คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 186 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีอาญาต้องใช้ดุลพินิจตามพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ยึดข้อเท็จจริงจากคดีก่อน และความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ไม่ แม้โจทก์ทั้งสามกับบริษัท ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จะเป็นคู่ความเดียวกันและพยานหลักฐานของจำเลยจะเป็นชุดเดียวกันกับจำเลยเคยอ้างและนำสืบในคดีอาญาก่อนมาแล้วก็ตาม เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง จะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคดีนี้โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาก่อนซึ่งถึงที่สุด โดยมิได้วินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และมาตรา 227 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาต้องวินิจฉัยประเด็นตามฟ้องครบถ้วนและมีเหตุผลรองรับ หากไม่ทำถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาต้องมีข้อสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ โดยวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องทุกข้อ กล่าวคือ ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ตรวจสอบบัญชีรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจนับคะแนน รายงานผลการนับคะแนน และประกาศผลนับคะแนนตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อรับรองรายงานผลการเลือกตั้งอันเป็นความเท็จ และเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในส่วนวินิจฉัยคดีเพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกนำบัตรเลือกตั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการตรวจคะแนน 312 ใบ มาทำเครื่องหมายแล้วใส่ลงในหีบ แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยที่มิได้วินิจฉัยประเด็นตามฟ้องให้ครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น ทั้งมิได้วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ และเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และ (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท การแสดงความเห็นโดยสุจริต และความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่าอย่างไร และว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตนั้น มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและตามทางไต่สวนมูลฟ้องที่โจทก์นำสืบ คำสั่งดังกล่าวจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(5)แล้ว
คำบรรยายฟ้องของโจทก์ที่แสดงถ้อยคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการกองสารวัตรอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยละเอียด ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดของจำเลยดำเนินการเกี่ยวแก่การโฆษณาขายรองเท้าสุขภาพของโจทก์ไปแล้วประการใดและมีความเห็นว่าการโฆษณาของโจทก์เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติยาเป็นประการใดโดยฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งได้กระทำไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยสั่งว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิด ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ปรากฏเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(6) แล้ว.
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ หากเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ หาเป็นการก้าวล่วงผิดกระบวนพิจารณาไม่
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และฎีกาว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานในสำนวนซึ่งศาลชั้นต้นก็มิได้ฟังฝ่าฝืน ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 โจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาอีกหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เพียงแต่เป็น'เจ้าของหนังสือพิมพ์' แต่มิได้กระทำการอันใด ซึ่งย่อมหมายความได้ว่าจำเลยที่ 4 มิได้จัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์ตามบทนิยามของคำว่า 'ผู้พิมพ์' ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ 2484 มาตรา4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิใช่ 'ผู้พิมพ์' ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่4 จึงไม่มีมูลที่จะประทับฟ้องไว้พิจารณาในความผิดตาม มาตรา48 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาอื่น แม้มีมูลเหตุเกี่ยวข้องกัน ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนตัวเอง
คดีอาญามิได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งได้ชี้ขาดไว้มาเป็นหลักในการวินิจฉัย แม้คดีทั้งสองนั้นจะมีมูลกรณีเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา
แต่เดิมโจทก์ฟ้องคดีอาญาว่า จำเลยโกงเจ้าหนี้โดยจำเลยกู้เงินโจทก์ไปหนี้ยังไม่ได้ชำระก็โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น ศาลเห็นว่าจำเลยได้กู้เงินและยังไม่ได้ชำระจริงดังฟ้อง แต่โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ การที่จำเลยโอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องในทางแพ่งให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยต่างอ้างพยานหลักฐานในคดีอาญา แล้วไม่สืบพยาน ศาลฎีกาเห็นว่าในการพิจารณาคดีอาญานั้น ศาลได้หยิบยกประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยก่อนแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้องแล้วจึงวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคดีอาญา เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยชำระเงินกู้และดอกเบี้ยรายเดียวกันนี้ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ยังคงค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุด
แต่เดิมโจทก์ฟ้องคดีอาญาว่าจำเลยโกงเจ้าหนี้โดยจำเลยกู้เงินโจทก์ไป หนี้ยังไม่ได้ชำระก็โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น ศาลเห็นว่าจำเลยได้กู้เงินและยังไม่ได้ชำระจริงดังฟ้อง แต่โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ การที่จำเลยโอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องในทางแพ่งให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยต่างอ้างพยานหลักฐานในคดีอาญา แล้วไม่สืบพยาน ศาลฎีกาเห็นว่าในการพิจารณาคดีอาญานั้น ศาลได้หยิบยกประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยก่อน แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์และค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้อง แล้วจึงวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโกงเจ้าหนี้หรือไม่ ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคดีอาญา เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยชำระเงินกู้และดอกเบี้ยรายเดียวกันนี้ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีแพ่งนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ยังคงค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามฟ้อง