พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,272 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้เคียวป้องกันตัวจากภรรยาที่ทำร้ายร่างกาย
ผู้ตายกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี มีบุตรด้วยกัน 5 คน มีความสัมพันธ์รักใคร่ผูกพันซึ่งกันและกันแม้จะมีปากเสียงทะเลาะกันบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาระหว่างสามีภริยา เหตุที่จำเลยใช้เคียวฟันผู้ตายก็เนื่องจากถูกผู้ตายถีบและเตะซึ่งถือเป็นเหตุเล็กน้อย กรณีไม่ใช่เหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องฆ่ากัน จำเลยฟันผู้ตายเพียงครั้งเดียว การที่เคียวถูกที่ลำคอผู้ตายเป็นเรื่องบังเอิญ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้ การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมาก การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีก ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.อ.มาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้ การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมาก การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีก ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.อ.มาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตายระหว่างสามีภริยา
ผู้ตายกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี มีบุตรด้วยกัน 5 คน มีความสัมพันธ์รักใคร่ผูกพันซึ่งกันและกันแม้จะมีปากเสียงทะเลาะกันบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาระหว่างสามีภริยา เหตุที่จำเลยใช้เคียวฟันผู้ตายก็เนื่องจากถูกผู้ตายถีบและเตะซึ่งถือเป็นเหตุเล็กน้อย กรณีไม่ใช่เหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องฆ่ากัน จำเลยฟันผู้ตายเพียงครั้งเดียวการที่เคียวถูกที่ลำคอผู้ตายเป็นเรื่องบังเอิญ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้ เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยแม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมากการที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีกก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้ เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยแม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมากการที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีกก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อาวุธปืนป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยยิง ด. ด้วยอาวุธปืนลูกซองสั้นของกลาง โดยอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้นขนาด 12 ซึ่งเป็นขนาดที่มีลำกล้องใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบันแต่เป็นอาวุธปืนที่ประกอบขึ้นเอง ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความแม่นยำ กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นกระสุนลูกปรายยิงนัดเดียวถูกหลายคนหลายที่ และเม็ดลูกปรายมีขนาดใหญ่สามารถทำให้กระดูกของผู้เสียหายคนหนึ่งที่ถูกยิงถึงกับแตกและหักได้ ผู้เสียหายทั้งสามอยู่ห่างจำเลยออกไปไกลพอสมควร ในระยะที่เม็ดกระสุนลูกปรายกระจายตัวขยายวิถีกระสุนบานออกไปแล้ว ระยะยิงน่าจะห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตรขึ้นไป หากจำเลยเพียงแต่ใช้อาวุธปืนขู่และห้าม ด.ไม่ให้เข้ามาหรือยิงขู่น่าจะเพียงพอที่จะยับยั้ง ด.ให้เกรงกลัวและหลบหนีไป แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นขนาดใหญ่ที่มีอานุภาพประหัตประหารแต่ควบคุมวิถีกระสุนไม่ได้ยิงสาดใส่เข้าไปในทิศทางที่มิได้มีแต่ ด. ที่จะเข้ามาทำร้ายจำเลยคนเดียว จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การที่จำเลยยิงเข้าใส่กลุ่มคนต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น เพราะย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำอยู่แล้วว่า อาจทำให้ทุกคนที่ถูกกระสุนลูกปรายดังกล่าวถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสามไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสมณเพศโดยเจ้าพนักงานตำรวจและการขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่งหรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้อีกกรณีหนึ่ง ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึกแต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจและจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6456/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงต้องมีเจตนาหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริง จำเลยไม่มีหน้าที่แจ้งประวัติรถ
++ เรื่อง ฉ้อโกง (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ++
