พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: คำร้องซ้ำหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ถือสิ้นสุดสิทธิ
คำร้องของจำเลยลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ที่ขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วและเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากคำร้องแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วโดยไม่จำต้องไต่สวน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และทำความเห็นพร้อมส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งการจะงดการไต่สวนหรือทำการไต่สวนไปเป็นอำนาจโดยทั่วไปของศาลชั้นต้นหากเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว โดยพิจารณาเพียงจากคำร้องของจำเลย ศาลชั้นต้นก็อาจสั่งให้งดการไต่สวนได้ การดำเนินการในส่วนนี้ของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้มีคำวินิจฉัยไปโดยมิได้มีคำสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนแต่อย่างใด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้อย่างแจ้งชัดว่าคำร้องของจำเลยอ้างแต่เพียงว่ามี ม. ประจักษ์พยาน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ที่รู้เห็นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจำเลยจึงมิได้นำ ม. มาพิสูจน์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้วหรือไม่ เมื่อคำร้องมิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี คำร้องของจำเลยจึงไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องแล้ว โดยฟังว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟังว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันควรให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ซึ่งตามพ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น และในวรรคสองบัญญัติว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่สั่งว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลและให้ยกคำร้อง จึงถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุด ไม่อาจดำเนินการใดต่อไปได้อีก เนื่องจากมาตรา 18 ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่า คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ฉบับลงวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6322-6323/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยจากคดีก่อนหน้าที่มีโทษรอการลงโทษ และการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีข้อผิดหลง
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 8 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องนั้น มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสองบัญญัติว่า "คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 อ้างว่า คดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษจำคุก จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ได้ มิใช่เป็นพยานหลักฐานใหม่อันขัดแย้งและสำคัญแก่คดีไม่ เหตุตามคำร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5 (1) (2) (3) แล้วพิพากษายกคำร้อง เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องของจำเลยที่ 2 ไม่มีมูล คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นที่สุด ตามมาตรา 10 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีรื้อฟื้นคดีอาญาถือเป็นที่สุด ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
การร้องขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 นั้น มาตรา 8 ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้อง แล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาคำร้องของศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" เมื่อคดีอยู่ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นของศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาสั่งรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองหรือไม่ตามมาตรา 10 ดังกล่าว มิใช่กรณีที่มีการพิจารณาคดีใหม่แล้วมีคำพิพากษาตามมาตรา 13 ที่จะฎีกาได้ตามมาตรา 15 (2) ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยว่า คำร้องของผู้ร้องทั้งสองไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่และให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาได้ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องทั้งสองมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องขัดแย้งและสำคัญแก่คดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจตัดสินและคำสั่งเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 8 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องนั้น มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสองบัญญัติว่า "คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องหยิบยกขึ้นอ้างล้วนแต่ประกอบด้วยพยานหลักฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนและศาลได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักในคดีถึงที่สุดนั้นแล้วทั้งสิ้นหาใช่เป็นพยานหลักฐานใหม่อันขัดแย้งและสำคัญแก่คดีไม่ เหตุตามคำร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5 (1) (2) (3) เท่ากับเห็นว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องของศาลอุทธรณ์นั้น มาตรา 10 วรรคสองกำหนดให้คำสั่งรับคำร้องหรือคำสั่งยกคำร้องของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด เมื่อคดีนี้อยู่ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นของศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาสั่งรับคำร้องของผู้ร้องหรือไม่ มิใช่กรณีที่มีการพิจารณาคดีใหม่แล้วมีคำพิพากษาตามมาตรา 13 ที่จะฎีกาได้ตามมาตรา 15 (2) ดังนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่และให้ยกคำร้องของผู้ร้องย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อฟื้นคดีอาญา: สามีขอรื้อฟื้นคดีแทนภรรยาที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ และอำนาจศาลในการสั่งรับคำร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขั้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 (4)
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานเดิมที่ทราบอยู่แล้ว
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องเป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ทั้งผู้ร้องเพิ่งจะยื่นฟ้อง ม. เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 56(1)
ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องบ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องบ้างและเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องซึ่งอยู่กับผู้ร้องในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องจะอ้างมาเป็นเหตุให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5(3) ได้ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องบ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องบ้างและเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องซึ่งอยู่กับผู้ร้องในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องจะอ้างมาเป็นเหตุให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5(3) ได้ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานที่มีอยู่แล้ว
คำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่า คำเบิกความของพยานบุคคลโจทก์ 4 ปาก ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องทั้งสี่เป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ทั้งปรากฏในคำฟ้องฎีกาว่าผู้ร้องทั้งสี่เพิ่งจะยื่นฟ้องพยานโจทก์ดังกล่าว 1 ปาก เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (1)
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้อง, อำนาจศาล, และพยานหลักฐานใหม่
การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มีขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการตรวจคำร้อง ขั้นตอนที่สองเป็นการไต่สวนคำร้อง และขั้นตอนที่สามเป็นการพิจารณาเนื้อหาของคำร้อง โดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาคดีนั้น และมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (ปัจจุบันเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว) และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้ โดยอนุโลม ดังนั้น การตรวจคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.อ. มาตรา 161 โดยคำร้องต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ซึ่งศาลชั้นต้นต้องตรวจคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ว่า ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ไม่ปรากฏเหตุที่จะร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะไม่ทำการไต่สวนคำร้องก็ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง โดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนี้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น กับให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้อง และให้ไต่สวนคำร้องต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาคำร้องและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีเหตุพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด และต้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางก่อน
ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 บัญญัติว่า "คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า (1)? (2)? (3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคดีที่จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะต้องเป็นคดีที่ได้มีการนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลที่ต้องรับโทษอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีดังกล่าว ตาม ป.อ. มาตรา 36 เพื่อศาลชั้นต้นจะได้ทำการไต่สวนพยานหลักฐานตามคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจริงหรือไม่เสียก่อน เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลางเพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่ง กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่จะแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยการกระทำความผิดของจำเลย เพราะในคดีเดิมซึ่งถึงที่สุดศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นส่งไปให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งใหม่