คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 689

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันสัญญาตัวแทน, อายุความ, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การผ่อนปรนหนี้, และความรับผิดของผู้จำนอง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกัน จำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 225 วรรคสอง ในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง (อ้างฎีกา 658 - 659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีเท่าใด ยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกัน และมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, อายุความ, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การผ่อนเวลาลูกหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ก็ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้น อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการผ่อนชำระ
การที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินยอมผ่อนเวลาให้กับผู้ออกตั๋วนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอาวัลหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับผู้ออกตั๋ว และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหลักทั่วไปในเรื่องค้ำประกัน
ผู้รับอาวัลสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งผ่อนชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นการรับสภาพหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และย่อมเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับอาวัลต้องรับผิดชอบหนี้เช่นลูกหนี้ชั้นต้น แม้มีการผ่อนเวลาชำระ และอายุความไม่ขาดเพราะมีการรับสารภาพหนี้
การที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินยอมผ่อนเวลาให้กับผู้ออกตั๋วนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอวัลหยุดพ้นจากความรับผิด เพราะผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่งเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับผู้ออกตั๋ว และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันตามหลักทั่วไปในเรื่องค้ำประกัน
ผู้รับอาวัลสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งผ่อนชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นการรับสารภาพหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และย่อมเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิผู้จำนองบังคับคดีกับลูกหนี้/ผู้ค้ำฯ
ในกรณีที่จำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนองซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับผู้จำนองจึงจะขอให้บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนไม่ได้และจะขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันก่อนก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิผู้จำนองบังคับคดีกับลูกหนี้/ผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่จำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนอง ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับผู้จำนองจึงจะขอให้บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนไม่ได้และจะขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันก่อนก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ค้ำประกัน: บังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้มีทรัพย์และชำระได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้. และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก โจทก์เองก็ไม่คัดค้านว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์ ทั้งยินยอมให้จำเลยที่ 2 ไปขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ไม่ สามารถจัดการขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้หาทำให้โจทก์ข้ามการบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 มาบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 689: บังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้. และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก โจทก์เองก็ไม่คัดค้านว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ ทั้งยินยอมให้จำเลยที่ 2 ไปขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจัดการขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้หาทำให้โจทก์ข้ามการบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 มาบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับจากลูกหนี้ชั้นต้นก่อน หากพิสูจน์ได้ว่ามีทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับทรัพย์สินลูกหนี้ชั้นต้นก่อน และพิสูจน์ทรัพย์สินลูกหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว
of 5