คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 617

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 609 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งตามกฎหมาย แม้ไม่มีใบอนุญาตและรถบรรทุกเอง ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่งที่มอบหมายให้ผู้อื่น
โจทก์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการติดต่อดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรและการลากจูงตู้บรรจุสินค้าไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดและลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวไปส่งมอบให้บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแม้จำเลยที่1จะไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเองแต่การขนส่งและรับขนสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของจำเลยที่1ที่ได้จดทะเบียนไว้ก็ถือว่าจำเลยที่1ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608การที่จำเลยที่1ว่าจ้างให้จำเลยที่3นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่งเมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่3จำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่3รับผิดต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา617

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งและผู้มอบหมายการขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
จำเลยที่ 3 ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 30 ตุลาคม2534 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2534 ถือว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์และกรณีส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกาแล้ว เมื่อส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยที่ 3มิได้แถลงตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยที่ 3 ทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการขนส่งและรับขนสินค้า ได้รับจ้างโจทก์จัดหารถไปบรรทุกสินค้าจากโรงงานของโจทก์ไปที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันที่มีการขนสินค้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปดูการบรรจุสินค้าเข้าตู้บรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์และเป็นผู้ส่งมอบตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเป็นผู้รับเงินค่าจ้างขนส่งทั้งหมดจากโจทก์ โดยในใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1ระบุว่าเป็นค่าบริการลากจูงตู้บรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ ทั้งก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาแล้วหลายครั้ง ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติและได้รับค่าระวางพาหนะจากโจทก์ แม้จำเลยที่ 1ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเอง จำเลยที่ 1ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง เมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 มอบหมายของนั้นไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและนายจ้างได้ หากชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสินค้าแล้ว
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัท ม. เมื่อมีผู้กระทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่งดังกล่าว และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. ตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดและนายจ้างของผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและนายจ้างได้ เมื่อชดใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของสินค้าแล้ว
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัท ม. เมื่อมีผู้กระทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่งดังกล่าว และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. ตาม สัญญาแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดและนายจ้างของผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนขนส่งสินค้า: การพิสูจน์การเป็นผู้ร่วมรับขนส่ง
จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท น. ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากประเทศโรมาเนีย เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแห่งประเทศไทย ทางเรือได้แจ้งรายการสินค้าเสียหายให้บริษัท จ. ผู้ซื้อสินค้าทราบไม่ได้แจ้งจำเลยด้วย และบริษัท จ. เป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นไปขนถ่ายสินค้าจากเรือดังกล่าวเอง จำเลยมีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของเรือสินค้าให้บริษัท จ. ทราบเท่านั้น จำเลยไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาท โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้ากับบริษัท จ. จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนขนส่ง: ไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย
จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท น. ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากประเทศโรมาเนีย เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแห่งประเทศไทย ทางเรือได้แจ้งรายการสินค้าเสียหายให้บริษัท จ. ผู้ซื้อสินค้าทราบไม่ได้แจ้งจำเลยด้วย และบริษัท จ.เป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นไปขนถ่ายสินค้าจากเรือดังกล่าวเอง จำเลยมีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของเรือสินค้าให้บริษัท จ. ทราบเท่านั้น จำเลยไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาท โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้ากับบริษัท จ. จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยรับผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิด
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไปไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส.อันจะต้องรับผิดต่อบริษัทส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617,618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616,625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.
of 4