่ ป.ทำไว้กับโจทก์แล้วป.ประพฤติผิดสัญญา ดังนี้ จำเลยในคดีนี้กับจำเลยในคดีดังกล่าวจึงเป็นคนละคนกันข้อพิพาทก็เป็นเรื่องคนละประเด็นกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็สั่งให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ได้ ประกอบกับโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทรัพย์มรดก: การคิดมูลค่าคดีตามส่วนแบ่ง และข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าที่ดินพิพาทราคา 200,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยคนละส่วน ขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วนและขอให้แบ่งค่าเช่าที่ดินพิพาทจำนวน 1,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วย จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายยกให้แก่จำเลยตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนจะได้รับแยกต่างหากจากกัน ไม่ใช่ถือราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมา เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8393/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นความประมาทของจำเลยที่ 1 และประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ว่า โจทก์มีแต่ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับกฎหมายจราจร ไม่ได้แสดงว่าการกระทำเป็นละเมิด ส่วนเอกสารหมาย จ.4 ก็ไม่ใช่หลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 2เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังไม่ได้สมตามฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเอกสารราชการที่ทางราชการสถานีตำรวจรับรองสำเนาถูกต้องมีรายละเอียดเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ และจำเลยที่ 1 ยอมรับผิด เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 1ประมาท และเอกสารหมาย จ.4 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ประกอบการ ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ดังนี้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเองว่าจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใด มิใช่ไม่รับฟังเอกสารของโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1กระทำโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8393/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 50,000 บาท เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นความประมาทของจำเลยที่1และประเด็นที่ว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2และจำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2หรือไม่ว่าโจทก์มีแต่ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับกฎหมายจราจรไม่ได้แสดงว่าการกระทำเป็นละเมิดส่วนเอกสารหมายจ.4ก็ไม่ใช่หลักฐานแสดงว่าจำเลยที่2เป็นนายจ้างของจำเลยที่1พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาฟังไม่ได้สมตามฟ้องจำเลยที่1และที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์โจทก์อุทธรณ์ว่ารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเอกสารราชการที่ทางราชการสถานีตำรวจรับรองสำเนาถูกต้องมีรายละเอียดเหตุการณ์ที่จำเลยที่1ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้และจำเลยที่1ยอมรับผิดเป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่1ประมาทและเอกสารหมายจ.4ก็ระบุว่าจำเลยที่2เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ประกอบการย่อมแสดงว่าจำเลยที่2เป็นนายจ้างของจำเลยที่1ดังนี้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเองว่าจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดมิใช่ไม่รับฟังเอกสารของโจทก์อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1กระทำโดยประมาทหรือไม่และจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2หรือไม่อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณราคาที่ดินพิพาทและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้70,000บาทและมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน10ใน14ส่วนแล้วให้จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ10ใน14ส่วนและให้ผู้ร้องสอด7ใน14ส่วนจำเลยที่2อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน50,000บาทคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจแัยของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย