พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวเมื่อกรรมการหลบหนีคดี - เงื่อนไขความเสียหายและคุณสมบัติผู้รับมอบ
กรรมการบริษัทเดินทางออกจากประเทศและไม่สามารถติดต่อได้เนื่องจากเป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดี แม้ไม่ใช่กรณีผู้แทนนิติบุคคลว่างลงซึ่งผู้ร้องอาจขอให้แต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 แต่เมื่อไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง และเห็นได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 73 เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เพราะการที่กรรมการบริษัทไม่อยู่ทำหน้าที่ผู้แทนนิติบุคคลอาจมีผลเช่นเดียวกับตำแหน่งผู้แทนของนิติบุคคลว่างลง และการที่กรรมการดังกล่าวไม่อยู่อาจมีเหตุอันควรเชื่อว่าน่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้
การที่ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราว จะต้องได้ความว่าหากไม่แต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวในขณะที่กรรมการบริษัทไม่อยู่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ และผู้ที่จะให้แต่งตั้งเป็นผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวเป็นผู้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ผู้แทนนิติบุคคลนั้นด้วย
การที่ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราว จะต้องได้ความว่าหากไม่แต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวในขณะที่กรรมการบริษัทไม่อยู่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ และผู้ที่จะให้แต่งตั้งเป็นผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวเป็นผู้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ผู้แทนนิติบุคคลนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6941/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-อายุความ: คดีบุกรุก-ลักทรัพย์ดิน และการเรียกร้องค่าดินตามสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์
พนักงานอัยการจังหวัดสงขลาฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นจำเลยในคดีอาญาในความผิดฐานบุกรุก ลักทรัพย์และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มีโจทก์เป็นผู้เสียหาย และมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 คืนหรือใช้ราคาดินแก่ผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย เป็นคำฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวดที่ 2 คดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 6 และที่ 7 ลงโทษจำเลยที่ 5 เพียงคนเดียว ส่วนคำขอให้คืนหรือใช้ราคาดินที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ขุดไปนั้น ข้อเท็จจริงยังรับฟังได้ไม่แน่ชัดว่ามีเพียงใด จึงให้ยกคำขอของโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ให้คืนหรือใช้ราคาดินในคดีนี้ จึงเป็นการฟ้องตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีอาญานั้นเอง มิใช่การฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ยังไม่เคยถูกฟ้องให้คืนหรือใช้ราคาดินที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ขุดไปจากที่ดินโจทก์มาก่อน จึงไม่มีกรณีต้องพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันขุดเอาหน้าดินของโจทก์ซึ่งมีสภาพเป็นดินลูกรังไปเพื่อใช้ในการถมก่อสร้างคันกั้นน้ำชื่อโครงการกระแสสินธุ์ในเขตโครงการชลประทาน และมีคำขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันคืนดินหากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคา คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่จะเรียกร้องจากผู้เอาทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและติดตามเอาทรัพย์คืน และหากคืนไม่ได้ผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปก็ต้องชดใช้ราคา จึงเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ยึดถือโดยไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ยังไม่เคยถูกฟ้องให้คืนหรือใช้ราคาดินที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ขุดไปจากที่ดินโจทก์มาก่อน จึงไม่มีกรณีต้องพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันขุดเอาหน้าดินของโจทก์ซึ่งมีสภาพเป็นดินลูกรังไปเพื่อใช้ในการถมก่อสร้างคันกั้นน้ำชื่อโครงการกระแสสินธุ์ในเขตโครงการชลประทาน และมีคำขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันคืนดินหากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคา คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่จะเรียกร้องจากผู้เอาทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและติดตามเอาทรัพย์คืน และหากคืนไม่ได้ผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปก็ต้องชดใช้ราคา จึงเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ยึดถือโดยไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมเจรจาซื้อขายยาเสพติด แม้ไม่ได้ร่วมส่งมอบ ก็มีผิดฐานเดียวกัน
แม้ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ดาบตำรวจ ส. กับสายลับ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวก็สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันเกิดเหตุหนึ่งวันซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันเจรจากับดาบตำรวจ ส. และสายลับในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โดยนัดหมายกันส่งมอบในวันเกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่ 4 จึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำระหว่างจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 4 ไม่เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาก่อน รวมทั้งไม่ได้อยู่ด้วยในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีน ก็ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) และการตีความเจตนาในการทำพินัยกรรม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ว่าเอกสารหมาย รค.2 เป็นเพียงสำเนา ผู้คัดค้านมิได้นำต้นฉบับมาแสดง ต้องห้ามมิให้รับฟัง ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)
เอกสารหมาย รค.2 นอกจากจะมีข้อความระบุในตอนเริ่มต้นว่า "พินัยกรรมนี้เขียนด้วยมือตนเอง..." แล้วยังมีข้อความว่า "ที่นาโฉนดเลขที่ 497 อีกโฉนดเลขที่ 3817 ทั้งสองโฉนดนี้เป็นชื่อ ช. คิดจะเอาไว้เลี้ยงชีวิตยามชรา บัดนี้เราชราลง ได้มีบุญช่วยให้ชีวิตพอดำรงได้โดยไม่ต้องขายที่นากิน จึงยกให้ลูก ๆ พี่น้อง 11 คน..." ถ้อยคำดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายสำนึกถึงความชราและประสงค์จะกำหนดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนที่ยังมีอยู่ ทั้งเป็นข้อความที่ต่อเนื่องมาจากคำว่า พินัยกรรมนี้ แม้ในเอกสารดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเผื่อตาย แต่บุคคลทั่วไปอ่านแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าผู้ตายมีเจตนายกที่ดินให้แก่บุคคลที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าวเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่มีเจตนายกให้ในขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ประกอบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว" จึงถือว่าผู้ตายได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ เอกสารหมาย รค.2 จึงเป็นพินัยกรรม ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทตามพินัยกรรมของผู้ตายและมีสิทธิยื่นคำคัดค้าน
เอกสารหมาย รค.2 นอกจากจะมีข้อความระบุในตอนเริ่มต้นว่า "พินัยกรรมนี้เขียนด้วยมือตนเอง..." แล้วยังมีข้อความว่า "ที่นาโฉนดเลขที่ 497 อีกโฉนดเลขที่ 3817 ทั้งสองโฉนดนี้เป็นชื่อ ช. คิดจะเอาไว้เลี้ยงชีวิตยามชรา บัดนี้เราชราลง ได้มีบุญช่วยให้ชีวิตพอดำรงได้โดยไม่ต้องขายที่นากิน จึงยกให้ลูก ๆ พี่น้อง 11 คน..." ถ้อยคำดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายสำนึกถึงความชราและประสงค์จะกำหนดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนที่ยังมีอยู่ ทั้งเป็นข้อความที่ต่อเนื่องมาจากคำว่า พินัยกรรมนี้ แม้ในเอกสารดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเผื่อตาย แต่บุคคลทั่วไปอ่านแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าผู้ตายมีเจตนายกที่ดินให้แก่บุคคลที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าวเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่มีเจตนายกให้ในขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ประกอบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "คำสั่งของบุคคลที่กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว" จึงถือว่าผู้ตายได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้ เอกสารหมาย รค.2 จึงเป็นพินัยกรรม ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทตามพินัยกรรมของผู้ตายและมีสิทธิยื่นคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานร่วมกันนำยาเสพติดเข้าประเทศ พยานหลักฐานไม่พอพิสูจน์
ก่อนจำเลยที่ 1 ถูกจับกุม จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์วนกลับไปกลับมาบนถนนเลียบชายแดนบ้านจะลอ-บ้านลิเซ บริเวณรั้วลวดหนามกั้นชายแดนในเวลากลางคืนหลายรอบ จำเลยที่ 1 ส่งสัญญาณให้จำเลยที่ 2 ออกมาพบเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วจำเลยทั้งสองต่างขับรถจักรยานยนต์ออกมาจากรั้วลวดหนามไปตามถนนเลียบชายแดนบ้านจะลอ-บ้านลิเซ ส่วนจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับไปทางบ้านจะลอ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ถูกจ่าสิบเอก จ. กับพวกจับกุมได้ ประกอบกับจำเลยที่ 2 เป็นพี่เขยของจำเลยที่ 1 ย่อมไว้ใจให้จำเลยที่ 1 ให้คอยช่วยเหลือ ดังนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่คอยตรวจตราเส้นทางให้จำเลยที่ 2 ก่อนเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดฐานสนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย, สัญญาเงินกู้, การชำระหนี้, ดอกเบี้ยผิดนัด, การคิดดอกเบี้ย
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 1.3 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 15.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ก่อให้การกระทำผิดไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
โจทก์มอบเงิน 300,000 บาท ให้แก่จำเลย เพราะจำเลยอ้างว่าจะนำไปให้เจ้าพนักงานตำรวจยศระดับพลตำรวจตรี 2 คน เพื่อช่วยเหลือให้บุตรสาวโจทก์สามารถสอบเข้ารับราชการตำรวจได้ ซึ่งโจทก์ย่อมจะต้องทราบดีว่าบุตรสาวโจทก์จะเข้ารับราชการตำรวจได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือก โดยการสอบคัดเลือกเป็นระเบียบแบบแผนของทางราชการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถสมัครสอบได้โดยเสรีและที่สำคัญการจัดการสอบจะต้องยุติธรรมเพื่อที่ทางราชการจะได้คนมีความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน หากมีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้สามารถสอบผ่านแสดงว่ามีการกระทำอันเป็นการทุจริต เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่ผูกพันจำเลย เหตุผลผลประโยชน์ทับซ้อนและรู้เห็นการกระทำโดยมิชอบ
โจทก์กับ บ. และ ว. ร่วมกันทำกิจการค้าใช้ชื่อว่า "กิจการร่วมค้า ซ." เข้าทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา - บางพลี - บางประกง กับจำเลย ต่อมาเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549 ระหว่าง บ. กับพวก ผู้ร้อง ก. ผู้คัดค้าน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย และปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อกิจการร่วมค้า ซ. ไม่ได้รับราคาที่เพิ่มเติมจากจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า ซ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินราคาคงที่เพิ่มเติมและดอกผลค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้ โดยไม่จำเป็น ต้องฟ้องร่วมกับ บ. และ ว. และเมื่อคดีนี้ โจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549 ซึ่งได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้แล้วว่าโจทก์กับนิติบุคคลต่างประเทศ 2 ราย ดังกล่าว ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนกับจำเลยโดยไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้น โจทก์จึงมีส่วนร่วมในการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลย แม้โจทก์กับพวกจะทำงานตามสัญญาจ้างเหมานั้นเสร็จสิ้นแล้วโดยส่งมอบโครงการทางด่วนให้จำเลยรับไปและมีราคาคงที่เพิ่มเติมภายหลังก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกราคาคงที่เพิ่มเติมและค่าดอกผลในค่าผ่านทางด่วนจากจำเลยในฐานะลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยไม่มีข้อตกลงคืน สัญญายังมีผลบังคับใช้ ที่ดินไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก
ตามหนังสือสัญญายกให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามที่ปรากฏเป็นหลักฐานในการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน มีข้อความปรากฏเฉพาะการที่ พ. มารดาของจำเลยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงหรือเงื่อนไขให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ พ. ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้าง สัญญาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ยอมรับว่าถูกต้องสมบูรณ์และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ข้อเท็จจริงดังกล่าวสอดคล้องกับการที่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินกับธนาคาร เช่นนี้ สัญญายกที่ดินพิพาทให้ตามฟ้องจึงไม่ใช่สัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยที่จะต้องตกเป็นโมฆะ สำหรับที่ดินพิพาทแปลงโฉนดเลขที่ 1876 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยรับกันว่า มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ปี 2547 ก่อนที่ พ. จะถึงแก่ความตายประมาณเกือบ 10 ปี แต่ไม่ปรากฏว่า พ. จะได้ดำเนินการในลักษณะที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น การมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือดำเนินคดี อีกทั้งโจทก์ทั้งสองนำสืบว่า รู้เรื่องราวดังกล่าวเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ไม่ได้มีการจัดการหรือช่วยเหลือ พ. เพื่อให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ พ. จำเลยให้การและนำสืบยืนยันข้อเท็จจริงตลอดมาว่า จำเลยไม่ได้เคยตกลงกับ พ. ที่จะโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้าง พยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองยังไม่มีน้ำหนักมากถึงขนาดที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดก พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การจัดการและปันทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องจัดประชุม หากทายาทไม่ให้ความร่วมมือ
โจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์จึงมีหน้าที่และอำนาจในการจัดการมรดกตามที่ ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 บัญญัติไว้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงแต่เพียงว่าโจทก์ไม่สามารถจัดการมรดกในส่วนที่ดินมีโฉนดได้เพราะทายาทไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกันในการจัดการและปันทรัพย์มรดก แม้จะเป็นจริงดังโจทก์กล่าวอ้างโจทก์ก็มีอำนาจดำเนินการจัดการและปันทรัพย์มรดกไปได้โดยไม่ต้องจัดประชุม เพราะอาจมีทายาทที่ไม่เห็นด้วยไม่เข้าร่วมประชุมอันจะทำให้การจัดการมรดกติดขัดหรือหยุดชะงักลง ทำให้เกิดความเสียหายกับการจัดการและปันทรัพย์มรดกได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่า ทายาทไม่เข้าร่วมประชุม ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขนาดว่าจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกร่วมกับโจทก์ ขัดขวางหรือโต้แย้งสิทธิในการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์จนไม่สามารถจัดการมรดกได้ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง