คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 326

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13390-13391/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ, ค่าขาดประโยชน์, และราคารถใช้แทน
ป.พ.พ. มาตรา 326 บัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ว่า ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ และเมื่อพิเคราะห์ตามปกติประเพณีในการชำระหนี้ ลูกหนี้ย่อมยึดถือใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้เป็นหลักฐานว่าหนี้นั้นระงับสิ้นไป การกำหนดข้อสัญญาให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานในการชำระเงินจึงสอดคล้องกับความในมาตรา 326 ดังกล่าว และหลักปฏิบัติในการชำระหนี้โดยทั่วไป ประกอบกับมีข้อพิจารณาว่า การชำระค่าเช่าซื้อในคดีนี้คู่สัญญาตกลงให้ชำระด้วยเช็ค จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 321 วรรคท้าย ที่กำหนดว่าถ้าชำระหนี้ด้วยออกตั๋วเงิน หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้ว ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 มีข้อความต่อไปอีกว่า หากชำระด้วยเช็ค ใบรับเช็คไม่ถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงิน ข้อสัญญาโดยรวมจึงมุ่งหมายให้มีการชำระเงินค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้เป็นหลักฐานในการรับชำระ ซึ่งเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการชำระหนี้แล้ว จึงมิได้เป็นข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13390-13391/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, รถใช้แทน, ค่าขาดประโยชน์: ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 326 บัญญัติเกี่ยวกับการชำระหนี้ว่า ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ และเมื่อพิเคราะห์ตามปกติประเพณีในการชำระหนี้ ลูกหนี้ย่อมยึดถือใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากเจ้าหนี้เป็นหลักฐานว่าหนี้นั้นระงับสิ้นไป การกำหนดข้อสัญญาให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานในการชำระเงินจึงสอดคล้องกับความในมาตรา 326 ดังกล่าว และหลักปฏิบัติในการชำระหนี้โดยทั่วไป ประกอบกับมีข้อพิจารณาว่า การชำระค่าเช่าซื้อในคดีนี้คู่สัญญาตกลงให้ชำระด้วยเช็ค จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 321 วรรคสาม ที่กำหนดว่าถ้าชำระหนี้ด้วยออกตั๋วเงิน หนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้ว ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 มีข้อความต่อไปอีกว่า หากชำระด้วยเช็ค ใบรับเช็คไม่ถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงิน ข้อสัญญาโดยรวมจึงมุ่งหมายให้มีการชำระเงินค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้เป็นหลักฐานในการรับชำระ ซึ่งเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการชำระหนี้แล้ว จึงมิได้เป็นข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยคอนโดมิเนียม, การสลักหลังเช็ค, และภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 326 มีความหมายแต่เพียงว่า บุคคลผู้ชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้แก่ตนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานใช้ยันต่อเจ้าหนี้ว่าตนได้ชำระหนี้แล้ว หากเป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิงผู้ชำระหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้เวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นได้ด้วย แต่ไม่ได้หมายความถึงว่าหากไม่มีใบเสร็จเป็นสำคัญ หรือไม่มีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือไม่มีการขีดฆ่าเอกสารนั้นแล้ว ลูกหนี้จะไม่อาจนำสืบด้วยพยานหลักฐานอย่างอื่นว่ามีการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและผลกระทบต่อการชำระหนี้: การระงับกิจการโดยกระทรวงการคลังไม่ใช่เหตุให้ลูกหนี้ผิดนัด
แม้กระทรวงการคลังมีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทถึงกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ได้สำเร็จ และกระทรวงการคลังได้แจ้งให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลไปติดต่อเพื่อขอรับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ได้ตามปกติเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ตามกำหนดจึงไม่ใช่กรณีที่การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายสินสมรส: ผลผูกพันสัญญา, อำนาจฟ้อง, และการชำระหนี้
ฉ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามี ซึ่งจำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 เดิม แต่ตราบใดที่สัญญายังมิได้ถูกศาลเพิกถอนสัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องโดยแนบสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาการซื้อขายระหว่างโจทก์ กับ ฉ. มาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฉ. มิได้ทำสัญญาตามสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) โจทก์กับ ฉ. ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ พยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อตามสัญญาเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าให้ ฉ. เก็บเงินจากโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ต้องชำระเงิน ณ ภูมิลำเนาของ ฉ. ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ตามสัญญากำหนดให้โจทก์ส่งเงินเป็นรายเดือนของทุกเดือนภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องส่งเดือนละเท่าใดพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาถือเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา 2 ปี เป็นข้อสำคัญ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังกล่าว จะถือเอาว่าจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับราคาที่ซื้อขายหารด้วยระยะเวลา2 ปี หาได้ไม่ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องมีใบเสร็จจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน ศาลวินิจฉัยประเด็นตามที่จำเลยยกขึ้นได้
จำเลยให้การอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้วเป็นการอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่ จึงแปลได้ว่า ถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้ กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่พิพาทอยู่ แต่ถ้าหากการครอบครอง ที่พิพาทของจำเลยเข้าเกณฑ์ได้กรรมสิทธิ์โจทก์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ ที่พิพาทอีกต่อไป ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382 ผลก็คือโจทก์ไม่ได้ เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไปแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัย ตามประเด็นข้อพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น ไม่ได้เป็นบทบังคับ ประกอบกับคดีมีปัญหาในเรื่องการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับว่าการชำระหนี้ในเรื่องดังกล่าวนี้จะต้องมีใบเสร็จมาแสดงดังนี้แม้จำเลยจะไม่มีใบเสร็จมาแสดง จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงการชำระหนี้ดังกล่าวนี้ได้เพราะไม่มี กฎหมายบัญญัติห้ามไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์การชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่ จึงแปลได้ว่าถ้าการครอบครองที่พิพาทของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่พิพาทอยู่ แต่ถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยเข้าเกณฑ์ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไป ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ผลก็คือโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไปแล้วจึงถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น ไม่ได้เป็นบทบังคับ ประกอบกับคดีนี้เป็นการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน กฎหมายไม่ได้บังคับว่าการชำระหนี้ในเรื่องนี้จะต้องมีใบเสร็จมาแสดง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงการชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันภัย, การพิสูจน์สัญญา, และประเด็นการพิจารณาของศาลเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นชี้สองสถาน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา แต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อ ส.ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส.ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว
การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2510มาตรา 27 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้วดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์-ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้วโจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้
ที่ ป.พ.พ.มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น เป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้ จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์-ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกัน และกรมธรรมม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่
จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6 จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลย คำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งชำระหนี้ค่าสินค้า ไม่ผูกพันกับคดีอาญาทำลายเอกสาร การพิจารณาคดีแพ่งต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดี
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสารตรงที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่งเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้องขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้า ประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกันหาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรงในคดีอาญาไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดยมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงหลักฐานแห่งหนี้ หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่าคดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อสำคัญต้องเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่.
of 5