คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 653 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11489/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ใบสมัครสินเชื่อถือเป็นหลักฐานหนังสือตามกฎหมายได้ แม้ทำก่อน/หลังสัญญา
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่แบบแห่งนิติกรรม ทั้งกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีขึ้นเฉพาะในขณะที่ทำสัญญากู้ยืม ดังนั้น หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีขึ้นก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ยืมก็ได้ เมื่อได้ความว่าหลังจากจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ใบสมัครสินเชื่อบุคคลขอกู้ยืมเงินโจทก์วงเงิน 35,000 บาท ตามเงื่อนไขและข้อตกลงในแบบพิมพ์ดังกล่าวและยื่นต่อโจทก์อันเป็นการทำคำเสนอขอกู้ยืมเงินโจทก์ และวันต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงให้จำเลยกู้ยืมเงิน 24,700 บาท ซึ่งอยู่ภายในวงเงินที่จำเลยขอกู้ยืม จึงเป็นคำสนองรับตามคำเสนอของจำเลย สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นและบริบูรณ์ เมื่อโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืม โดยโอนเงิน 23,630 บาท เข้าบัญชีที่จำเลยระบุไว้ ดังนี้ ใบสมัครสินเชื่อบุคคลที่จำเลยกรอกข้อความและลงลายชื่อในช่องลายมือของผู้กู้ จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคแรก ที่โจทก์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมแก้ไขจำนวนเงิน สัญญาเดิมยังใช้บังคับได้ แต่จำเลยผูกพันเฉพาะจำนวนเงินที่กู้จริง
สัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อกู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 60,000 บาท ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิม และมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไปจำเลยต้องรับผิดเท่าที่กู้ไปจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7587/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในหนี้แทนกัน แม้ไม่ได้กู้เอง แต่ยินยอมทำสัญญาผูกพันหนี้เดิม
ตามข้อความในสัญญากู้ เอกสารหมาย จ.1 จำเลยได้เขียนชื่อของตนเองว่าจำเลยทำแทน ก. และลงลายมือชื่อของจำเลยในช่องผู้กู้ เช่นนี้เพื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงว่า ก. กับจำเลยเคยเป็นสามีภรรยากัน และเคยร่วมกันค้าขายน้ำมัน เดิม ก.เป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ เอกสารหมาย ล.1ซึ่งจำเลยก็ทราบดีเพราะเป็นคนเขียนสัญญากู้ดังกล่าว เมื่อ ก.หลบหนีไป โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แทน ก. จำเลยก็ยินยอมทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 กับโจทก์โดยนำหนี้ตามสัญญากู้เอกสารหมาย ล.1 พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระมารวมเป็นหนี้ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้กู้เงินโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 กับโจทก์โดยมีเจตนาเข้าผูกพันตนยินยอมชำระหนี้แทน ก. ซึ่งเคยเป็นสามีต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ เอกสารหมาย จ.1ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ไม่ครบอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
สัญญากู้เงินเป็นต้นฉบับแห่งเอกสารอันเป็นตราสารที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 5 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ.2496
เมื่อผู้คัดค้านอ้างและนำสืบว่า ผู้ร้องกู้เงินจำเลยจำนวน1,845,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 922 บาทแต่สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ดังนั้น จึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยอยู่ตามหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้ยืมเงินที่ไม่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้จะเขียนด้วยมือผู้กู้เอง ก็ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
จำเลยเขียนเอกสารการกู้ยืมเงินด้วยลายมือตนเองโดยระบุชื่อจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์แต่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อไว้ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องทำตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
การซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติธรรมดาไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129และการตั้งตัวแทนเพื่อซื้อและขายหุ้นดังกล่าวก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีมูลหนี้จากที่จำเลยที่1กู้ยืมเงินจากโจทก์หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่1ชำระหนี้กู้ยืมเงินโดยตรงไม่จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นปลอม ก็ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และดอกเบี้ยหลังวันฟ้องไม่ติดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย เมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงิน และลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยได้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม (มาตรา 193/33 ใหม่)หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อ แม้ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อปลอม ก็ฟ้องบังคับได้ ดอกเบี้ยหลังฟ้องไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วยเมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอมก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยได้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิม(มาตรา193/33ใหม่)หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยเกิน5ปีโดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ปลอม: การลงลายมือชื่อในสัญญาที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ และการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยกู้เงินโจทก์และลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ สามีโจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นเองภายหลังมากกว่าจำนวนที่กู้จริงโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอม สัญญากู้จึงเป็นสัญญากู้ปลอม ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องบังคับจำเลยได้
of 2