พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่งของอาคารชุด: สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากการชำระค่าส่วนกลางแทนจำเลย
จัดการงานนอกสั่งนั้น ป.พ.พ. มาตรา 395 บัญญัติว่า "บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี..." ดังนั้น บุคคลใดที่จะเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น เช่น โจทก์เข้าไปชำระค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา แทนจำเลยนั้น เข้าทำกิจการแทนได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าตัวการจะขอให้ทำหรือมีสิทธิทำแทนหรือไม่ ยิ่งในกรณีคดีนี้เข้าทำกิจการอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย คือเป็นการจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 และตามข้อบังคับของจำเลยและตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ถ้าโจทก์ไม่เข้าชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าส่วนกลาง แทนจำเลยแล้ว อาจไม่ทันท่วงทีเป็นเหตุให้ทางการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวงตัดน้ำตัดไฟของอาคารชุด การที่เข้าทำนี้ยังเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องคำนึงว่าจะขัดกับความประสงค์ของตัวการคือจำเลย โจทก์เข้าทำได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้องการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ทำการตามมาตรา 397 นี้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่โจทก์อย่างเช่นโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยได้ตามมาตรา 401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11181/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ค่าจอดรถจากการซ่อมรถยนต์เช่าซื้อ: สิทธิเรียกร้องของผู้ซ่อมเมื่อเจ้าของรถไม่ชำระค่าซ่อม
ว. เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้วผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ว. ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่จำเลย แต่ ว. นำรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยมาให้โจทก์ซ่อมแล้วไม่ชำระค่าซ่อม โจทก์จึงต้องเก็บรักษารถยนต์ที่โจทก์ซ่อมซึ่งเป็นของจำเลยไว้ในอู่อีก ย่อมเป็นการที่โจทก์จัดการไปสมประโยชน์ของจำเลยและต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่พึงสันนิษฐานได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าบำรุงรักษารถยนต์ในส่วนค่าจอดรถจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10624/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยผู้รับประกันภัยคนถัดไป กรณีผู้รับประกันภัยคนแรกไม่จ่าย และหลักจัดการงานนอกสั่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปต่อจากผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรก เป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเพราะไม่รู้ว่าวินาศภัยอันเดียวกันนี้มีผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยไว้ก่อนตน กรณีจึงเป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไป ทั้งๆ ที่ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 870 วรรคสามบัญญัติไว้ ถือได้ว่าการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนของผู้ร้องนั้น เป็นการสมประโยชน์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ กรณีตามคำร้องจึงเข้าเกณฑ์เป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งซึ่งก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันผู้คัดค้านให้ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องได้ออกทดรองจัดการงานให้ผู้คัดค้านไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินให้กองทรัพย์สิน หากการโอนไม่สุจริต
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยกัน จำเลยที่ 1 ติดต่อกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา จนถึงเดือนธันวาคม 2526จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้คัดค้าน 5,000,000 บาทโดยไม่มีหลักประกันแสดงว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 1 ติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตลอดเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยขอหยุดทำการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยอ้างว่าเริ่มประสบวิกฤติการณ์ทางภาวะการเงินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2526 ซึ่งผู้คัดค้านน่าจะทราบดีถึงภาวะการเงินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ผู้คัดค้าน2 ฉบับ ๆ แรกจำนวน 969,408 บาท ผู้คัดค้านได้รับเงินแล้ว ฉบับที่2 จำนวน 4,453,812 บาท ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 22 ธันวาคม2527 แต่จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2526 เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระถึง 1 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้รับโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต และเป็นการโอนซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลาย ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนนั้นได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินที่ได้รับจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยให้ผู้คัดค้านหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นซึ่งผู้คัดค้านได้จ่ายไปเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมาได้ ผู้คัดค้านออกเงินค่าใช้จ่ายก็เพื่อบังคับตามสัญญาเช่าซื้อตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมา มิใช่เป็นการจัดการงานนอกสั่งสัญญาเช่าซื้อระบุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ยอมชดใช้ดอกเบี้ยในส่วนค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านจ่ายไป ผู้คัดค้านจึงไม่อาจหักดอกเบี้ยในส่วนนี้จากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้แก่ผู้ร้อง ส่วนดอกเบี้ยของเงินจำนวนที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ในวันยื่นคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จัดการงานนอกสั่ง ชดใช้ทดรอง: การชำระหนี้แทนตัวการทำให้หนี้ระงับ ตัวการต้องชดใช้
การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยไปนั้นแม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการชำระหนี้แทนก็ตามแต่ก็เป็นผลทำให้หนี้ของจำเลยระงับไปจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกและอาจนำรถเข้าวิ่งร่วมกับบุคคลภายนอกได้ตามข้อตกลงต่อไปเช่นนี้ เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการเพราะต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือต้องตามความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้กรณี จึงเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินที่ออกทดรองคืนได้ตามมาตรา401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดรองค่าเล่าเรียนบุตรขัดเจตนาผู้รับประโยชน์ จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
จำเลยรับจ้างเลี้ยงบุตรโจทก์ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 5 ปี จำเลยจ่ายเงินทดรองนำบุตรโจทก์เข้าเรียนอนุบาล โดยได้บอกโจทก์ก่อนแล้วโจทก์ไม่ยอม เงินจำนวนนี้จำเลยจ่ายขัดต่อเจตนาของโจทก์อย่างชัดแจ้ง จำเลยเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จัดการงานนอกสั่งและการระงับหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จากประกันภัยค้ำจุน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ของจำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบโจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูกชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำเลยใช้เงิน 15,000 บาท ที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ดังนี้ บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับเงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจำนวนเท่าที่โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ส่วนจำนวนที่ยังขาดอยู่นั้นชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ให้ โจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตนซึ่งจำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อได้จ่ายไปแล้วแม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาดอยู่นั้นระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายจึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันจำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ออกทดรองจัดการงานให้จำเลยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยศาลชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่งของผู้รับประกันภัยค้ำจุน และสิทธิเรียกร้องเงินค่าซ่อมจากตัวการ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ของจำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบ โจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูกชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำเลยใช้เงิน 15,000 บาทที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ ดังนี้ บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับเงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจำนวนเท่าที่โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ ส่วนจำนวนที่ยังขาดอยู่นั้นชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ให้ โจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตนซึ่งจำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อได้จ่ายไปแล้ว แม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลทำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาดอยู่นั้นระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย จึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันจำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ออกทดรองจัดการงานให้จำเลยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย ศาลชอบที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจัดการศพ แม้ไม่มีข้อต้านการเรียกคืน
ทายาทโดยธรรมต้องรับผิดในฐานะทายาทชดใช้เงินแก่ผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายจัดการศพผู้ตาย ทายาทไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าผู้จัดการศพไม่มีเจตนาเรียกคืน ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ เป็นนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการเรือซ่อมเพื่อประโยชน์จำเลย ย่อมถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
โจทก์เอาเรือที่จำเลยจ้างซ่อมขึ้นคาน เมื่อซ่อมเสร็จก็เอาลงจากคานจอดไว้ในแม่น้ำเจ้าพระยา คอยอยู่เป็นเวลานานจำเลยก็ไม่มาชำระค่าซ่อมและรับเรือ คนของจำเลยก็ไม่มีเฝ้า เมื่อเรือจะจม โจทก์จึงเอาขึ้นนอนคานไว้ในอู่อีก ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์จัดการไปสมประโยชน์ของจำเลยและต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่พึงสันนิษฐานได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าคานเรือให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอู่