คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 42 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาชำระภาษีสรรพากร: กรณีผู้ยื่นภาษีล่าช้าหลังกำหนด และผลกระทบต่อการได้รับการยกเว้นภาษี
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือมิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือหักไว้ไม่ครบถ้วน ได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติม หรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น แสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้ว แต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ ยื่นแบบแสดงรายการ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือ มิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย โดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 นั้นไม่รวมถึงการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2524 ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524 แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว และไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาชำระภาษี การยื่นแบบเกินกำหนด และข้อยกเว้นภาษีจากทรัพย์สินที่ไม่ใช่การค้า
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่น แบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือมิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือหักไว้ไม่ครบถ้วน ได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติม หรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัว ว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระ ภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้ว แต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ ยื่นแบบแสดงรายการ หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือ มิได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย โดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากร ที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือ หลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ที่ ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 นั้นไม่รวมถึงการเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี 2524 ที่ต้อง ยื่นรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524 แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2525 ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2525 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระภาษีอากรตามแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้าเกินกำหนด
แถลงการณ์กระทรวงการคลังเรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติมลงวันที่26กุมภาพันธ์2525มีความประสงค์ที่จะขยายเวลาชำระภาษีอากรโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายหรือหักไว้ไม่ครบถ้วนได้มายื่นชำระภาษีอากรหรือเสียภาษีอากรเพิ่มเติมหรือนำส่งภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มใดๆทั้งสิ้นจากข้อความที่ว่าไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าในขณะที่กระทรวงการคลังออกแถลงการณ์ได้ล่วงเลยกำหนดเวลาชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรมาแล้วแต่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือมิได้หักภาษีไว้ณที่จ่ายโดยระบุว่าการขยายเวลานั้นไม่รวมถึงภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งที่ถึงกำหนดเวลาเสียหรือนำส่งตามปกติในหรือหลังวันที่ที่ลงในแถลงการณ์แสดงว่าแถลงการณ์กระทรวงการคลังที่ขยายเวลาออกไปถึงวันที่31พฤษภาคม2525นั้นไม่รวมถึงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี2524ที่ต้องยื่นรายการภายในวันที่31มีนาคม2525ดังนี้การที่โจทก์ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเมื่อวันที่10มีนาคม2524แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในวันที่31มีนาคม2525ตามมาตรา56แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์เพิ่งมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เมื่อวันที่28พฤษภาคม2525ซึ่งล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากแถลงการณ์กระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา42(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหรือหากำไรได้รับการยกเว้นภาษี หากผู้ขายไม่ได้มีเจตนาค้าหากำไร
โจทก์และภรรยาซื้อที่ดินและตึกแถวในราคา2,500,000บาทตั้งแต่พ.ศ.2510เมื่อซื้อมาแล้วไม่ได้ปรับปรุงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือกระทำการอื่นใดอันจะแสดงให้เห็นเจตนาซื้อทรัพย์สินนั้นมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่ต่อมาพ.ศ.2519โจทก์มีหนี้สินจำนวนมากจึงจำเป็นต้องขายที่ดินและตึกแถวในราคา6,650,000บาทตามสภาพและค่าของเงินในขณะที่ขายเพื่อนำเงินไปใช้ชำระหนี้จำนองที่ดินแปลงนี้และหนี้สินรายอื่นการขายที่ดินและตึกแถวของโจทก์จึงเป็นการขายทรัพย์สินซึ่งทรัพย์สินนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเมื่อตามกฎหมายถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้วโจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินเพื่อหากำไร: การพิจารณาเจตนาในการซื้อและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทที่บัญญัติว่า การขายทรัพย์สินซึ่งทรัพย์สินนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ หมายความว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยผู้ได้มาไม่มีเจตนาจะมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตรงกันข้ามถ้าผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินมีเจตนาจะมุ่งในการค้าหรือหากำไรแล้ว ต่อมาได้ขายทรัพย์สินนั้นก็จะไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้วเกิดความจำเป็นต้องกู้ยืมเงิน จึงนำที่ดินไปจำนองค้ำประกันหนี้ที่ธนาคารเพื่อนำเงินไปใช้ในทางการค้าหรือการใด ๆ ก็ดี และซื้อแล้วได้ใช้ตึกแถวเป็นที่เก็บสินค้าของห้างหุ้นส่วนก็ดี ย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พึงใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นกระทำกันทั่วไป ส่วนที่ว่าที่ดินและตึกแถวตั้งอยู่ในย่านทำเลการค้าก็หาแสดงว่า ผู้ซื้อได้ซื้อมาโดยเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรไม่ เพราะผู้ซื้ออาจซื้อมาให้เป็นสถานประกอบการค้าหรือเพื่ออาศัยในอนาคตก็ได้
การขายที่ดินและตึกแถวไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาหาแสดงว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เพราะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีราคาสูงขึ้นตามสภาพและค่าของเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร ไม่ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี แม้ขายได้ราคาสูงกว่าซื้อ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา42(9)ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทที่บัญญัติว่าการขายทรัพย์สินซึ่งทรัพย์สินนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หมายความว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยผู้ได้มาไม่มีเจตนาจะมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตรงกันข้ามถ้าผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินมีเจตนาจะมุ่งในการค้าหรือหากำไรแล้วต่อมาได้ขายทรัพย์สินนั้นก็จะไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้. ข้อเท็จจริงที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้วเกิดความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจึงนำที่ดินไปจำนองค้ำประกันหนี้ที่ธนาคารเพื่อนำเงินไปใช้ในทางการค้าหรือการใดๆก็ดีและซื้อแล้วได้ใช้ตึกแถวเป็นที่เก็บสินค้าของห้างหุ้นส่วนก็ดีย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พึงใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นกระทำกันทั่วไปส่วนที่ว่าที่ดินและตึกแถวตั้งอยู่ในย่านทำเลการค้าก็หาแสดงว่าผู้ซื้อได้ซื้อมาโดยเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรไม่เพราะผู้ซื้ออาจซื้อมาให้เป็นสถานประกอบการค้าหรือเพื่ออาศัยในอนาคตก็ได้. การขายที่ดินและตึกแถวไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมาหาแสดงว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเพราะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีราคาสูงขึ้นตามสภาพและค่าของเงิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อการลงทุนไม่ใช่ค้าอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศคณะปฏิวัติ
โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยเจตนาใช้ทำนา ไม่ใช่ซื้อไว้เพื่อขาย แต่ได้ขายที่ดินไปเพราะที่ดินไม่เหมาะสมจะทำนาต่อไป และในการขายก็ขายไปทั้งแปลงโดยมิได้ปรับปรุงหรือจัดสรรที่ดินขายหากำไร ที่โจทก์ขายได้เงินมากกว่าตอนที่ซื้อมาเนื่องจากที่ดินราคาสูงขึ้นตามกาลเวลาอันเป็นเรื่องปกติ การขายที่ดินของโจทก์ จึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรอันจะถือว่าเป็นการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11 แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ไม่ได้แสดงรายการเงินได้จากการขายที่ดินไว้ในแบบรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรได้ประกาศ กำหนดไว้ อันทำให้โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) แต่ใน ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน2520 ออกใช้บังคับ กำหนดว่า ถ้าผู้มีเงินได้ได้ยื่นรายการเพิ่มเติมให้เป็นไป ตามระเบียบดังกล่าว ภายในเดือนมกราคม 2521 ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ เขตท้องที่หรือกองคลังกรมสรรพากรก็ให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบแล้ว และเงินได้นั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์สำเนาภาพถ่ายแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 9 ซึ่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ภาษี 5 รับรองสำเนาถูกต้องที่โจทก์ยื่นมาพร้อมกับ ฎีกาและใบรับแบบไม่มีเงินเรียกเก็บ ซึ่งกรมสรรพากรออกให้โจทก์และ โจทก์ยื่นพร้อมคำแถลงการณ์ปิดสำนวนในศาลชั้นต้นประกอบกับวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติแล้ว เงินได้ของโจทก์จากการ ขายที่ดิน ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเสียภาษีเงินได้ กรณีผู้ประกอบการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาและในวันเดียวกันนั้นได้ยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินส่วนหนึ่งออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ต่อมาในเวลาใกล้เคียงกันได้ยื่นคำขอแบ่งแยกเพิ่มเติมอีกรวมเป็นจำนวนหนึ่งร้อยแปลงเศษแล้วเริ่มขายที่ดินที่แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ นั้นตั้งแต่ปีแรกที่ซื้อมา ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่มิได้แบ่งแยกโจทก์ย้ายโรงเรียนราษฎร์ของโจทก์เข้าไปอยู่หลังจากซื้อที่ดินมาราว 10 ปีดังนี้ แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินส่วนที่ได้แบ่งแยกและขายไปนั้นมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 บัญชีอัตราภาษีการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการขายที่ดินนั้นไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่าที่ดินที่โจทก์ขายไปนั้นโจทก์แบ่งแยกไว้เพื่อการสวัสดิการแก่ครูในโรงเรียนของโจทก์ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำต้องขายที่ดินนั้นไปเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนราษฎร์แต่โจทก์ซื้อที่ดินส่วนนั้นมาเพื่อขายตั้งแต่แรก การขายที่ดินของโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับโรงเรียนราษฎร์ ไม่เป็นกิจการของโรงเรียนราษฎร์ อันจะไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78ทวิ(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษี
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่าพ่อค้าในมาตรา 165 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเป็นผู้ประกอบการค้าภายใต้ประมวลรัษฎากร
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่า พ่อค้าในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
of 5