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้น ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 มีวัตุประสงค์ในการรับจ้างซ่อมแซมรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่เพียงจัดการซ่อมแซมรถยนต์ที่โจทก์นำไปซ่อมกับจำเลยที่ 3ให้ใช้การได้ดีและปลอดภัยเท่านั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่ารถยนต์คันที่โจทก์นำไปซ่อมเจ้าของเดิมไม่ยอมซ่อมเพราะราคาสูง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้น ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 มีวัตุประสงค์ในการรับจ้างซ่อมแซมรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่เพียงจัดการซ่อมแซมรถยนต์ที่โจทก์นำไปซ่อมกับจำเลยที่ 3ให้ใช้การได้ดีและปลอดภัยเท่านั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่ารถยนต์คันที่โจทก์นำไปซ่อมเจ้าของเดิมไม่ยอมซ่อมเพราะราคาสูง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5823/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า: สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุยกฟ้อง
โจทก์ทำสัญญายินยอมให้ ก. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของ ก. ได้ กับยอมให้ ก. ดำเนินการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังที่ระบุไว้ในสัญญาได้ทันที โจทก์ยอมให้ ก. โอนสิทธิตามสัญญาให้จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นได้และยินยอมให้ ก. ให้บุคคลอื่นร่วมใช้สิทธิตามสัญญาได้ ส่วน ก. ยอมรับลูกจ้างของโจทก์ 274 คน เข้าทำงานในบริษัทของจำเลยที่ 1 ต่อไปโดยไม่ต้องปลดออก แสดงว่าโจทก์ให้ความยินยอมแก่ ก. ตลอดจนจำเลยที่ 1 ให้ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อและหัวหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการอาศัยสิทธิตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงและทำร้ายต่อเนื่อง ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการพยายามฆ่า
บริเวณที่ผู้เสียหายถูกแทงอยู่ที่หน้าอกด้านซ้ายลึกประมาณ 3 ถึง 4เซนติเมตร ถ้าหากถูกแทงแรงกว่านี้ อาจจะทำให้ถึงแก่ความตายเนื่องจาก ทะลุหัวใจ แม้อาวุธมีดของกลางจะเป็นมีดขนาดเล็กที่ใช้ปลอกผลไม้ แต่ก็มีความยาวเฉพาะใบมีดถึง 11 เซนติเมตร กว้าง 1.7 เซนติเมตร และมีความแหลมพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ เมื่อจำเลย แทงผู้เสียหายบริเวณอวัยวะสำคัญจนมีดหัก แสดงว่า แทงโดยแรงแล้ว ยังได้ใช้ขวดสุราและขวดน้ำตีที่ศีรษะผู้เสียหายอีกหลายครั้ง ส่องแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายมิใช่เพียงเจตนาทำร้าย เมื่อการกระทำของ จำเลยไม่บรรลุผลจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากพฤติการณ์และบาดแผล
จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหาย 2 ครั้ง ขณะผู้เสียหายอยู่ในมุ้งแล้วไม่ได้ฟันซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่แขนและใบหูไม่ถึงสาหัส การที่มีบาดแผลเพียงใบหูเกือบขาด แสดงว่าคมมีดถูกศีรษะผู้เสียหายไม่แรงส่วนที่มีมุ้งกีดขวาง ก็เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนจำเลยลงมือกระทำ หาใช่เหตุขัดขวางที่เกิดขึ้นภายหลังลงมือกระทำ พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการี แม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 296 ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการี แม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 296 ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการทำร้ายร่างกายบุพการี: ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และบาดแผลเพื่อวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหาย 2 ครั้ง ขณะผู้เสียหายอยู่ในมุ้งแล้วไม่ได้ฟันซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่แขนและใบหูไม่ถึงสาหัส การที่มีบาดแผลเพียงใบหูเกือบขาด แสดงว่าคมมีดถูกศีรษะผู้เสียหายไม่แรงส่วนที่มีมุ้งกีดขวาง ก็เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนจำเลยลงมือกระทำหาใช่เหตุขัดขวางที่เกิดขึ้นภายหลังลงมือกระทำ พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการีแม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการีแม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการข่มขืนกระทำชำเราจนผู้ตายตกจากที่สูง
จำเลยถอดกางเกงเดินเข้าไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกงและยืนพิงลูกกรงระเบียงอาคารซึ่งสูงเพียงระดับสะโพก โดยผู้ตายมิได้ยินยอม จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้ตายหลบหลีกขัดขืนมิให้ข่มขืนกระทำชำเราแล้วอาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคารถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายดิ้นรนขัดขืนเพื่อมิให้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคารจนได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย