คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 42 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762-1763/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายหุ้นมรดก: รายได้จากการขายหุ้นถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มุ่งค้าหากำไร
ป.รัษฎากร มาตรา 42 บัญญัติว่า "เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้... (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร..." บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในทางค้าหากำไรมาแบ่งปันกันในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาจึงย่อมถือว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าหุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทแล้วโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าเป็นทุนของบริษัท มีโจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นอีก 7 คน เป็นผู้ถือหุ้น หลังจากนั้น ยังมีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทอีกหนึ่งบริษัท ต่อมาโจทก์ทั้งสองตกลงโอนขายหุ้นของตนในบริษัททั้งสองให้แก่ ป. กับพวก การที่ผู้จัดการมรดกและทายาทจัดตั้งบริษัทแล้วแบ่งหุ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่น เป็นการสงวนผลประโยชน์รายได้ที่เกิดจากกิจการให้ตกอยู่แก่ทายาทของ ส. ที่ถือหุ้นบริษัททั้งสองไว้ต่อไป และการถือหุ้นของโจทก์ทั้งสองกับทายาทดังกล่าว ยังทำให้ได้บริหารกิจการซึ่งน่าจะคาดหมายได้ว่ามูลค่าทรัพย์สินนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือได้ว่าการได้รับหุ้นบริษัททั้งสองเป็นเรื่องของการค้าหากำไรและมิใช่การจัดตั้งบริษัทโดยไม่มีผลประโยชน์หรือกำไรที่จะแบ่งให้ผู้ถือหุ้นแต่ประการใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้หุ้นของบริษัทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 42 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายสิทธิการเช่าและการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระบุปีภาษี รายละเอียดแสดงการคำนวณภาษี ภาษีที่ต้องชำระ เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งแสดงเหตุผลที่ประเมินไว้ท้ายหนังสือดังกล่าว สำหรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายการยอดขายและภาษีขาย ผลการตรวจยอดขายในเดือนพิพาท ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ยอดแตกต่างภาษีขาย รายการคำนวณภาษี รายการเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ รวมภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม ทั้งมีเหตุผลประเมินที่ด้านหลังและข้อควรทราบระบุว่า โจทก์มีรายรับถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ และเป็นกรณีประกอบกิจการโดยไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับคำวินิจฉัย อุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. และบริษัทดังกล่าวตีราคาสิทธิการเช่าเป็นหุ้นให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องนำเงินลงทุนเป็นการแลกเปลี่ยน โจทก์จึงได้รับประโยชน์เท่ากับมูลค่าสิทธิที่ระบุในงบการเงินของบริษัท ถือเป็นเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าบริษัท น. ให้สัตยาบันเกี่ยวกับสัญญาหรือค่าใช้จ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อยู่อาศัยเดิมก่อนการจัดตั้งบริษัท จึงถือเอารายจ่ายดังกล่าวนั้นมาตีราคาเป็นมูลค่าหุ้นของโจทก์ไม่ได้ เจ้าพนักงานหักค่าใช้จ่ายการโอนสิทธิการเช่าตามหลักฐานที่ปรากฏตามความจำเป็นและสมควร โดยคำนวณเฉลี่ยตามสัดส่วนของเนื้อที่ที่ดินถือว่าเป็นธรรมแล้ว เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์โจทก์นำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2549 โดยขอเครดิตภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 247) พ.ศ.2534 และเจ้าพนักงานได้ประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนซื้อ อากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแล้ว เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินประเมินเงินได้สุทธิโดยหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเงินได้ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับรายจ่าย เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลดได้ จึงให้โจทก์เสียภาษีและเงินเพิ่มตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมีความว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินเลขที่ 1946 ให้แก่บริษัท น. โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นมูลค่าหุ้น กรณีถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่างตามมาตรา 77/1 (8) (9) แห่ง ป.รัษฎากร มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79/3 (1) เจ้าพนักงานประเมินตามมูลค่าที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทเป็นการถูกต้องแล้ว เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจงดหรือลด โจทก์สำคัญผิดในข้อกฎหมาย ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงงดเบี้ยปรับให้ทั้งสิ้น เห็นได้ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจครบถ้วนแล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ถือครองเป็นระยะเวลาสั้นมากไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อมาเพื่อจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญหรือได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินสมกับเนื้อที่ แต่หลังจากซื้อที่ดิน 1 เดือน โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 48 (4) (ข) โจทก์ไม่มีสิทธิจะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณตามมาตรา 48 (1) และ (2) และไม่อาจหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร และมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกัน โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ผู้เช่าได้กระทำลงในที่ดินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารพาณิชย์ อาคารอพาร์ตเมนต์และอาคารสรรพสินค้าที่ปลูกสร้างลงในที่ดินที่เช่าออกให้บุคคลอื่นเช่า จึงมีลักษณะต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ได้รับอนุมัติจากกรมการศาสนาเข้าสืบสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว แม้โจทก์ทำสัญญากับกรมการศาสนาโดยเป็นผู้เช่า ก็เป็นการสืบสิทธิของ ป. เจ้ามรดกผู้เช่าเดิม แต่สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสินสมรส จึงเป็นมรดกของ ป. เพียงกึ่งหนึ่ง เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว และบริษัท น. ออกหุ้นตามมูลค่าสิทธิการเช่าดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการชำระค่าหุ้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 61 แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. ถือว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร เพียงกึ่งหนึ่ง
ป.ทำสัญญาเช่าตั้งแต่ก่อน จ. และ ฉ. ทำสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนกับ ป.และจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท น. แสดงว่า ป. ทำสัญญาในฐานะส่วนตัว มิใช่ตัวแทนบริษัทดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาร่วมถือสิทธิและลงทุนเป็นเพียงหน่วยภาษี มิใช่มีสภาพบุคคลที่จะเป็นตัวการดังที่โจทก์อ้าง
ค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่กรมการศาสนาไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายโฉนด โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. เฉพาะโฉนดเลขที่ 1946 การที่เจ้าพนักงานประเมินเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนของเนื้อที่ดินแต่ละโฉนดจึงสมเหตุผล ส่วนค่ารื้อถอนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมเจ้าพนักงานประเมินยอมให้ถือเป็นรายจ่ายของที่ดินแต่ละโฉนดตามจำนวนเงินและหลักฐานของแต่ละแปลงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิการเช่าทั้งหมด เจ้าพนักงานประเมินมิได้โต้แย้งว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี แม้โจทก์มีเงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าอันเป็นสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 8 ทวิ แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ก็มิได้ห้ามโจทก์หักค่าใช้จ่ายเต็มจำนวน การที่เจ้าพนักงานประเมินยอมให้นำรายจ่ายดังกล่าวเต็มจำนวนมาคำนวณภาษีเงินได้จึงเหมาะสมและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
มาตรา 42 (9) แห่ง ป.รัษฎากร ที่กำหนดให้เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นการขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ใช้เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิใช่เป็นกรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นผลผูกมัดถึงการวินิจฉัยในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บริษัท น. สิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งเป็นทางการค้าหรือหากำไรต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 46 แห่ง ป.รัษฎากร ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ซึ่งไม่มีกรณีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา โจทก์ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ค่าเช่าบ้านที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์การประเมินข้อนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้ ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แม้ศาลภาษีอากรกลางจะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพราะไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเงินเพิ่มทางภาษีอากร กรณีผู้เสียภาษีไม่ทราบประกาศและให้ความร่วมมือตรวจสอบ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฏิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาท นั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27 กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้นจึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92 บาท แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเงินเพิ่มทางภาษีอากร กรณีผู้เสียภาษีไม่ทราบประกาศ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฏิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาท นั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฏว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27 กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้นจึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92 บาท แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นเงินเพิ่มภาษีเนื่องจากความเข้าใจผิดและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฎิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีจากการขายที่ดินที่ได้มาโดยเสน่หา ไม่ใช่การค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก.พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติ ล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร จึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยอำพรางนิติกรรมและข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก. พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิแทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อค้ากำไรและการหลีกเลี่ยงภาษี การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ซื้อที่ดินมาในปี 2519 และต่อมาได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆและขายไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2519 โดยโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในหนังสือสำคัญ กรณีเช่นนี้เป็นการซื้อเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า แม้ในชั้นไต่สวนเพื่อตรวจสอบภาษีรายนี้โจทก์ได้ให้ความร่วมมือโดยมอบอำนาจให้ตัวแทนไปให้ถ้อยคำและยอมรับในเรื่องราคาที่ดินแต่โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินให้ส.ไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินมาแบ่งขายเอง อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุอันควรงดหรือลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้และเบี้ยปรับภาษีการค้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าลดหย่อน และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดราคาทรัพย์สิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินประกอบโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำต่อเจ้าพนักงานต่างระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีชื่อถือแทนบิดาซึ่งเป็นคนจีนนั้น ฟังได้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ การขายที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่ขายทรัพย์อันเป็นมรดกโจทก์ได้ขายที่ดินดังกล่าวไปในเวลาอันรวดเร็ว แสดงเจตนาว่าซื้อมาเพื่อหากำไร การขายที่ดินทั้ง 4 แปลงของโจทก์จึงมุ่งในทางค้าหรือหากำไร ป.รัษฎากร มาตรา 20 และ 30(2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวต่อศาล จะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุที่มิได้อ้างไว้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ไม่ชอบ อันเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นศาลได้ เมื่อจำเลยนำสืบได้ว่าการโอนขายที่ดินของโจทก์มีค่าตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินโดยอาศัย ป.รัษฎากรมาตรา 87 ทวิ(6) ได้และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 หาได้ใช้อำนาจตามมาตรา 29ทวิไม่ เมื่อได้จัดการตามมาตรา 19 และทราบข้อความแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมิน หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏตามมาตรา 20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า ต้องพิจารณาเจตนาในการได้มาและขายทรัพย์สิน หากมิได้มีเจตนาค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
แม้โจทก์ที่ 2 จะได้ทำสัญญาว่า ย. เป็นผู้ทำการก่อสร้างแต่การขออนุญาตและการรับเงินทั้งค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้รับเงินนั้นทั้งหมด นอกจากนี้ การแบ่ง เงินชำระเป็นงวด ๆ ก็ได้คิดราคาทั้งที่ดินและค่าก่อสร้างเข้าด้วยกัน พฤติการณ์เห็นได้ว่า การก่อสร้างตึกแถวรายนี้เป็นการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2เงินค่าก่อสร้างจึงเป็นเงินได้หรือ รายรับของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกรมธนารักษ์ แล้วนำมา แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ และปลูกอาคารขาย เป็นการได้ทรัพย์มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และขายทรัพย์ไปเป็นทางการค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า โจทก์ที่ 2 ได้ทรัพย์สินมาในเบื้องต้นโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะจะใช้เพื่ออยู่อาศัยและต่อมาขายไปราคาเท่าเดิมกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือ หากำไรอันจะต้องเสียภาษีการค้า เงินได้ที่โจทก์ที่ 2 ได้รับจากการขายที่ดินและตึกแถวจะต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ว่ามีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้อง เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อ วันที่ 30มีนาคม 2522,31 มีนาคม 2523 และ 31 มีนาคม 2524 และ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนโดยมีเหตุอันควร เชื่อว่าโจทก์ ยื่นรายการไว้ไม่ถูกต้องเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2525 จึงเป็นการออก หมายเรียกภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นรายการ และเมื่อนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นรายการจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมิน เรียกเก็บภาษีจากโจทก์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2531 แล้ว ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปีปี เจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจประเมิน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 19แห่ง ป.รัษฎากรได้.
of 5