พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13129/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดก: ทายาทถึงแก่ความตายพร้อมกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก
ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 และมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกกรณีตายพร้อมกันจากเหตุภยันตราย บุคคลไม่สมควรรับมรดก สิทธิผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกตลอดจนบุคคลในครอบครัวถูกสามีของเจ้ามรดกใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในเวลาต่อเนื่องกัน ถือเป็นการตายในเหตุภยันตรายร่วมกันและเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง จึงถือว่าทุกคนถึงแก่ความตายพร้อมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 17 ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจึงไม่ตกไปยังบุตรของเจ้ามรดกซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายพร้อมกัน แต่จะตกได้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นน้าของเจ้ามรดก และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่า สามีของเจ้ามรดกเป็นผู้กระทำโดยเจตนาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจดำเนินคดีแก่สามีของเจ้ามรดกได้เนื่องจากสามีเจ้ามรดกฆ่าตัวตายไปก่อน จึงถือได้ว่าสามีของเจ้ามรดกเป็นบุคคลที่ต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับสามีของเจ้ามรดกจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก และเมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิยังไม่เกิด ไม่เป็นมรดก แต่ตกแก่ทายาท
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายพร้อมกัน สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังไม่เกิด จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้รับประโยชน์ เงินตามสัญญาประกันชีวิตก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่ ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย แต่แม้มิใช่มรดกของผู้เอาประกันภัยเพราะได้มาหลังจากผู้เอาประกันถึง แก่ความตายแล้ว จึงต้องอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เงินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาท โดยธรรมของผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ก่อให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิ
ชื่อของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยร่วมมีคำว่า "โอเรียนเต็ล"เหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของบริษัทโจทก์ที่ 1 จำเลยร่วมมีเจตนาใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล" เป็นชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมเพราะชื่อดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "ORIENTAL" เป็นอักษรประดิษฐ์ขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ในขณะที่อักษรโรมันคำว่า "HILL - RESORT CONDOMINIUM" เป็นอักษรขนาดเล็กเขียนไว้ด้านใต้คำว่า "ORIENTAL" แสดงว่าจำเลยร่วมต้องการให้บุคคลทั่วไปเรียกขานชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมว่า "โอเรียนเต็ล" ดังนั้น ชื่อและตราเครื่องหมายของจำเลยร่วมคำว่า "โอเรียลเต็ล" จึงเหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล"เป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมมานานจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนทั่วไปและโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าหลายจำพวก ดังนั้นหากมีการนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" มาใช้ในธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน สาธารณชนย่อมเข้าใจว่ากิจการดังกล่าวเป็นกิจการของโจทก์ที่ 1 เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ชื่อทางการค้าส่วนหนึ่งว่า "โอเรียนเต็ล"เพื่อประกอบกิจการอันมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกิจการโรงแรมซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าพักและใช้บริการได้เช่นเดียวกับโรงแรม การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดต่อสาธารณชน การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1