พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20898/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการขอริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด ผู้ร้องยื่นคำร้องเกินกำหนด 1 ปี นับจากวันศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง และทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น โดยจะยื่นคำร้องไปพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใด ๆ ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ได้ แต่ถ้ามีเหตุสมควรแสดงได้ว่าไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จะยื่นคำร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ได้ เว้นแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง" ซึ่งเท่ากับว่าอย่างช้าที่สุด ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
คดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา คดีของผู้ร้องจึงขาดอายุความ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบทรัพย์สินตามคำร้องของผู้ร้องมานั้นจึงไม่ชอบ
คดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา คดีของผู้ร้องจึงขาดอายุความ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบทรัพย์สินตามคำร้องของผู้ร้องมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 27-28/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องริบทรัพย์สินยาเสพติด: ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.มาตรการยาเสพติด กับ พ.ร.บ.ฟอกเงิน
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีเงื่อนไขสำคัญคือ หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องในคดีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและคดีถึงที่สุดเสียแล้ว พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเช่นว่าตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ส่วนอำนาจของพนักงานอัยการในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือความผิดมูลฐานอื่นตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 นั้น เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการแล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือความผิดมูลฐานอื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และมาตรา 51 วรรคหนึ่ง โดยมิพักต้องพิจารณาว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าวต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือความผิดมูลฐานอื่นหรือไม่