พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจำนองและการคิดดอกเบี้ยเกินคำขอ
จำเลยมอบอำนาจให้ ก.ทำสัญญาจำนองเพื่อให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน และตามสัญญาจำนองมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า คู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย สัญญาจำนองดังกล่าวมีผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นผู้ลงชื่อไว้แทนจำเลย ซึ่งมีผลเสมอกับลายมือชื่อของจำเลย สัญญาจำนองย่อมมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่ผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องคดีล้มละลาย และการรับรองความถูกต้องของเอกสารสำเนา
ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคน เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใดและจะฟ้องอย่างไร ย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องลูกหนี้หลายคน และการรับฟังพยานสำเนาเอกสาร
โจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเพื่อเป็นการค้ำประกันสัญญาซื้อขายหัวกระเทียมแห้งระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หากห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์ยินยอมใช้เงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในวงเงินฉบับละ 1,000,000 บาท รวม 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,000,000 บาท การที่โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันดังกล่าว น. และ ว. กับจำเลยต่างทำสัญญายอมรับผิดชอบชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ต้องจ่ายเงินแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไปตามหนังสือค้ำประกัน ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผิดสัญญาต่อองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรแล้วฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลาย และศาลได้พิพากษาให้บุคคลทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคนนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใด และหากฟ้อง จะฟ้องอย่างไรย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในสัญญา การปล่อยเวลาให้หนี้ดอกเบี้ยทบเพิ่มโดยไม่บังคับชำระ
โจทก์อาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 : การแสวงหาประโยชน์ฝ่ายเดียว
โจทก์อาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 307 วรรคสองหลังศาลชั้นต้นรับฎีกา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 วรรคสองซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนและคำสั่งยกคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์จำนอง รวมถึงผลของการอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ.มาตรา307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมและการบังคับคดีขับไล่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ. ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ. จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ. หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ. ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องสอดของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่ และผลกระทบต่อสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ.ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ.จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ.หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ.ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161.
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ, ความรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้อาคารสินธร ชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทจำเลยเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่นด้วย ใช้ประตูเข้าเดียวกัน เข้าประตูไปแล้วจะมีเคาน์เตอร์ตั้งอยู่ หากมีการส่งเอกสารมาถึงจำเลยและบริษัทอื่น พนักงานที่เคาน์เตอร์จะรับไว้แล้วนำไปให้บริษัทที่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมาย ณ ห้องเลขที่ 130 ถึง 132 ชั้นที่ 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว การที่พนักงานเคาน์เตอร์ไม่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยเป็นเรื่องการจัดการภายในของจำเลยเอง จำเลยจะยกเป็นข้ออ้างว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหาได้ไม่ ถือว่าจำเลยจงใจไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทจึงคงมีตามประเด็นตามคำฟ้อง จำเลยไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เพื่อหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น ฎีกาของจำเลยเมื่อไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เบี้ยปรับที่ศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดความรับผิดเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา การที่ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
เบี้ยปรับที่ศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดความรับผิดเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา การที่ศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว