คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1314

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินจากสาธารณูปโภคอาคารชุด ศาลใช้หลักเทียบเคียงมาตรา 1314 วรรคแรก ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนการรื้อถอน
หนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุดระบุว่า อาคารชุดจำนวน 1 หลัง มีทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 33745 แขวงหัวหมาก (หัวหมากใต้) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ 305 ตารางวา สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ที่จอดรถ ระบบประปา ท่อระบายน้ำเสีย ท่อระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร โดยไม่ปรากฏว่ามีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์ส่วนกลางตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอาคารชุดและประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ดังนั้น จึงไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 16 ที่ห้ามมิให้แบ่งแยกทรัพย์ส่วนกลาง
เดิมจำเลยร่วมที่ 3 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึก 16 ชั้น เพื่อใช้พักอาศัยและจอดรถยนต์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 33746 และที่ดินพิพาท ขณะนั้นที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ ป. ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากกรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยร่วมที่ 3 ได้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารดังกล่าวเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยเป็นอาคารชุด โดยระบุว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 33745, 33746 และที่ดินพิพาท โดยจำเลยร่วมที่ 2 เป็นเจ้าของอาคารและเป็นผู้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 33745, 33746 และที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ต่อมาจำเลยร่วมที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนอาคารชุดและได้รับจดทะเบียนเป็นอาคารชุดเลขที่ 10/2538 หลังจากนั้นจึงมีการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดที่สำนักงานที่ดิน ดังนั้น ความเป็นนิติบุคคลอาคารชุดของจำเลย จึงเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการก่อสร้างอาคารชุดตึก 16 ชั้น เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเมื่อมีการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินส่วนกลาง จำเลยร่วมที่ 2 และที่ 3 มิได้ระบุลงไว้ในคำขอจดทะเบียนอาคารชุดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนกลางด้วย ภายหลังจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่ง เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จนกระทั่งมีการโอนที่ดินพิพาทรวมทั้งสิทธิการจำนองให้แก่กองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล และโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากกองทุน โดยขณะที่ซื้อโจทก์ทั้งสองเชื่อว่าอาคารนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยกับสาธารณูปโภคมิได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาท แต่เมื่อรังวัดตรวจสอบแล้วพบว่า สาธารณูปโภค ได้แก่ ท่อระบายน้ำเสีย ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้ารุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมมิใช่เป็นผู้สร้างท่อระบายน้ำเสีย ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้าในที่ดินพิพาท หากแต่จำเลยร่วมทั้งสามซึ่งเดิมเป็นเจ้าของที่ดินอาคารชุด และที่ดินพิพาทเป็นผู้ขออนุญาตให้สร้างสาธารณูปโภคดังกล่าวในที่ดินภายหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมา จึงทำให้ท่อระบายน้ำเสีย ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาคารชุดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาท กรณีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง และมิใช่การสร้างโรงเรือน หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้โดยตรง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 1314 วรรคแรก ซึ่งกำหนดให้นำบทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดินด้วย โดยโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างแต่ต้องใช้ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป เว้นแต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยให้ใช้เงินเป็นพอสมควร โจทก์ทั้งสองจะเรียกให้จำเลยซื้อที่ดินทั้งหมดก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาว่าท่อระบายน้ำเสีย ท่อระบายน้ำและระบบไฟฟ้าซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดหากให้มีการรื้อถอนย่อมจะก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดอย่างยิ่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกให้รื้อถอนไปได้ คงได้แต่เรียกให้จำเลยชดใช้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าทดแทนมาด้วย จึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685-3686/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รั้วและสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิให้รื้อถอนได้
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ด. ซึ่งบริษัท ด. ได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหา ด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหา ลงบนที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซื้ออาคารมาเมื่อปี 2525 และ 2536 ตามลำดับ แล้วต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินอาคารที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในการที่รั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. และบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับกับข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วคอนกรีต โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังนั้น ก็ไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ที่ดินของโจทก์ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมดังกล่าวออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง การคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 และความรับผิดในความเสียหาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง รั้วกำแพงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1314 ก็ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1312 มาบังคับ
เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรั้วอันเป็นการละเมิดโจทก์ทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสอง จะอ้างว่าได้ขายและส่งมอบที่ดินให้บุคคลภายนอกไปหมดแล้วมาเป็นข้อแก้ตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินและการชดใช้
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุง ถนนบนที่ดิน ที่ ส. อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน 4 ต้น โดยมีส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ที่ 1และที่ 3 ได้ โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหายแต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้ สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆ ซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลุกสร้างคดีนี้ เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาระจำยอมสงวนไว้สำหรับเจ้าของที่ดินเท่านั้น ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิฟ้อง
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ลักษณะ 4 ฉะนั้น ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมได้ต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อยู่ทางทิศเหนือของที่ดินจำเลย-ที่ 2 และที่ 1 โจทก์ไม่ใช่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองว่าที่ดินของจำเลยทั้งสองตกอยู่ในภาระจำยอมเกี่ยวกับทางเดินหรือทางรถยนต์ของที่ดินที่โจทก์ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเพิ่มของที่ดินจากผู้เช่า กรณีบังคับคดีจากที่ดินจำนอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยผิดนัดโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยซึ่งจำนองไว้กับโจทก์ ผู้ร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินดังกล่าวจากจำเลยแล้วปลูกต้นสนในที่ดินนั้นขอให้โจทก์ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ร้อง ดังนี้โจทก์เป็นเพียงผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งผู้ร้องปลูกต้นสนลงไว้ หากต้นสนเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว แม้ผู้ร้องปลูกต้นสนโดยสุจริต และค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน หามีสิทธิเรียกเอาจากโจทก์ไม่อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าที่ดินเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้เช่าปลูกต้นสนลงในที่ดินจากเจ้าหนี้ของเจ้าของที่ดิน นอกจากนี้โจทก์มิได้นำยึดต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินพิพาท จึงไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากผู้เช่า กรณีบังคับคดีจำนอง: ผู้ร้องต้องเรียกร้องจากเจ้าของที่ดิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยผิดนัดโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยซึ่งจำนองไว้กับโจทก์ ผู้ร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องเช่าที่ดินดังกล่าวจากจำเลยแล้วปลูกต้นสนในที่ดินนั้นขอให้โจทก์ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ร้อง ดังนี้โจทก์เป็นเพียงผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งผู้ร้องปลูกต้นสนลงไว้หากต้นสนเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว แม้ผู้ร้องปลูกต้นสนโดยสุจริต และค่าที่ดินเพิ่มขึ้นผู้ร้องก็ชอบที่จะเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหามีสิทธิเรียกเอาจากโจทก์ไม่อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าที่ดินเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะผู้เช่าปลูกต้นสนลงในที่ดินจากเจ้าหนี้ของเจ้าของที่ดินนอกจากนี้โจทก์มิได้นำยึดต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินพิพาทจึงไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องเกี่ยวกับต้นสนที่ผู้ร้องปลูกในที่ดินดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์บังคับคดีและการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกยึด สิทธิของผู้ยึดและผู้ครอบครอง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินรายพิพาทไว้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองจนกว่าจะบังคับคดีเสร็จสิ้นหรือมีการถอนการบังคับคดี ในระหว่างการยึดนั้นแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้เป็นเจ้าของก็ไม่อาจก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินรายพิพาทก็ไม่อาจอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะเป็นเหตุให้ที่ดินรายพิพาทหลุดพ้นไปจากการบังคับคดี
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดี ย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีและการครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยไม่สุจริต สิทธิของเจ้าหนี้และผู้ครอบครอง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินรายพิพาทไว้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองจนกว่าจะบังคับคดีเสร็จสิ้นหรือมีการถอนการบังคับคดี ในระหว่างการยึดนั้นแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้เป็นเจ้าของก็ไม่อาจก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินรายพิพาทก็ไม่อาจอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะเป็นเหตุให้ที่ดินรายพิพาทหลุดพ้นไปจากการบังคับคดี
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดีย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
of 3