คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 166

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม 10,000 บาทรวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้ จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยคดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประวิงการชำระหนี้ ทำให้โจทก์ยึดทรัพย์ได้ แม้ศาลยกคำร้อง การที่จำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์
การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากเงินที่มีการประมูลขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยตามคำพิพากษาแล้วจำเลยไม่ยอมชำระราคาค่าซื้อรวมทั้งค่าธรรมเนียมการขายหลังจากจำเลยประมูลราคาซื้อได้แล้วโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนการชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาลชั้นต้นถือได้ว่าจำเลยเจตนาที่จะประวิงการบังคับคดีโดยไม่สุจริตเพื่อที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับการชำระเงินส่วนแบ่งตามสิทธิของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยรวม4แปลงเพื่อบังคับคดีเอาเงินมาชำระส่วนแบ่งของโจทก์บ่องบอกเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์กระทำไปโดยสุจริตแม้ต่อมาศาลฎีกาจะพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยก็ตามแต่การนำยึดที่ดินทั้งสี่แปลงของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่ามิได้เกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยย่อมมีส่วนผิดที่ก่อให้โจทก์นำยึดที่ดินจำนวน4แปลงของจำเลยอันเนื่องมาจากการที่จำเลยประวิงการบังคับคดีจำเลยจึงควรเป็นฝ่ายต้องรับผิดเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดียึดแล้วไม่มีการขายแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งประกอบมาตรา166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินวางซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วน และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ขอรับเงินที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครั้งก่อนคืน ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที แต่ถ้าเป็นที่ดินหรือทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้ และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ ดังนี้ เงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อไม่ใช่เงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ และในการขายทอดตลาดครั้งหลังโจทก์ก็เป็นผู้ซื้อทรัพย์ในราคาเดิม โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆจึงต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวทั้งหมด เหตุที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินวางซื้อทรัพย์จากการผิดสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
ตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันทีแต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดินหรือทรัพย์อย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นถ้าหากมีภายในเวลาไม่เกิน 15 วันก็ได้ และตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ แสดงว่าเงินจำนวน 50,000 บาทที่โจทก์วางไว้ในวันขายสำหรับการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ ในการขายทอดตลาดครั้งหลัง โจทก์เป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ในราคา 195,000 บาท เท่าเดิมทั้งโจทก์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีจึงไม่มีความเสียหายใด ๆต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนทั้งหมดให้โจทก์ การที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การอายัดเงินและการยึดทรัพย์ที่ไม่มีการขาย ความรับผิดของจำเลยที่ผิดนัดชำระหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดดังกล่าวแก่โจทก์ เป็นการจ่ายเงินที่อายัดตามความหมายของตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของจำนวนเงินที่จ่าย
จำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์จึงนำยึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลงดการขายทอดตลาด และโจทก์แถลงของดการขายทอดตลาดด้วย ต่อมาโจทก์ขออายัดเงินในคดีอื่นซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับศาลส่งเงินมาให้ตามที่โจทก์อายัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้คดีนี้ครบถ้วน จึงถอนการยึดที่ดินเช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าธรรมเนียมการยึดที่ดินแล้วไม่มีการขายเป็นดุลพินิจของศาลว่า สมควรให้คู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายเสียเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ต้องนำยึดที่ดินโดยถือได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่มีการขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การอายัดเงินและการยึดทรัพย์ที่ไม่มีการขาย ความรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดดังกล่าวแก่โจทก์ เป็นการจ่ายเงินที่อายัดตามความหมายของตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของจำนวนเงินที่จ่าย
จำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์จึงนำยึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลงดการขายทอดตลาด และโจทก์แถลงของดการขายทอดตลาดด้วย ต่อมาโจทก์ขออายัดเงินในคดีอื่นซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับศาลส่งเงินมาให้ตามที่โจทก์อายัดและโจทก์ได้รับชำระหนี้คดีนี้ครบถ้วน จึงถอนการยึดที่ดินเช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าธรรมเนียมการยึดที่ดินแล้วไม่มีการขายเป็นดุลพินิจของศาลว่า สมควรให้คู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายเสียเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ต้องนำยึดที่ดินโดยถือได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่มีการขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา และเงินเดือนระหว่างทุนนำมาคำนวณค่าปรับได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ และได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลา และกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เพราะคำว่า หนีราชการ เป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่ 1 ออกเอง อันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่
เงินเดือนที่จำเลยที่ 1 ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้น อยู่ในความหมายของคำว่า เงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษา ตามข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญา จึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา โดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อน จากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้คนละจำนวน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการ, และความรับผิดร่วมในหนี้
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองอันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญา การยึดทรัพย์ และดอกเบี้ย ค่าเสียหาย การมอบอำนาจกรรมการบริษัท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นมา กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
of 3