พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยต่อมาจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วตามข้อตกลงนอกศาลศาลจึงมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีดังนี้ไม่ใช่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้วางเงินอย่างหนึ่งอย่างใดต่อศาลหรือพนักงานบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา295(1)แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นที่ระบุไว้ในตารางท้ายป.วิ.พ.ตามมาตรา149เมื่อไม่มีการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่ยึดไว้โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามที่กำหนดไว้ในตาราง5ข้อ3ท้ายป.วิ.พ.และกรณีนี้ไม่ต้องด้วยมาตรา295ตรีเพราะไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดให้ฝ่ายใดรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ถือเป็นกระบวนพิจารณาโจทก์ต้องชำระ
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วตามข้อตกลงนอกศาล ศาลจึงมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้วางเงินอย่างหนึ่งอย่างใดต่อศาลหรือพนักงานบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 295(1) แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ จึงถือว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นที่ระบุไว้ในตารางท้าย ป.วิ.พ. ตามมาตรา 149 เมื่อไม่มีการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่ยึดไว้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. และกรณีนี้ไม่ต้องด้วยมาตรา 295 ตรีเพราะไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดให้ฝ่ายใดรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2)(ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนด ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8)(ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศล ที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษี จาก สมาคมเสียทีเดียว แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติ ว่ากิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐาน ไว้ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่งป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้อง เสีย ภาษี หรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่าย กล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ ก็ ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติ หรือ กำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดี ภาษีอากร ข้อ 8 กำหนด ว่าคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล ก่อน วันชี้สองสถาน ไม่ น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ. มา อนุโลม ใช้ ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยาน คดีภาษีอากรได้ โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับ ขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่น ต่อ ศาลเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณ เป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตาม ตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาล อย่าง คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตาม ตาราง 1 ข้อ (1)(ก)จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องคดีภาษีหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา การชำระค่าขึ้นศาล และการพิจารณาคดีใหม่
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลภายใน 7 วัน ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะไม่เสียเงินค่าขึ้นศาล และขอนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นคำร้องขอเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอต่อมาโจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ มีความหมายว่าศาลชั้นต้นยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแก้คดีก็หาได้โต้แย้งการรับฟ้องของศาลแต่อย่างใดการที่โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องด้วยการนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางครบถ้วนแล้วจึงไม่มีเหตุขัดข้องอะไรที่ศาลจะไม่รับคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำฟ้องหลังชำระค่าขึ้นศาล และการสืบพยานเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้ง
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่ง พิพากษาตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลภายใน 7 วัน ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะไม่เสียเงินค่าขึ้นศาลและขอนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันยื่นคำร้องขอเป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอต่อมาโจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ มีความหมายว่าศาลชั้นต้นยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแก้คดีก็หาได้โต้แย้งการรับฟ้องของศาลแต่อย่างใดการที่โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องด้วยการนำเงินค่าขึ้นศาลมาวางครบถ้วนแล้วจึงไม่มีเหตุขัดข้องอะไรที่ศาลจะไม่รับคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร ต้องพิจารณาบทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีอากรเป็นหลัก
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรมาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัดแล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การต่ออายุสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, ค่าฤชาธรรมเนียม, ล้มละลาย
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วลูกหนี้ยังคงนำเงินเข้าบัญชีและเบิกเงินไปจากบัญชี ถือว่าได้มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยไม่มีกำหนด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา เจ้าหนี้ได้ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 29 มิถุนายน 2528 จึงถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2528 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2528 เมื่อเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 149 ซึ่งเป็นความรับผิดที่โจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องจะต้องชำระต่อศาล ยังไม่เกิดมูลหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาและให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์แล้วจำเลยจึงจะมีความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161มูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมจึงเกิดขึ้นตามคำพิพากษา หาใช่เกิดขึ้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีไม่ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำค่าฤชาธรรมเนียมมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษา: ผู้ร้องขอบังคับชำระค่าธรรมเนียมเมื่อศาลยกเลิกอายัด
การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลสั่งอายัดเงินที่บุคคลภายนอกต้องชำระให้จำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 เมื่อต่อมาศาลสั่งให้ยกเลิกอายัดชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่ออายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่ายตามมาตรา 5 ข้อ 4 ท้าย ป.วิ.พ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมจากการอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษา ผู้ร้องขออายัดมีหน้าที่ชำระเมื่อศาลยกเลิกอายัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 3 ค่าฤชาธรรมเนียมมาตรา 149 วรรคแรกนั้น บัญญัติว่า ค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ เป็นผู้ชำระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินที่กรมทรัพยากรธรณีต้องชำระให้แก่จำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามมาตรานี้แล้ว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกอายัดชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดหรืออายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว.