พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,272 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม: การแยกพิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยปลอมใบรับคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ ต่อมาจำเลยใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ ลงในแบบข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศอันเป็นเอกสารราชการ และในวันเดียวกันหลังจากจำเลย ใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ดังกล่าวแล้ว จำเลยปลอมหนังสือข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางอันเป็นเอกสารราชการ การปลอมเอกสารราชการ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัว โดยแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ เพียงแต่เมื่อจำเลยนำเอกสารราชการปลอมฉบับแรกไปใช้และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ จำเลยมีเจตนาเดียวคือให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อในความถูกต้องแท้จริง ของเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว และจำเลยยังต้องมีความผิดฐานปลอมหนังสือข้อมูลผู้ขอหนังสือเดินทางอันเป็นเอกสารราชการ อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดต้องมีเจตนาสร้างอันตรายร้ายแรง จึงถือเป็นผลิตตามกฎหมาย และการริบของกลางต้องเชื่อมโยงกับความผิดที่ฟ้อง
การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคม อย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคม อย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งการที่จำเลยร่วมกันตัดหลอดกาแฟและกรอกเฮโรอีนของกลาง อาจเป็นการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพ ของตนก็เป็นได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผลิตเฮโรอีน
โจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางจำเลยจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดีที่โจทก์ฟ้อง หากศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมมีผลเป็นการพิพากษาเกินไปจากหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางดังกล่าวได้
(วรรคแรกและวรรคสองวินิจฉัยโดยมติประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2544)
(ตัดสินก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545)
ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคม อย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งการที่จำเลยร่วมกันตัดหลอดกาแฟและกรอกเฮโรอีนของกลาง อาจเป็นการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพ ของตนก็เป็นได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผลิตเฮโรอีน
โจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางจำเลยจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดีที่โจทก์ฟ้อง หากศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมมีผลเป็นการพิพากษาเกินไปจากหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางดังกล่าวได้
(วรรคแรกและวรรคสองวินิจฉัยโดยมติประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2544)
(ตัดสินก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์จากผู้เช่าหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างติดกับตึก
โจทก์ร่วมและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องขับไล่จำเลยจากตึกแถวพิพาท โดยจำเลยตกลงยกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่อง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมต่อมาเมื่อโจทก์ร่วมได้เลือกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่องแล้วเครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้รื้อเอาไม้กั้นห้อง บานประตู และเครื่องปรับอากาศสองเครื่องดังกล่าวไปจากตึกแถวพิพาท จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ส่วนที่จำเลยรื้อไม้กั้นห้องและเครื่องปรับอากาศออกไปเป็นเหตุให้ฝาผนังตึกเป็นรอย กระจกและเสาแตกนั้น จำเลยมีความประสงค์ในทรัพย์ซึ่งติดตั้งอยู่กับตึกจึงต้องรื้อออกไป การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับผนังตึกย่อมทำให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ ขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพแตกร้าวตามที่ปรากฏในภาพถ่ายนั้นมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ส่วนที่จำเลยรื้อไม้กั้นห้องและเครื่องปรับอากาศออกไปเป็นเหตุให้ฝาผนังตึกเป็นรอย กระจกและเสาแตกนั้น จำเลยมีความประสงค์ในทรัพย์ซึ่งติดตั้งอยู่กับตึกจึงต้องรื้อออกไป การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับผนังตึกย่อมทำให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ ขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพแตกร้าวตามที่ปรากฏในภาพถ่ายนั้นมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชาโดยผู้รับจ้างขนส่ง: เจตนาและองค์ประกอบความผิด
จำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้าง ส. ขนกัญชาไปมอบให้แก่ผู้ที่ล่อซื้อเท่านั้น จำเลยมิได้มีเจตนายึดถือกัญชาไว้เพื่อตน การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การที่จำเลยส่งมอบกัญชาให้แก่ผู้ที่ ล่อซื้อเป็นความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปัญญาอ่อน ตัดต้นไม้โดยไม่รู้ผิด การกระทำจึงไม่มีความผิดเพราะขาดเจตนา
จำเลยปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้หวงห้ามเป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปัญญาอ่อน ตัดต้นไม้โดยไม่รู้ผิด การขาดเจตนาทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยปฏิเสธตลอดมาว่า จำเลยมีความพิการทางสมอง ไม่อาจรู้ได้ว่าการกระทำของตนเป็นความผิดดังนั้นปัญหาว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง หรือไม่นั้น ศาลต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาซึ่งได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดในทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 59 หรือไม่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยเป็นบุคคล ปัญญาอ่อนที่ถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้เป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดเพราะขาดเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อระงับเหตุ และการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
พฤติการณ์ของจำเลยที่พยายามช่วยเหลือ ถ. ซึ่งถูกกลุ่มวัยรุ่นตีศีรษะด้วยขวดสุราและรุมทำร้ายในบ้านของจำเลยโดยจำเลยใช้อาวุธปืนยิงขู่ขึ้นฟ้า 3 นัด และขณะนั้นจำเลยถืออาวุธปืนขู่พร้อมที่จะยิงขึ้นฟ้าอีกเพื่อระงับเหตุมิให้กลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้าย ถ. แต่จำเลยถูกกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังจนเป็นเหตุให้ล้มลง และกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ได้ลั่นขึ้น 1 นัด ถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้ การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหายและผู้ตายโดยพลาดตาม ป.อ. มาตรา 60 จำเลยก็ไม่มีความผิดเพราะ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 มิใช่จำเลยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย อาวุธปืนของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่อาจริบได้
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย อาวุธปืนของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: ศาลฎีกายกเหตุเจตนาเดียวกันในการทำร้ายผู้เสียหายหลายคน ลดโทษตามคำรับสารภาพ
ชั้นพิจารณา จำเลยมิได้นำสืบปฏิเสธความถูกต้องของบันทึการจับกุมเมื่อฟังได้ว่า ชั้นจับกุมจำเลยได้ให้การรับสารภาพตามบันทึกการจับกุมจริง จึงใช้ยันจำเลยได้ หากจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์มิได้กระทำความผิดที่ถูกกล่าวหา ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเช่นนั้น
การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่พักในคืนเกิดเหตุเป็นข้อพิรุธที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง
ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยใช้ขวานฟันเป็นบาดแผลที่ศีรษะส่วนบนด้านหลังยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะและกะโหลกศีรษะร้าว ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกฟันเป็นบาดแผลที่ขมับแถบซ้ายจดโหนกแก้มแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะ ที่ศีรษะด้านหน้าแถบซ้ายจดเหนือคิ้วซ้ายแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกจดเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะแถบซ้ายแตกยุบ สมองฉีกขาด กลางต้นแขนซ้ายแผลยาว2 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ และเหนือข้อศอกขวาแผลยาว3 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสองได้รับดังกล่าว หากแพทย์รักษาไม่ทันหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ชีวิตได้ และจากลักษณะบาดแผลดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยได้ใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอย่างแรง สำหรับขวานที่จำเลยใช้ฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองเป็นขวานที่ใช้ในงานช่างไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ขวานดังกล่าวเป็นขวานขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นอาวุธทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย การที่จำเลยใช้ขวานดังกล่าวเลือกฟันที่ศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตามเพราะแพทย์ช่วยรักษาผู้เสียหายทั้งสองไว้ได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมาเป็นความผิดสองกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมมาฟังประกอบการลงโทษจำเลย คดีจึงมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขลดโทษให้จำเลยบางส่วนด้วย
การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่พักในคืนเกิดเหตุเป็นข้อพิรุธที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง
ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยใช้ขวานฟันเป็นบาดแผลที่ศีรษะส่วนบนด้านหลังยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะและกะโหลกศีรษะร้าว ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกฟันเป็นบาดแผลที่ขมับแถบซ้ายจดโหนกแก้มแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะ ที่ศีรษะด้านหน้าแถบซ้ายจดเหนือคิ้วซ้ายแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกจดเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะแถบซ้ายแตกยุบ สมองฉีกขาด กลางต้นแขนซ้ายแผลยาว2 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ และเหนือข้อศอกขวาแผลยาว3 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสองได้รับดังกล่าว หากแพทย์รักษาไม่ทันหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ชีวิตได้ และจากลักษณะบาดแผลดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยได้ใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอย่างแรง สำหรับขวานที่จำเลยใช้ฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองเป็นขวานที่ใช้ในงานช่างไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ขวานดังกล่าวเป็นขวานขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นอาวุธทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย การที่จำเลยใช้ขวานดังกล่าวเลือกฟันที่ศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตามเพราะแพทย์ช่วยรักษาผู้เสียหายทั้งสองไว้ได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมาเป็นความผิดสองกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมมาฟังประกอบการลงโทษจำเลย คดีจึงมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขลดโทษให้จำเลยบางส่วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเลื่อยโซ่ที่ถูกริบและนำออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต แต่เลื่อยโซ่ยังคงเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ เกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดนี้ ของต้องห้ามดังกล่าวได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามการนำเข้าหรือส่งออกไว้
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