พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันการบังคับคดี: ศาลชอบที่จะบังคับคดีจากหลักประกันได้ทันทีเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาโดยผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลว่าถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนหนี้เท่าใดผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องได้นำมาวางไว้เป็นประกันทันทีเป็นการทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลด้วยการนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลทั้งนี้เพื่อให้ศาลทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกาเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ศาลย่อมออกคำบังคับให้ผู้ร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องผู้ร้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ11เรื่องค้ำประกันดังนั้นจึงไม่อาจนำมาตรา689และ690แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นต้องตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องให้สัญญาต่อศาลว่าผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินที่ผู้ร้องวางเป็นประกันไว้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างกองทรัพย์สินลูกหนี้กับทายาทผู้รับมรดก และกรอบเวลาการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ร่วมและลูกหนี้ชั้นที่ 2
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมี ก.ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวด้วย กรณีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 2และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น ส่วนนางกัลยาเป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกัน - สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน - อายุความ - ทรัพย์ประกัน - การทวงถาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 ที่ให้สิทธิผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้นั้น มิได้หมายความว่าถ้าเจ้าหนี้ไม่เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนแล้วจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องหรือฟ้องผู้ค้ำประกันฝ่ายเดียวให้รับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยผู้ค้ำประกันจะได้ขอให้โจทก์เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนแล้ว โจทก์ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงมาถึง 6 ปีจึงฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลย จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลยไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ค้ำประกัน, การเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน, อายุความสัญญาประกันค่าเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 ที่ให้สิทธิผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้นั้น มิได้หมายความว่าถ้าเจ้าหนี้ไม่เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนแล้วจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องหรือฟ้องผู้ค้ำประกันฝ่ายเดียวให้รับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยผู้ค้ำประกันจะได้ขอให้โจทก์เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนแล้ว โจทก์ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงมาถึง 6 ปีจึงฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยจะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลยไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้: สิทธิโจทก์บังคับคดีจำนองเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้จำนองต้องรับผิดตามคำพิพากษา
การบังคับคดีต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก. เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ด้วยทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์. และโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับจำนองกับจำเลยที่ 2ด้วย. ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์. ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ. ก็ให้จำเลยที่ 2ไถ่จำนองเต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ. และหากบังคับจำนองขายทรัพย์ที่จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 ขายใช้หนี้ได้จนครบ. ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้. จำเลยที่2 ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องไถ่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อปัดป้องมิให้ตนต้องถูกบังคับจำนอง. และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้.หรือไม่ไถ่จำนอง.ก็ต้องถูกบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตามคำพิพากษา. โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดได้. จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689,690 ว่าด้วยค้ำประกัน.มาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่. มิฉะนั้นแล้วบทบัญญัติในลักษณะจำนองดังกล่าวแล้วก็จะไร้ผลและผิดหลักการจำนองเป็นประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้: สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์จำนองเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ
การบังคับคดีต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ด้วยทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์ และโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับจำนองกับจำเลยที่ 2 ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ก็ให้จำเลยที่ 2ไถ่จำนองเต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ และหากบังคับจำนองขายทรัพย์ที่จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 ขายใช้หนี้ได้จนครบ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องไถ่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อปัดป้องมิให้ตนต้องถูกบังคับจำนอง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้หรือไม่ไถ่จำนองก็ต้องถูกบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดได้ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688, 689, 690 ว่าด้วยค้ำประกันมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วบทบัญญัติในลักษณะจำนองดังกล่าวแล้วก็จะไร้ผลและผิดหลักการจำนองเป็นประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้: สิทธิโจทก์บังคับคดีจำนองได้ก่อน แม้จำเลยที่ 1 ยังไม่ถูกบังคับคดี
การบังคับคดีต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ด้วยทรัพย์ที่จำนองไว้กับโจทก์ และโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับจำนองกับจำเลยที่ 2 ด้วย ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ก็ให้จำเลยที่ 2 ไถ่จำนองเต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระ และหากบังคับจำนองขายทรัพย์ที่จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 ขายใช้หนี้ได้จนครบ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องไถ่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อปัดป้องมิให้ตนต้องถูกบังคับจำนอง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ไถ่จำนอง ก็ต้องถูกบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดได้ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689,690 ว่าด้วยค้ำประกันมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วบทบัญญัติในลักษณะจำนองดังกล่าวแล้วก็จะไร้ผลและผิดหลักการจำนองเป็นประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาธนาคารพาณิชย์: สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ใช้บังคับได้หากไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์ มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้งเอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณาจำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้งเอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณาจำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ แม้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีธนาคาร และฟ้องเคลือบคลุมไม่เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมาย.มีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์. มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น. กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง. โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้. เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน. สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์. ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา. จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท. คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์. ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์. เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้. ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์. ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา. จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท. คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์. ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์. เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้. ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น.