คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 747

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายการสละหลักประกันเมื่อจำเลยล้มละลาย และการจำนำต้องมีการส่งมอบทรัพย์
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องล้มละลายต้องบรรยายองค์ประกอบเจ้าหนี้มีประกันครบถ้วน แม้จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลก็วินิจฉัยได้
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตามป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนสหกรณ์ และการจำนำหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ผู้จัดการสหกรณ์ผู้ร้องซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องได้ มีฐานะเป็นผู้แทนสหกรณ์ผู้ร้อง มีอำนาจทำการแทนผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ผู้ร้องหาจำเป็นต้องทำใบมอบอำนาจอีกขั้นหนึ่งไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2451-2452/2517) การที่จำเลยนำหุ้นสหกรณ์ไปจำนำแก่ผู้ร้องภายหลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันจำนำหุ้นทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ในเงินค่าหุ้นดังกล่าวก่อนโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในการจำนำทรัพย์สิน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะวงเงินจำนำ
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้จำนำ ยอม รับผิดในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 นั้น หมายความเพียงว่าจำเลยที่ 2จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ จำเลยที่ 2 จะต้อง รับผิดในหนี้นอกเหนือจากราคาทรัพย์ที่จำนำก็ต่อ เมื่อมีข้อสัญญาแสดงฐานะ ว่าเป็นผู้ค้ำประกันโดย ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการจำนำ แม้มีข้อตกลงให้หักเงินจากบัญชี
เมื่อจำเลยฝากเงินไว้แก่ผู้ร้อง เงินที่ฝากย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวน การที่จำเลยตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีเงินฝากประจำไว้แก่ผู้ร้อง ก็เพียงเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้องเท่านั้น แม้ในหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันจะมีข้อความระบุไว้ว่า เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ การที่จำเลยให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยและจำเลยจะไม่ถอนเงินฝากจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนนั้น เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2611/2522).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการจำนำเงินฝาก เจ้าหนี้มีประกันไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
เมื่อจำเลยฝากเงินไว้แก่ผู้ร้อง เงินที่ฝากย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวน การที่จำเลยตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีเงินฝากประจำไว้แก่ผู้ร้อง ก็เพียงเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้องเท่านั้น แม้ในหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันจะมีข้อความระบุไว้ว่า เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ การที่จำเลยให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยและจำเลยจะไม่ถอนเงินฝากจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนนั้น เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2611/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจนำมาจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรัพย์สินที่จำนำได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธิการเช่าอาคารไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 101 จึงไม่อาจจำนำกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจนำมาจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรัพย์สินที่จำนำได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธิการเช่าอาคารไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 101 จึงไม่อาจจำนำกันได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินจำนองประกัน ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้เลย ไม่ต้องบังคับจำนองก่อน
การกู้ยืมเงินซึ่งมีจำนำเป็นประกันนั้น ผู้ให้กู้ไม่ถูกผูกมัดให้ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ให้รับผิดตามสัญญากู้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันและการฟ้องร้องตามสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
of 9