พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับสำหรับความผิดหลายกระทง ต้องเฉลี่ยเวลาและไม่เกินอัตราสูงสุดตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 5 คนโดยรวมปรับ เมื่อจะต้องกักขังแทนค่าปรับ แม้จำเลยจะถูกลงโทษปรับในความผิดหลายกระทงก็คงกักขังจำเลยทุกคนแทนค่าปรับได้ไม่เกินสองปีตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30 โดยต้องเฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วน ของตัวจำเลย และเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกกักขังของจำเลยทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินสองปีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือที่ใช้ขนของผิดกฎหมายและการลดโทษจากพฤติการณ์มอบตัว
ข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า เรือของกลางมีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน ใช้ในการขนยางของกลางที่ยังมิได้เสียค่าภาษี และยางเป็นของที่ต้องจำกัด ศาลสั่งริบเรือของกลางได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเรือของกลางมีระวางบรรทุกเท่าใดไม่ เพราะไม่ใช่องค์ประกอบของความผิด
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยของศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 14,872 บาท โดยคำนวณค่าปรับจากราคาของกลาง29 รายการ และให้ริบของกลาง 29 รายการนี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นให้ริบของกลางอีกรายการหนึ่งด้วย และแก้ จำนวนค่าปรับโดยคำนวณจากราคาของกลางรายการนี้ ให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก 24,000 บาทดังนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม และประเด็นเจตนาของจำเลยเกี่ยวกับของกลาง
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 14,872 บาท โดยคำนวณค่าปรับจากราคาของกลาง 29 รายการ และให้ริบของกลาง 29 รายการนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ริบของกลางอีกรายการหนึ่งด้วย และแก้จำนวนค่าปรับโดยคำนวณจากราคาของกลางรายการนี้ ให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก 24,000 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสุกรออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร และการริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด
เรือยนต์ชนิดเพลาใบจักรที่ใช้บรรทุกสุกรที่มีชีวิตอันเป็นของที่ไม่ต้องเสียภาษีออกนอกราชอาณาจักร โดยมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง ซึ่งเป็นความผิดอย่างหนึ่งตามมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ว่าให้ริบเสียสิ้น จึงริบเรือยนต์พร้อมเครื่องจักรของกลางไม่ได้
สิ่งของที่นำเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร จะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือไม่นั้น จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องรู้เอง
หน้าที่พิสูจน์ที่ตกอยู่แก่จำเลยตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯนั้น เป็นเรื่องการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของที่ยึด เพราะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรหรือเป็นของที่พึงริบ หรือเพื่อเอาค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ หากจำเลยมีข้อโต้เถียงว่าเสียภาษีศุลกากรถูกต้องแล้ว หรือนำเข้าหรือนำออกเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ต่างกับกรณีของจำเลยคดีนี้ที่ปฏิเสธว่ามิได้นำสุกรออกนอกราชอาณาจักร แต่เป็นการขนหรือบรรทุกในประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
สิ่งของที่นำเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร จะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือไม่นั้น จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องรู้เอง
หน้าที่พิสูจน์ที่ตกอยู่แก่จำเลยตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯนั้น เป็นเรื่องการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของที่ยึด เพราะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรหรือเป็นของที่พึงริบ หรือเพื่อเอาค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ หากจำเลยมีข้อโต้เถียงว่าเสียภาษีศุลกากรถูกต้องแล้ว หรือนำเข้าหรือนำออกเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ต่างกับกรณีของจำเลยคดีนี้ที่ปฏิเสธว่ามิได้นำสุกรออกนอกราชอาณาจักร แต่เป็นการขนหรือบรรทุกในประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการประกอบตัวถังรถใหม่เป็นหนึ่งเดียวกับตัวรถ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และต้องริบทั้งตัวรถและตัวถัง
จำเลยนำรถยนต์นั่งที่เปลี่ยนตัวถังใหม่แล้วทั้งคันเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติให้ริบทั้งสิ่งของที่นำข้ามา และยานพาหนะที่ใช้ในการขนย้ายนั้นด้วยการที่จำเลยใช้อุบายประกอบตัวถังเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรถแล้วนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีศุลกากรสำหรับตัวถังรถที่เปลี่ยนใหม่โดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล จึงเป็นของอันต้องริบทั้งตัวถังรถยนต์และตัวรถอันเป็นยานพาหนะขนย้ายนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลฎีกาพิจารณาความผิดตามมาตรา 27 ทวิ และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้นเมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์มิได้อ้าง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้น เมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือยนต์หางยาวที่ใช้ขนของหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร โดยไม่จำเป็นต้องระบุระวางบรรทุกในคำฟ้อง
เฉพาะเรือยนต์หางยาวเช่นเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็กๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่งใช้วิ่งรับส่งในแม่น้ำลำคลองโดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน ได้เลยฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปดังกล่าว ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่ามีระวางบรรทุกเท่าใดศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางคดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน เมื่อจำเลยนำไปใช้ในการขนของที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือยนต์หางยาวที่ใช้ในการขนของหลีกเลี่ยงภาษี ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ระบุระวางบรรทุก
เฉพาะเรือยนต์หางยาวเช่นเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่งใช้วิ่งรับส่งในแม่น้ำลำคลอง โดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตันได้เลย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปดังกล่าว ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า มีระวางบรรทุกเท่าใด ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางคดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน เมื่อจำเลยนำไปใช้ในการขนของที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509).
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509).