คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 161

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืม, หักกลบลบหนี้รายได้, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยถูกต้อง, ค่าทนายความ
จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์และโจทก์ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้บริหารหน่วยงานขายประกันชีวิตของโจทก์แก่ผู้ขอเอาประกันชีวิต โดยจำเลยได้รับเงินเดือนและแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตจากลูกค้าที่จำเลยขายได้ เหลือรายได้สุทธิโจทก์ต้องจ่ายให้จำเลยโดยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ค้างชำระ ดังนี้ เมื่อคำให้การจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมจนถึงวันที่ 16 มกราคม2537 เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้อง แสดงว่าหนี้เงินที่ค้างชำระคิดถึงวันที่ 16 มกราคม 2537 แต่เงินรายได้ของจำเลยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2539 เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยจะต้องนำเงินรายได้ของจำเลยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยค้างชำระให้โจทก์ก่อนเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธินำเงินรายได้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่ค้างชำระตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกให้ชำระต้นเงินกู้ค้างชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ค้างชำระอื่น ๆ เช่น การเบิกเงิน เป็นต้น เป็นยอดหนี้ค้างชำระภายหลังที่โจทก์คิดยอดหนี้เงินกู้ตามฟ้องแล้วเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมาด้วย โจทก์จะนำยอดหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยขอให้นำมาหักกลบลบหนี้กับยอดหนี้ตามฟ้องไม่ได้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 5 จะกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องทวงถามในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถามไปอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ชอบแล้ว
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องสั่ง ที่หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 3 วรรคสองและข้อ 5 ระบุให้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินคดีและการบังคับการชำระหนี้ด้วยนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิของทายาท และการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืน
เมื่อพิจารณาคำฟ้องรวมกันทั้งฉบับแล้วพอเข้าใจได้ว่า ขณะฟ้องคดี จ. ถึงแก่กรรมแล้ว และผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่ยอมดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ จ. และ น. บริจาคให้เป็นถนนรับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่กรมโยธาธิการและจังหวัดธนบุรีมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงกลับมาเป็นของ จ. และ น. ตั้งแต่ก่อนที่ จ. จะถึงแก่กรรม ธ. บุตรของ จ. ซึ่งเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ จ. จึงต้องฟ้องคดีนี้ ถือได้ว่า ธ. ฟ้องคดีเองในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ. เป็นผู้ฟ้อง
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่ไม่ทำให้สิทธิของทายาทที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
โจทก์และจำเลยต่างฎีกาและแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนกลับไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่ ประกอบกับคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบกันไว้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีให้เสร็จเด็ดขาดโดยไม่ย้อนสำนวน
จ. ได้อุทิศส่วนของตนในที่ดินพิพาทยกให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของ จ. ดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่บันทึกไว้ในรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินว่า แบ่งให้เป็นถนนเจริญนคร ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และตามมาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาคและ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ จ. เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะแล้ว ถึงหากจะเป็นโมฆียะอย่างใดก็ไม่อาจบอกล้างได้ ตามมาตรา 181 ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776-6777/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังสัญญาระงับข้อพิพาท ศาลฎีกาพิพากษาให้ถอนการบังคับคดีเมื่อจำเลยปฏิบัติตามสัญญาแล้ว
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 ก่อนคดีถึงที่สุดโจทก์ที่ 1 กับจำเลยทำสัญญาระงับข้อพิพาทระหว่างกันทั้งหมดโดยไม่ติดใจบังคับคดีต่อมาโจทก์ที่ 1 นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย เพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยยื่นฟ้องและศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาระงับข้อพิพาทและให้โจทก์ที่ 1 ชำระเงินแก่จำเลย แสดงว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ เมื่อการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์เป็นการกระทำของผู้แทนโจทก์ที่ 1 โดยยืนยันว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยจริงหากเกิดความเสียหายผู้แทนโจทก์ที่ 1 ยินยอมรับผิดชอบเอง เมื่อศาลไม่อนุญาตให้บังคับคดีอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ แม้มีการวางเงินชำระหนี้บางส่วน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยแม้ก่อนหน้าในวันที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยนั้น จำเลยจะวางเงินชำระหนี้แก่โจทก์ 1,000,000 บาท ก็เป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนยังมีหนี้ตามคำพิพากษาอยู่อีกถึง 1,965,741.45 บาท ชอบที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เหลือได้และแม้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะมีราคาสูง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่จำเลยวางเป็นประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นทุเลาการบังคับโดยสภาพไม่สมควรแบ่งการยึดระหว่างที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพราะอาจทำให้ทรัพย์สินเสื่อมราคา การกระทำของโจทก์หาใช่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมศาล: การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์
โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์จำกัดเฉพาะจำเลยบางราย ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ไม่ได้รับการอุทธรณ์รับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการสลักหลังเช็คและการแบ่งแยกความรับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีบุตรชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตได้หากไม่กระทบสิทธิจำเลย
แม้กฎหมายเปิดโอกาสให้เด็กและจำเลยซึ่งเป็นมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์ซึ่งเป็นบิดาขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้ศาลพิพากษาให้มีการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนจากคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว ดังนั้น แม้จำเลยจะยกปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยมิได้ขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อนายทะเบียนเสียก่อนขึ้นอ้าง เมื่อศาลยังไม่เห็นสมควรที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำและใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้โดยชอบ
ศาลมีดุลพินิจในการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีได้อย่างกว้างขวาง โดยคำนึงถึงความสุจริตของคู่ความเป็นสำคัญ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต่อนายทะเบียนให้ถูกต้องตามขั้นตอนหาใช่เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งคดีเป็นประเด็นปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนระหว่างคู่กรณีที่มีความรักความผูกพันกันมาก่อนอันอาจตกลงกันได้ในที่สุด มิใช่การต่อสู้ชนิดเอาเป็นเอาตาย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นพับโดยมิได้สั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจำนองและการคิดดอกเบี้ยเกินคำขอ
จำเลยมอบอำนาจให้ ก.ทำสัญญาจำนองเพื่อให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน และตามสัญญาจำนองมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า คู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย สัญญาจำนองดังกล่าวมีผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นผู้ลงชื่อไว้แทนจำเลย ซึ่งมีผลเสมอกับลายมือชื่อของจำเลย สัญญาจำนองย่อมมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่ผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน
of 47