คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ, เหตุสุดวิสัย, ค่าเสียหายต่อเนื่อง, ค่าขึ้นศาล
เหตุเกิดเมื่อรถเลี้ยวซ้ายเลยหัวโค้งไปแล้ว 10 เมตรเศษแม้ไฟหน้ารถจำเลยจะดับ ถ้าจำเลยขับรถไม่เร็วเกินไปแล้วรถก็จะไม่ไถลไปทางขวาจนตกถนนและเกิดการกระทบกระแทกโดยแรง จำเลยมิได้แสดงว่าเหตุที่ไฟหน้ารถดับนั้นเป็นเพราะพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบโดยได้ใช้ความระมัดระวังอันควรคาดหมายได้แล้ว จำเลยจึงไม่มีทางอ้างเอาเหตุที่ไฟหน้ารถดับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันฟ้องต่อไปเป็นรายเดือนเดือนละ 3,000 บาท ไม่มีกำหนดเวลากี่เดือน และไม่มีกำหนดว่าจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จเพราะมิใช่กรณีดอกเบี้ยค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ระหว่างที่ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3,4) การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระเป็น จำนวนแน่นอน จำนวนหนึ่งสำหรับทดแทนความเสียหายของโจทก์ ในอนาคตดังนี้จะเป็นการเกินคำขอหาได้ไม่ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้เสีย ค่าขึ้นศาลในคำขอเช่นนี้มาด้วยนั้น เห็นว่าคำขอให้ชำระค่าเสียหาย ในอนาคตดังที่โจทก์ขอมาเป็นรายเดือนนั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าขึ้นศาลในคำขออื่น ๆ ของโจทก์ โจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้มาในศาลชั้นต้น แต่ก็มิใช่ว่า โจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันจะเป็นเหตุให้ศาล ไม่รับคำฟ้อง ข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างขึ้นให้ศาลฎีกา ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่: การบังคับรื้อถอนเมื่ออ้างสิทธิแต่พิสูจน์ไม่ได้
ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และ (3) มีสิทธิ์เสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิ์ใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดี และขอบเขตการบังคับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเมื่ออ้างสิทธิในที่ดินแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
ผู้ร้องสอดที่เข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และ(3) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ผู้ร้องสอดเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดนำสืบไม่สม ผู้ร้องสอดจึงต้องรับผิดตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องสอดเข้ายึดถือที่พิพาทโดยปราศจากสิทธิใด ๆ อันจะพึงอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องสอดจึงต้องถูกบังคับให้รื้อถอนไป หาเป็นการบังคับคดีนอกฟ้องหรือเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา: โจทก์ต้องชำระแม้ถอนหมายยึดแล้ว
โจทก์ฟ้องและขอให้ยึด อายัดทรัพย์จำเลยชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลอนุญาต ต่อมาศาลสั่งให้ยกเลิกคำสั่งนี้ตามที่จำเลยร้องขอ ดังนี้ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามตาราง 5(3)
การที่ศาลอนุญาตให้ถอนหมายยึดตามวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 นั้น เป็นเรื่องที่ศาลอนุญาตให้ถอนหมายยึดเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ดำเนินการยึดไปแล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องเสียอยู่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 149 เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา: โจทก์ต้องชำระแม้ศาลยกเลิกการยึด
โจทก์ฟ้องและขอให้ยึด อายัดทรัพย์จำเลยชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลอนุญาต ต่อมาศาลสั่งให้ยกเลิกคำสั่งนี้ตามที่จำเลยร้องขอ ดังนี้ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้ว ไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามตาราง 5(3)
การที่ศาลอนุญาตให้ถอนหมายยึดตามวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 นั้น เป็นเรื่องที่ศาลอนุญาตให้ถอนหมายยึดเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ดำเนินการยึดไปแล้วโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องเสียอยู่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้ vs. เงินค่าทำไม้ ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนโจทก์ และค่าธรรมเนียมศาล
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 5,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,128 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไป แต่จำเลยได้รับเงินล่วงหน้าค่าทำไม้ไผ่จากโจทก์ 3,128 บาท แล้วทำไม้ไผ่ส่งโจทก์เพียง 2,000 ลำ คิดเป็นเงิน 2,000 บาทจำเลยต้องคืนให้โจทก์ 1,128 บาท ดังนี้ เป็นการแก้ไขมาก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นเรียกค่าธรรมเนียมปิดมาท้ายฟ้องฎีกาเป็น 2 คดี รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 542.50 บาท จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะ 3,535.90 บาทศาลอุทธรณ์แก้ไขให้โจทก์ชนะ 1,128 บาท โจทก์ฎีกา จึงเป็นทุนทรัพย์ชั้นฎีกา 2,407.90 บาท คงเสียค่าขึ้นศาลเพียง 60 บาท ส่วนเรื่องฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องแย้งแล้ว โจทก์ไม่มีอะไรที่จะต้องฎีกาอีกโจทก์คงต้องเสียค่าธรรมเนียมเพียงคดีเดียวเท่านั้น เรียกเกินมา 342.50 บาทให้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้ vs. ค่าทำไม้ไผ่ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับสู่คำพิพากษาศาลชั้นต้น และคืนค่าธรรมเนียมเกิน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 5,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,128 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไป แต่จำเลยได้รับเงินล่วงหน้าค่าทำไม้ไผ่จากโจทก์ 3,128 บาท แล้วทำไม้ไผ่ส่งโจทก์เพียง 2,000 ลำ คิดเป็นเงิน 2,000 บาท จำเลยต้องคืนให้โจทก์ 1,128 บาท ดังนี้ เป็นการแก้ไขมาก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์ จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นเรียกค่าธรรมเนียมปิดมาท้ายฟ้องฎีกาเป็น 2 คดี รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 542.50 บาท จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะ 3,535.90 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ไขให้โจทก์ชนะ 1,128 บาท โจทก์ฎีกา จึงเป็นทุนทรัพย์ชั้นฎีกา 2,407.90 บาท คงเสียค่าขึ้นศาลเพียง 60 บาท ส่วนเรื่องฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องแย้งแล้ว โจทก์ไม่มีอะไรที่จะต้องฎีกาอีก โจทก์คงต้องเสียค่าธรรมเนียมเพียงคดีเดียวเท่านั้น เรียกเกินมา 342.50 บาท ให้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเตือนให้แก้ไขทางก่อนสิ้นสิทธิใช้ทาง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าเมื่อปรากฏว่าเส้นทางไม่เรียบร้อยเป็นหลุมเป็นบ่อ จำเลยได้เตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้วโจทก์ไม่ทำให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยมาแถลงต่อศาลและศาลได้ไปดูสภาพของทางไม่เรียบร้อยดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ขาดสิทธิในการที่ใช้ทางนั้นต่อไป ดังนี้ ข้อความที่ว่าจำเลยเตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยนั้น เป็นข้อสัญญาประการหนึ่งที่จะทำให้โจทก์สิ้นสิทธิในการใช้ทางพิพาท กล่าวคือ แม้จะได้ความว่าทางไม่เรียบร้อยเพราะโจทก์ผิดสัญญา หากจำเลยยังไม่เตือนโจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ยังไม่สิ้นสิทธิที่จะใช้ทางพิพาท
คำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น รวมถึงค่าทนายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: เงื่อนไขการเตือนให้แก้ไขทางก่อนสิ้นสิทธิใช้ทาง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า เมื่อปรากฏว่าเส้นทางไม่เรียบร้อยเป็นหลุมเป็นบ่อ จำเลยได้เตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ไม่ทำให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยมาแถลงต่อศาลและศาลได้ไปดูสภาพของทางไม่เรียบร้อยดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ข้อความที่ว่าจำเลยเตือนให้โจทก์ทำให้เรียบร้อยนั้น เป็นข้อสัญญาประการหนึ่งที่จะทำให้โจทก์สิ้นสิทธิในการใช้ทางพิพาท กล่าวคือ แม้จะได้ความว่าทางไม่เรียบร้อยเพราะโจทก์ผิดสัญญาหากจำเลยยังไม่เตือนโจทก์ทำให้เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ยังไม่สิ้นสิทธิที่จะใช้ทางพิพาท
คำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นรวมถึงค่าทนายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและความจงใจของจำเลยก่อนมีคำสั่ง
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฎว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฎชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต
of 27