พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนฯ เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ มาตรา 14 และมาตรา 16 กฎหมายมิได้กำหนดเกี่ยวกับการโอนหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 16 ไว้ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตจึงไม่สามารถโอนสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้ผู้อื่นได้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำสวนปาล์มน้ำมันในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตจะเปลี่ยนแปลงฐานะผู้ได้รับอนุญาตจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน เป็นการเปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาตหรือการโอนสิทธิตามที่ได้รับอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง จึงไม่สามารถกระทำได้ ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อตกลงเพิ่มเติมในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ดำเนินมาภายหลังคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ครอบครองก่อนประกาศเป็นเขตป่าสงวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่า ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2510) ออกตามความใน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ทับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ แม้ว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับที่ 239 ดังกล่าว จะได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เมื่อได้มีกฎกระทรวงประกาศกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ โจทก์หรือบิดาโจทก์จึงหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และแม้โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ แต่การได้รับอนุญาตดังกล่าวก็มีผลให้โจทก์หรือบิดาโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิดังกล่าวในที่ดินพิพาทและโจทก์หรือบิดาโจทก์ก็ไม่อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต การฟ้องร้องหน่วยงานรัฐด้วยสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต สทก.1 มีกำหนดระยะเวลา5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2527 ถึง 1 ตุลาคม 2532 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี 2533 อันเป็นเวลาหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาต สทก.1 ของโจทก์ สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 16 ประกอบมาตรา 14 ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเอง ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1