คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดทรัพย์ในคดีฟอกเงิน: มาตรการทางแพ่งมีผลเหนือกว่าการบังคับคดีสามัญ
มาตรการทางแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มุ่งป้องปรามมิให้มีการนำทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป จึงมิใช่การดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป แม้ตามมาตรา 56 และ 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะบัญญัติให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาปรับใช้กับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องบัญชีเงินฝากของจำเลยไว้ก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีฟอกเงินจะมีคำสั่งให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่หากเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวได้ อาจทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่มีอยู่ จนไม่มีเหตุที่จะไต่สวนและมีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และหากต่อมาศาลในคดีฟอกเงินมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของจำเลยรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นต้นไป ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินตามมาตรา 53 ซึ่งบัญญัติถึงขั้นตอนในการดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญ ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีผลถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟอกเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ต้องระบุเจตนาพิเศษและความเสียหายให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ฟ้องโจทก์แยกบรรยายการกระทำซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดตามลำดับเหตุการณ์ที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์และปลอมลายมือชื่อโจทก์กับใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมกล่าวอ้างต่อผู้พิพากษา ฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาเป็นความผิดหลายกระทงซึ่งโจทก์รวมมาในฟ้องเดียวกันได้ เพียงแต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ซึ่งการบรรยายการกระทำทั้งหลายตามลำดับเหตุการณ์เป็นการแยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องแยกแต่ละกระทงเป็นข้อ ๆ ดังนั้น การที่ฟ้องโจทก์บรรยายข้อ 1 ข ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้พิพากษาหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยตามหนังสือมอบอำนาจปลอม จึงไม่ได้แยกต่างหากจากฟ้องข้อ 1 ก และเท่ากับฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการบรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำของจำเลยแล้ว และเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จึงไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจว่าเป็นเจตนาพิเศษของบุคคลอื่นนอกจากจำเลยไปได้ จำเลยย่อมเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีจัดการมรดกโดยไม่มีข้อพิพาท และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการโต้แย้งพินัยกรรม
คำร้องของผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้ามิได้อ้างว่าการที่ศาลมิได้สั่งให้ผู้ร้องทั้งสองส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างพินัยกรรมและมติของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม ตามคำร้องขอดังกล่าวมิได้ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือส่วนได้เสียของบุคคลที่สาม แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองจำเป็นจะใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งผู้ร้องทั้งสองได้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 โดยเริ่มคดีด้วยการยื่นคำร้องขอ ซึ่งในการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ป.วิ.พ. ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด ผู้มีส่วนได้เสียทั้งห้าชอบที่จะร้องว่าผู้ร้องทั้งสองนำพินัยกรรมที่เป็นโมฆะมาร้องขอจัดการมรดกและมีเหตุที่ผู้ร้องทั้งสองไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก มิใช่ดำเนินคดีด้วยการขอเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย, การครอบครองเพื่อตนเอง, และผลกระทบต่อการจดทะเบียน
ที่ดินพิพาทมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 535 จึงมีเพียงสิทธิครอบครอง ส. เป็นผู้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส. จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 และมีสิทธิขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองแก่โจทก์ได้ การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 535 มีชื่อ อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ส่วนความเป็นจริงผู้ใดจะมีสิทธิครอบครองต้องพิจารณาว่าผู้ใดเข้ายึดถือครอบครอง อ.ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง ไม่อาจขายที่ดินพิพาทแก่กระทรวงการคลังได้ และการที่กระทรวงการคลังจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองทำประโยชน์มาเป็นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน มิได้มีการเข้าครอบครองยึดถือที่ดินเพื่อตนตามความเป็นจริง แม้จำเลยที่ 1 เป็นสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุและให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แตกต่างจากเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 การที่จำเลยที่ 1 โดยกระทรวงการคลังจัดซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนา แต่มีเหตุบรรเทาโทษทางอาญาจากบันดาลโทสะ และประเด็นดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ทำให้ดอกเบี้ยผิดนัดของค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นหนี้เงินที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ต้องปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ดังนี้ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์หลอกลวงประชาชนให้เล่นหวยโดยอ้างว่าเป็นเลขจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเข้าข่ายความผิดฐานพยายามฉ้อโกง
จำเลยทำใบปลิวโฆษณาชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาเล่นหวย (สลากกินรวบ) โดยให้ติดต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุในใบปลิวเพื่อขอรับเลข ซึ่งอ้างว่าได้มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หากถูกรางวัลจำเลยขอค่าตอบแทน 10,000 บาท โดยจำเลยไม่มีเลขที่ได้มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่จำเลยมีเจตนาหลอกลวงเอาเงินจากประชาชนทั่วไปที่ได้รับใบปลิวของจำเลยมาแต่ต้น การที่มีประชาชนโทรศัพท์หาจำเลยและจำเลยแจ้งเลขซึ่งไม่ได้มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มิใช่การให้หรือตอบแทนสิ่งใดแก่ประชาชน จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยลงมือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนแล้ว แต่ประชาชนที่ถูกจำเลยหลอกลวงตรวจสอบพบว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงมิได้หลงเชื่อตามที่ถูกหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามกระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัตรเครดิต: การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายทำให้อายุความสะดุดหยุดนับใหม่ได้
จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558 อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับจากวันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้บัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรเสริมจึงต้องรับผิดซำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรเสริมในการซื้อสินค้าและบริการพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
of 18