พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,272 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาปลอมเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์เจตนาของกรรมการบริษัทและผลต่อความรับผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกปลอมเครื่องหมายการค้า (RELY) ของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนากระทำผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 4 ได้แสดงออกต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้เข้าร่วมทุนจัดตั้งบริษัทกับจำเลยที่ 4 ว่าเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิใช้ เครื่องหมายการค้า (RELY) และจะนำมาร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นมาผลิตสินค้าจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว แม้จำเลยที่ 4 มิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า (RELY) ก็ตามแต่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในห้างหุ้นส่วนจำกัดที่โจทก์และจำเลยที่ 4 ร่วมเข้าหุ้นจัดตั้งขึ้นมาและได้ผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายตลอดมา พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลทั่วไปรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า (RELY) นี้ ทั้งเมื่อภายหลังจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบว่า เครื่องหมายการค้า (RELY) เป็นของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการ คนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงนั้น การกระทำของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนา อันจะเป็นมูลความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า และจำหน่ายเครื่องหมายการค้าปลอมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิดทางอาญาในคดีปลอมเครื่องหมายการค้า: การที่กรรมการคนเดียวทราบข้อเท็จจริงไม่ถือว่านิติบุคคลทราบ
แม้ความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคลก็ตาม แต่กรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลกฎหมายกำหนดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 71 และปรากฏตามหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการบริษัทโดยการกระทำให้มีผลผูกพันบริษัท ต้องมีกรรมการสองในห้าคนนี้ลงชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัท และในบรรดากรรมการดังกล่าวมีเพียงจำเลยที่ 4 ที่รู้ข้อเท็จจริงว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 กลับปกปิดไว้โดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้านี้เป็นของตนมาแต่แรก จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัทร่วมกับจำเลยที่ 4 ไม่รู้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 4 กรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งโดยลำพังไม่มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์ ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนาอันจะเป็นมูลความผิดทางอาญาฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณะ - เจตนา - ความสุจริต - การอนุญาตที่ไม่ชอบ - การนำสืบพยาน
พยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เมื่อจำเลยเข้าครอบครอง ที่ดินพิพาทโดยสุจริต เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ จำเลยจึงขาดเจตนา ในการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ
พ. รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ทำขึ้นสำเนาเอกสารที่ พ. ซึ่งเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ในภายหลังได้ส่งมาตามหมายเรียกของศาล โดยมีนักวิชาการป่าไม้ 6 กองอุทยานแห่งชาติรับรองสำเนาถูกต้องจึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคสอง แม้ พ. มิได้มาเบิกความก็ตาม
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้นมีอำนาจโดยชอบในการที่จะอนุญาตให้สร้างบังกะโลบนเกาะเสม็ดได้จำเลยจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
พ. รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ทำขึ้นสำเนาเอกสารที่ พ. ซึ่งเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ในภายหลังได้ส่งมาตามหมายเรียกของศาล โดยมีนักวิชาการป่าไม้ 6 กองอุทยานแห่งชาติรับรองสำเนาถูกต้องจึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคสอง แม้ พ. มิได้มาเบิกความก็ตาม
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้นมีอำนาจโดยชอบในการที่จะอนุญาตให้สร้างบังกะโลบนเกาะเสม็ดได้จำเลยจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนา/จงใจในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยถูกต้องเมื่อพิจารณาว่าโจทก์ไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
การกระทำโดยเจตนาในทางอาญาและการกระทำโดยจงใจในทางแพ่งมีความหมายทำนองเดียวกัน กล่าวคือ การกระทำโดยเจตนาในทางอาญา หมายถึงการกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ส่วนการกระทำโดยจงใจในทางแพ่ง หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนหรืออีกนัยหนึ่งคือ กระทำโดยรู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น อันมีความหมายกว้างกว่าการกระทำโดยเจตนาในทางอาญา การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในคดีนี้ว่า ข้อเท็จจริงรับฟัง ได้แต่เพียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้สอบถามและแสดงกิริยาในลักษณะไม่นอบน้อมอย่างเพียงพอต่อ ป. ลูกค้าของโรงแรมของจำเลยที่ 1 ทำให้ ป. ไม่พอใจตัวโจทก์ ซึ่งไม่ปรากฏโจทก์กระทำไปโดยเจตนาจะให้เกิดความเสียหายแก่โรงแรมของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์จงใจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางนำเอาข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติแล้วมาปรับข้อกฎหมาย โดยหยิบยกเอาการกระทำของโจทก์ว่าไม่มีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงแรมของจำเลยที่ 1 มาเป็นเหตุผลประกอบในการวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จงใจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายเท่านั้น มิได้วินิจฉัยคดีโดยการนำเรื่องเจตนาในทางอาญามาปรับใช้แก่คดีแรงงาน คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ (ป.อ.มาตรา 157) ต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหาย
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามป.อ.มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ได้ลงลายมือชื่อออก น.ส.3 ก. ระบุชื่อ ต.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอ โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต.หรือผู้หนึ่งผู้ใดจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามป.อ.มาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ได้ลงลายมือชื่อออก น.ส.3 ก. ระบุชื่อ ต.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอ โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้นไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมที่ดิน ต.หรือผู้หนึ่งผู้ใดจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.157 ต้องมีเจตนาพิเศษทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น การละเว้นหน้าที่โดยไม่มีเจตนาพิเศษ ไม่ถือเป็นความผิด
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ได้ลงลายมือชื่อออก น.ส.3 ก. ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอ โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้น ไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่กรมที่ดิน ต. หรือผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ได้ลงลายมือชื่อออก น.ส.3 ก. ระบุชื่อ ต. เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองตามเรื่องราวเท็จ เอกสารปลอมที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำเสนอ โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษละเว้น ไม่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่กรมที่ดิน ต. หรือผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายร่างกายส่วนสำคัญของร่างกายจนอาจถึงแก่ชีวิต
ผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดที่ด้านซ้ายของคอขนาดยาว 7 เซนติเมตรลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อคอและเส้นเลือดข้างคอ ตัดเส้นประสาทและกล้ามเนื้อข้างคอหลายมัด แพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความว่าหากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเสียเลือดและช็อคถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะบาดแผลที่ผู้เสียหายถูกฟัน ที่คอ แม้จะไม่ได้ความชัดว่าอาวุธที่ใช้ฟันดังกล่าวเป็นมีดหรือขวานก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้อาวุธดังกล่าวฟันไปที่คอของผู้เสียหายอันเป็น ส่วนสำคัญของร่างกายจนได้รับบาดแผลฉกรรจ์ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา โดยทันทีแล้วผู้เสียหายจะถึงแก่ความตาย ฟังได้ว่าจำเลยกับพวกกระทำการ ดังกล่าวโดยมีเจตนาฆ่า เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายด้วยอาวุธมีด การพิสูจน์เจตนา และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดของกลางฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยยังไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนนอกหน่วยงานช่วงลาพักผ่อน ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำเลยนำอาวุธปืนเล็กกลซึ่งมีไว้ในราชการและนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้พร้อมด้วยเครื่องกระสุนปืนของกลางออกไปนอกหน่วยที่ตั้งซึ่งจำเลยประจำการอยู่ ติดตัวไปเป็นเวลาหลายวันโดยจะต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลออกไปต่างจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยในการยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้เพื่อตนโดยมุ่งหวังจะใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนนั้นในทางก่อประโยชน์แก่ตนตลอดระยะเวลาดังกล่าว มิใช่เป็นการมีหรือใช้ในราชการเนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการลาพักผ่อนของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 55,78 วรรคหนึ่ง และมิได้รับยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถืออาวุธปืนราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
จำเลยนำอาวุธปืนเล็กกลซึ่งมีไว้ในราชการและนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้พร้อมด้วยเครื่องกระสุนปืนของกลางออกไปนอกหน่วยที่ตั้งซึ่งจำเลยประจำการอยู่ ติดตัวไปเป็นเวลาหลายวันโดยจะต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลออกไปต่างจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยในการยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้เพื่อตนโดยมุ่งหวังจะใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนนั้นในทางก่อประโยชน์แก่ตนตลอดระยะเวลาดังกล่าว มิใช่เป็นการมีหรือใช้ในราชการเนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการลาพักผ่อนของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง และมิได้รับยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 5