คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินที่ไม่ชอบ ผู้ดำเนินกระบวนการต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินตาม น.ส.3 ก. โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลยที่ 3 เนื่องจาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวออกทับที่ดินของบุคคลอื่น และศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนนี้จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ทั้งไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ขอยึดทำการโดยสุจริต ซึ่งความรับผิดในค่าธรรมเนียมนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องระมัดระวังในการรับจำนองที่ดินและนำยึดที่ดินว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งไปตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น จึงสมควรให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398-1399/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องเจ้าพนักงานศาล-ทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาอุทธรณ์ ให้ดำเนินคดีต่อ
คดีทั้งสองสำนวนพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ชำระค่าขึ้นศาลจำนวน 57,420 บาท แล้ว ดังนี้ โดยปกติวิสัยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ชอบที่จะต้องวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ซึ่งเป็นเงินเพียง 240 บาท ตามคำสั่งศาลชั้นต้น ส่วนรายงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเสนอต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลนั้น เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ล่าช้าถึง 6 เดือน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 วางค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายใน 7 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทราบเหตุดังกล่าวตามรายงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ได้ยื่นคำแถลงยืนยันว่าได้วางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลแล้ว อีกทั้งได้ดำเนินการขอตรวจสมุดรับเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายในช่วงระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2542 จนถึงสิ้นปีแต่เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบแจ้งว่าสมุดดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงแสดงเจตนาพร้อมจะวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เอาใจใส่คดี และเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลแล้วตามระเบียบราชการจะต้องจะต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องใช้เป็นหลักฐานในทางราชการ เว้นแต่จะถึงกำหนดเวลาต้องทำลายตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการปรากฏว่านอกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบว่าสมุดคุมการส่งหมายในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สูญหายแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 หลังจากได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความทราบแล้วให้เจ้าพนักงานศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาสมุดบัญชีเวรรับเงินนำหมายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบก็ยังคงรายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ว่าสมุดเล่มนั้นสูญหายไปจึงชี้ให้เห็นความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาล รายงานเจ้าหน้าที่มีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ พฤติการณ์แห่งคดีประกอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้จงใจละทิ้งไม่วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลไม่เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ยื่นต่อศาลครั้งที่ 3 มีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับที่จำเลยยื่นในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ซึ่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แม้จะเป็นการยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3696/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์เป็นคนอนาถาต้องมีการไต่สวนพยานก่อน หากไม่มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ และต้องคืนค่าธรรมเนียมศาล
การที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องหรืออนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน ผู้ขอจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้แต่เมื่อคดีปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน จึงไม่มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองในชั้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาเลย กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาจนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ กรณีจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยทั้งสองเสียค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าวมาจึงต้องคืนแก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีการสืบพยานเบื้องต้นก่อน จึงจะยื่นคำร้องใหม่ขอแสดงพยานเพิ่มเติมได้
จำเลยอ้างในคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาว่า จำเลยเป็นคนยากจนและจำเลยต้องถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกา ยิ่งทำให้ครอบครัวจำเลยซึ่งไม่มีรายได้อื่นต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจำเลยไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยโดยไม่มีการไต่สวน ทำให้จำเลยไม่ได้เสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับความยากจนของจำเลยต่อศาล หากจำเลยเสนอพยานหลักฐานแล้วจะทำให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นคนยากจน ขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจนและให้มีการพิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยใหม่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิขอสืบพยานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิใช่จำเลยตกเป็นคนยากจนลงภายหลังและจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินมรดก: การส่งมอบโฉนดคืนผู้จัดการมรดก แม้มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ไม่ถือเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จากจำเลย หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยไม่ แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนดเท่านั้น จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชอบแล้ว
เดิมที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกมอบให้จำเลยเข้าทำนาจำเลยเป็นผู้ดูแลแทนผู้ตายซึ่งป่วยเป็นอัมพาต และผู้ตายมอบให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับในกรรมสิทธิ์ของผู้ตายว่ามีเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าตนครอบครองปรปักษ์หรือเมื่อโจทก์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกระบวนพิจารณา แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดเวลาให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลมิใช่เป็นการขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23อันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและจะต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้นศาลมีอำนาจโดยทั่วไปที่จะกำหนดระยะเวลาได้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นหรือสิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมต้องสะดุดหยุดอยู่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่นย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อนมิฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล การที่จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อนจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์คดีโดยการดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา ต้องพิสูจน์ความยากจนทางทรัพย์สิน
การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ไม่ว่าจะเป็นค่าอ้างเอกสาร ค่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มาตรา 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ได้ แม้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในชั้นต้นเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์มาแต่ต้น และศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้เรียกเก็บตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์เสียได้ คดีนี้ความเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงล่วงเลยเวลาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะย้อนสำนวนไปสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเสียให้ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจ ที่จะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่ให้ครบได้
of 27