พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความทางภาษี: เงินชดเชยที่ดินและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาขายที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษี
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท.และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอบแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภคและเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้นเงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและตามข้อสัญญาโจทก์ยินยอมให้บริษัท ท. และบริษัท บ.ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากันบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าวดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อยกเว้นภาษี: ภาระการพิสูจน์และการยื่นพยานหลักฐาน
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,00 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้การโอนสิทธิเช่าตึกแถวพิพาาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาลวงในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและการประเมินภาษี การพิสูจน์ว่าไม่มีเจตนาค้าหากำไร
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่เนื่องจากพี่น้องของโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว การโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์จึงทำเป็นสัญญาซื้อขาย แล้วโจทก์ได้ขายที่ดินไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาเป็นเวลาถึง 14 ปี แม้ระหว่างนั้นจะมีการจำนองและไถ่จำนองที่ดินและการรวมที่ดินเป็นแปลงใหญ่ รวมทั้งจัดหาที่ดินทำทางเข้าออกติดกับถนนใหญ่ด้วย ก็เป็นการกระทำเพียงเพื่อจะให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของปุถุชนและไม่ได้ความว่าโจทก์ได้เคยซื้อขายที่ดินมาก่อน คงมีการขายที่ดินครั้งพิพาทนี้ครั้งเดียว การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นการกระทำเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่ทำเป็นสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์นั้นย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง
การกระทำของโจทก์ในการจดทะเบียนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นก็ตาม แต่ในการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมินจะกระทำได้ก็ต้องให้ได้ความด้วยว่าโจทก์ได้มุ่งในทางการค้าและหากำไรด้วย ซึ่งข้อนี้จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง.
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่ทำเป็นสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์นั้นย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง
การกระทำของโจทก์ในการจดทะเบียนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นก็ตาม แต่ในการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมินจะกระทำได้ก็ต้องให้ได้ความด้วยว่าโจทก์ได้มุ่งในทางการค้าและหากำไรด้วย ซึ่งข้อนี้จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การกระทำเพื่อมุ่งทางการค้าหรือหากำไร
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่เนื่องจากพี่น้องของโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวการโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์จึงทำเป็นสัญญาซื้อขาย แล้วโจทก์ได้ขายที่ดินไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาเป็นเวลาถึง 14 ปี แม้ระหว่างนั้นจะมีการจำนองและไถ่จำนองที่ดินและการรวมที่ดินเป็นแปลงใหญ่รวมทั้งจัดหาที่ดินทำทางเข้าออกติดกับถนนใหญ่ด้วย ก็เป็นการกระทำเพียงเพื่อจะให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของปุถุชนและไม่ได้ความว่าโจทก์ได้เคยซื้อขายที่ดินมาก่อนคงมีการขายที่ดินครั้งพิพาทนี้ครั้งเดียว การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นการกระทำเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่ทำเป็นสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์นั้นย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง การกระทำของโจทก์ในการจดทะเบียนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นก็ตามแต่ในการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน จะกระทำได้ก็ต้องให้ได้ความด้วยว่าโจทก์ได้มุ่งในทางการค้าและหากำไรด้วยซึ่งข้อนี้จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย 80% ตามพระราชกฤษฎีกา
เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่า เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40 (1) ถึง (7) และมิใช่เป็นสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา 40 (3) เพราะมิใช่สิทธิที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ดังที่ระบุไว้ในอนุมาตราดังกล่าว
การโอนสิทธิการเช่ามิใช่เป็นการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 8 (25) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 เพราะการขายของตามมาตราดังกล่าวหมายถึงการขายของที่เป็นวัตถุที่มีรูปร่าง แม้เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
การโอนสิทธิการเช่ามิใช่เป็นการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 8 (25) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 เพราะการขายของตามมาตราดังกล่าวหมายถึงการขายของที่เป็นวัตถุที่มีรูปร่าง แม้เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่อาจหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 ตามพระราชกฤษฎีกา
เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่า เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7) และมิใช่เป็นสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา 40(3) เพราะมิใช่สิทธิที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ดังที่ระบุไว้ในอนุมาตราดังกล่าว
การโอนสิทธิการเช่ามิใช่เป็นการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ดังที่ระบุไว้ในมาตรา8(25) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 เพราะการขายของตามมาตราดังกล่าวหมายถึงการขายของที่เป็นวัตถุที่มีรูปร่าง แม้เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว.
การโอนสิทธิการเช่ามิใช่เป็นการขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ดังที่ระบุไว้ในมาตรา8(25) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 เพราะการขายของตามมาตราดังกล่าวหมายถึงการขายของที่เป็นวัตถุที่มีรูปร่าง แม้เงินได้จากการโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 80 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อฝากที่ดินเพื่อหากำไร: การนับรวมรายได้เพื่อเสียภาษีและสถานะผู้ประกอบการค้า
การที่โจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดิน แล้วแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวระหว่างที่ยังอยู่ในระยะเวลาขายฝาก และเมื่อที่ดินหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองเพียง 5 เดือน โจทก์ทั้งสองก็ขายที่ดินต่อให้บุคคลอื่นไป แสดงว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดินดังกล่าวไว้โดยมุ่งในทางการค้าหากำไรเงินได้จากการขายที่ดินต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้าที่ 11.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
การที่โจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดิน แล้วแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวระหว่างที่ยังอยู่ในระยะเวลาขายฝาก และเมื่อที่ดินหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองเพียง 5 เดือน โจทก์ทั้งสองก็ขายที่ดินต่อให้บุคคลอื่นไป แสดงว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดินดังกล่าวไว้โดยมุ่งในทางการค้าหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้าที่ 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่มีเจตนาค้าขาย ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
ที่ดินที่โจทก์ขายไป เดิม สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อมาเพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลทั่วไป เมื่อสามีโจทก์ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีได้เลิกการเป็นหุ้นส่วนกับ ป. โดยตกลงแบ่งที่ดินเป็นของ ป. 66 แปลง เป็นของโจทก์ 53 แปลง เมื่อโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินทั้ง 53 แปลงมาแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิม ของเจ้ามรดก โดยโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้ การค้าที่ดินของโจทก์เป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของ ป. รัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น จึงต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการขายที่ดินของโจทก์ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 11 ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าอีกด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้มาเพื่อค้ากำไรไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(9) ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อที่ดินมาเพื่อจัดสรรขายให้แก่บุคคลทั่วไปอันเป็นการซื้อมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ครั้นเมื่อสามีโจทก์ตายโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกในที่ดิน และโจทก์ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิมของเจ้ามรดก ทั้งโจทก์ก็ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้การขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายไปในทางการค้าหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.