พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในสัญญาจำนำไม่ขัดกฎหมาย หากไม่ได้ระบุถึงกลฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 ต้องเป็นข้อยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ว่า หากสินค้าที่ธนาคารโจทก์ รับจำนำเกิดความชำรุด บุบสลาย เสียหาย สูญหายหรือเสื่อมโทรมไม่ว่าจะโดยเหตุใด ๆ โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดไม่มีข้อตกลงชัดเจนยกเว้นมิให้โจทก์รับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อกฎหมายสามารถใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าโกดังเก็บน้ำตาล ไม่ปรากฏว่าน้ำตาลที่จำนำไว้สูญหายไปเพราะโจทก์เป็นผู้เอาไป หรือโจทก์เป็นผู้กระทำ หรือมีส่วนกระทำ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้น้ำตาลสูญหายไป ทั้งตามข้อตกลงในการจำนำ โจทก์ไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบุบสลายเสียหาย สูญหายหรือเสื่อมโทรมของน้ำตาล ที่จำนำ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย สูญหาย หรือเสื่อมโทรมของน้ำตาลที่จำนำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกรรมสิทธิ์ตกเป็นของธนาคาร
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก. โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่สมบูรณ์ แต่มีผลผูกพันกับเจ้าของร่วม
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน1,000,000บาทไปฝากประจำไว้แก่ธนาคารก. โดยมีเงื่อนไขว่าการสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ต่อมาญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามเอกสารหมายจ.10ดังนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา747การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้คดีนี้แม้ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคารก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารก.ไปแล้วธนาคารก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและลักษณะของสัญญาเอกสารหมายจ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมายจ.10จะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมายจ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาในเมื่อญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่เป็นจำนำแต่ผูกพันเจ้าของรวม
โจทก์และ ญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก.โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ.จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคาร ก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ.ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ.ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ.กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก.คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ.นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ป.พ.พ.มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร
แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ.เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ.เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้
แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ.เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ.เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำเงินฝากและสิทธิการถอนเงิน: สิทธิของผู้รับฝากและเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เงินที่จำเลยฝากตกเป็นของธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากแล้ว ผู้ร้องคงมีหน้าที่แต่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่จำเลยตกลง มอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้แก่ผู้ร้องโดยใช้ข้อความว่าเป็นการจำนำก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้อง แม้จะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังเป็นของจำเลยอันผู้ร้องจะยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ และโดยสภาพแล้วสิทธิการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากย่อมไม่อาจส่งมอบแก่กันได้อย่างสิทธิซึ่งมีตราสาร ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และการที่จำเลยมอบใบรับฝากประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ บุริมสิทธิจากการจำนำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ แม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.และจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด และสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้า จึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่าง ๆ ให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์ โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้า และห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้า การครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำ การที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป
สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์มาตรา 9 ทวิ
โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อปี 2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26 พฤษภาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่1เปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่1ทำสัญญาค้ำประกันไว้และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.และจำเลยที่1จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วนคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใดจำนวนเงินเท่าใดและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้าจึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่างๆให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้าและห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้าการครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำการที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มาตรา9ทวิ โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.เมื่อปี2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26พฤษภาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับบุริมสิทธิระหว่างผู้รับจำนำและผู้รับฝากทรัพย์: ผลกระทบจากการทราบข้อเท็จจริงก่อนการบังคับชำระหนี้
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด เป็นผู้รับจำนำสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะเป็นผู้รับจำนำ ส่วนผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าจากกจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เช่นกัน จึงเป็นกรณีที่บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าแย้งกับสิทธิจำนำของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทร-ธนกิจ จำกัด ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ในฐานะผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่ง ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 282
แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้า หรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุน-หลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อบริษัทเงินทุน-หลักทัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจจำกัด
แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้า หรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุน-หลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อบริษัทเงินทุน-หลักทัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิบุริมสิทธิ: ผู้ฝากทรัพย์มีสิทธิก่อนผู้รับจำนำเมื่อผู้รับจำนำทราบถึงการฝากทรัพย์ก่อน
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด เป็นผู้รับจำนำสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะเป็นผู้รับจำนำ ส่วนผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าจากจำเลยที่ 1 มีบุริมสิทธิในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เช่นกัน จึงเป็นกรณีที่บุริมสิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าแย้งกับสิทธิจำนำของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ซึ่งกรณีเช่นนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ในฐานะผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 282 แม้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด มีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่หนึ่งในฐานะผู้รับจำนำสินค้า แต่ขณะที่รับจำนำสินค้าได้ทราบแล้วว่าผู้ร้องเป็นผู้รับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วซึ่งการที่ผู้ร้องรับฝากสินค้าของจำเลยที่ 1 ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย ดังนี้ กรณีจึงต้องห้ามมิให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์ซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองตามนัยมาตรา 278 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และแม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่ากรณีเช่นนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ผู้รับจำนำเพียงใดก็ตามแต่เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้ร้องได้เช่นนี้แล้วจึงถือได้ว่าผู้ร้องย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำข้าวสาร/ข้าวเปลือก และการขนย้ายทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้สิน ศาลฎีกาวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยนำข้าวสารและข้าวเปลือกที่จำเลยจำนำแก่โจทก์ไปจำหน่าย ซึ่งตามทางปฎิบัติ ข้าวสารและข้าวเปลือกที่ลูกค้าจำนำแก่โจทก์จะอยู่ในความดูแลของลูกค้า ลูกค้าสามารถนำออกไปจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตโจทก์แต่ต้องนำข้าวสารและข้าวเปลือกจำนวนใหม่เข้าไปไว้แทน แสดงว่าโจทก์ยอมให้ข้าวสารและข้าวเปลือกอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวสารและข้าวเปลือกไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทวงถามและจำเลยรู้ว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยขนย้ายทรัพย์ไปเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350