พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: คำนวณเฉพาะแต่ละชั้นศาล ไม่รวมตลอดทั้งสามศาล
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253และมาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกานั้น จำนวนเงินที่จะให้วางหรือหาประกันมาคงคำนวณเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละชั้นศาล เท่านั้น หาใช่ต้องคำนวณให้พอตลอดทั้งสามศาล โดยไม่จำต้อง พิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดี เพราะศาลมีอำนาจ ที่จะพิพากษาให้ฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีทุนทรัพย์ 18,378,312 บาท ศาลชั้นต้นสั่ง ให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการเพียงพอแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน การประเมินค่าเสียหาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ดเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุออกจาก ช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วยเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอดและเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกันมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 103 ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกันโดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆ ไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้วไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ยและผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เห็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้วใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับรถชนคนเดินเท้าและการกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ด เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1ขับรถคันเกิดเหตุออกจากช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วย เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอด ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกัน มิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 103ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกัน โดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้ว ไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย
แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ย และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง 70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้นโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม
ป.วิ.พ.มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอด ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกัน มิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 103ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกัน โดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้ว ไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย
แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ย และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง 70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้นโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม
ป.วิ.พ.มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม - การบังคับคดีเกินความจำเป็น - สิทธิโจทก์
แม้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาและความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลยก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรกที่จะให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีเงินฝากอยู่กับโจทก์ 237,222.86 บาท และโจทก์สามารถตัดบัญชีชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีจำนวน 335,656.76 บาท ได้ แต่โจทก์กลับไปยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งมีราคาเป็นสิบล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินการบังคับคดีเกินความจำเป็น เมื่อจำเลยเองก็ไม่ได้ประวิงการบังคับคดี ทั้งได้ขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนภายใน 4 เดือน นับจากวันถูกยึดทรัพย์เช่นนี้จึงไม่สมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนังสือต่ออายุ การกำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปี เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปี ดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต/บาดเจ็บ, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, ดอกเบี้ย, ค่าฤชาธรรมเนียม, และการรับผิดร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสองนั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปีย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปี จึงเป็นระยะเวลาที่สมควร ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน20 ปี เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามบัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปีนับจากวันเกิดเหตุไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถาซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควรศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้ หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลงแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม การเลือกใช้สิทธิ/การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249)พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2535 สำหรับงานงวดที่ 14,18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17,20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออก ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ(ค่าก่อสร้าง) ตามพระราชกฤษฎีกา ออกความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17 ถึง 30และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10,22,25 และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยแต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือฟังได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากรเพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค.) เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากรค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลยทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณเพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่จ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการ อื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจาก ภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22 งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค.) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 สิทธิในการเลือกเสียภาษีและดอกเบี้ยผิดนัด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3 ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งป.รัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์2535 สำหรับงานงวดที่ 14, 18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17, 20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535 สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ (ค่าก่อสร้าง)ตาม พ.ร.ฎ.ออกความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งป.รัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17ถึง 30 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10, 22, 25และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม