พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีและการอายัดทรัพย์สิน: ค่าธรรมเนียมการบังคับคดีผู้ใดต้องรับผิด
หลังจากที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้คัดค้านชำระหนี้แก่ผู้ร้อง คดีนี้ไม่มีการทุเลาการบังคับคดีหรืองดการบังคับคดี และผู้คัดค้านยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงมีสิทธิบังคับคดีตามเงื่อนไขในหมายบังคับคดี การที่ผู้ร้องดำเนินการขออายัดบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่วางต่อศาลไว้โดยไม่มีการทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นวิธีการหนึ่งของการบังคับคดีซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ค่าธรรมเนียมการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมิใช่เกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่จำเป็นอันจะอยู่ในความรับผิดของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่คลาดเคลื่อน, รายจ่ายโบนัสต้องห้าม, และเบี้ยปรับที่ต้องชำระ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งผลการตรวจสอบผิดพลาดและในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ระบุเพียงว่าโจทก์บันทึกรายได้ขาดบัญชี จำนวน 3,764,745.13 บาท โดยมิได้มีรายละเอียดอื่นใด เป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และนำคดีมาฟ้องศาลโดยเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนั้น การประเมินในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
การจ่ายเงินโบนัสของโจทก์เป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว เพราะเป็นการใช้ผลกำไรเป็นฐานในการกำหนดการจ่ายโบนัสของโจทก์ จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) โจทก์ไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิได้
เงินเพิ่มเกิดจากการไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ผู้ชำระภาษีจึงต้องเสียเงินเพิ่ม และตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 มิได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มนี้ได้
การพิจารณาให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเท่าใด เพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าจำเลยชนะคดีเกือบเต็มฟ้องจึงพิจารณาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ย่อมเป็นการสมควรแล้ว
การจ่ายเงินโบนัสของโจทก์เป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว เพราะเป็นการใช้ผลกำไรเป็นฐานในการกำหนดการจ่ายโบนัสของโจทก์ จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) โจทก์ไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาคำนวณกำไรสุทธิได้
เงินเพิ่มเกิดจากการไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ผู้ชำระภาษีจึงต้องเสียเงินเพิ่ม และตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 มิได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มนี้ได้
การพิจารณาให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเท่าใด เพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าจำเลยชนะคดีเกือบเต็มฟ้องจึงพิจารณาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ย่อมเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาประกันตัว, การลดค่าปรับ, ค่าฤชาธรรมเนียม, และดอกเบี้ยผิดนัด – ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นเงิน540,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดค่าปรับตามสัญญาให้ปรับจำเลยเป็นเงิน200,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ขอลดค่าปรับลงอีกโดยอุทธรณ์ว่าค่าปรับไม่ควรเกินสัญญาละ 50,000 บาท รวมสองสัญญาควรเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้งดหรือยกเว้นค่าปรับแก่จำเลย ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกเว้นค่าปรับจึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้น แม้ศาลฎีกาแก้แก้ค่าเสียหาย
ค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้เป็นพับ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลจำนวนนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อยื่นฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา ศาลฎีกากำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมทั้งค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ โดยระบุว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ย่อมหมายความว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลเฉพาะในศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับแก่คู่ความอยู่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเพียงใดนั้นย่อมเป็นดุลพินิจของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยไม่จำต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นที่สุดตามที่จำเลยที่ 2 อ้างมา คดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดีในจำนวนทุนทรัพย์ 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเมื่อคำนวณค่าขึ้นศาลทั้งสามชั้นศาลแล้วฎีกาจึงไม่กำหนดให้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเป็นพับไปด้วย ที่ศาลชั้นต้นไม่คืนค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 วางใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 42,602.50 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก เจ้าของรวมสิทธิใช้ร่วมกัน การแบ่งแยกทรัพย์สินและอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดิน มีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน และเจ้าของรวมคนอื่นๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้นๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง ก. เจ้าของรวมว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทน ก. อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อจำเลยทั้งห้ามมิได้บอกกล่าว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทน ก. ผู้มีสิทธิครอบครองได้และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
อุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 จึงไม่เกินคำขอ
อุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ แม้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความได้ หากทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดี
ทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์ แต่ทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียม
แม้จำเลยจะแพ้คดีในศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมย่อมถูกยกเลิกไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยนำมาวางต่อศาลพร้อมอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ถึงแม้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมย่อมถูกยกเลิกไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามฟอร์ม แต่มีเจตนาชัดเจนในการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน และผลของสัญญาค้ำประกันที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยที่ 1 ไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงจะชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 แทนการโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ในขณะทำสัญญาแต่ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 หากไม่โอนยินยอมชดใช้เงิน ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับ สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต แม้เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้อันสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ทั้งสองยังคงได้รับชำระเงินจากจำเลยทั้งสอง เพียงแต่ได้รับชำระเป็นจำนวนน้อยกว่าจำนวนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองจึงยังเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง
สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต แม้เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้อันสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ทั้งสองยังคงได้รับชำระเงินจากจำเลยทั้งสอง เพียงแต่ได้รับชำระเป็นจำนวนน้อยกว่าจำนวนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองจึงยังเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804-1805/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน: การแบ่งผลประโยชน์ส่วนเกินจากการขาย และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาร่วมกิจการนายหน้าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นข้อตกลงในการร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีการซื้อขายที่ดินและจะได้แบ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกันให้สำเร็จลุล่วงตามความประสงค์เท่านั้น ไม่มีข้อความใดพอประมาณได้ว่าหากจำเลยรู้ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ใช่นายหน้าผู้จะซื้อจะไม่ทำสัญญาร่วมกิจการนายหน้าอย่างแน่นอนดังนี้ ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ชี้ช่องให้ บ. กับ ฟ. ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นผลสำเร็จ พฤติกรรมที่แสดงว่าคู่สัญญามิได้ให้ความสำคัญในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะต้องเป็นนายหน้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สัญญาร่วมกิจการนายหน้าดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองแสดงการฉ้อฉลต่อจำเลยอันจะทำให้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้าต่อโจทก์ทั้งสอง
สำหรับพวกจำเลยทั้งสิบสี่คนที่ร่วมลงชื่อในสัญญานายหน้านั้นไม่ได้กระทำการเป็นนายหน้าที่แท้จริง แต่สัญญานายหน้าฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นเนื่องจากเป็นความประสงค์ของ บ. และจำเลยเพื่อกระจายฐานภาษีที่จะต้องชำระให้น้อยลงเท่านั้นจึงต้องถือว่าเงินค่าที่ดินส่วนเกินซึ่งจำเลยเป็นผู้รับมาจาก บ. ต้องนำมาจัดแบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้า เมื่อจำเลยไม่นำมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสอง ถือว่าจำเลยผิดสัญญาร่วมกิจการนายหน้า
สำหรับพวกจำเลยทั้งสิบสี่คนที่ร่วมลงชื่อในสัญญานายหน้านั้นไม่ได้กระทำการเป็นนายหน้าที่แท้จริง แต่สัญญานายหน้าฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นเนื่องจากเป็นความประสงค์ของ บ. และจำเลยเพื่อกระจายฐานภาษีที่จะต้องชำระให้น้อยลงเท่านั้นจึงต้องถือว่าเงินค่าที่ดินส่วนเกินซึ่งจำเลยเป็นผู้รับมาจาก บ. ต้องนำมาจัดแบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้า เมื่อจำเลยไม่นำมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสอง ถือว่าจำเลยผิดสัญญาร่วมกิจการนายหน้า