คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 13

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา: ความสำคัญของคำเบิกความต่อการรับฟังพยานหลักฐาน
ในคดีอาญาเดิม พนักงานอัยการโจทก์ไม่สามารถติดตามตัว จ. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลได้ จึงจำเป็นต้องส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ จ. บันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาทั้งสองและบันทึกการชี้ภาพถ่ายผู้ต้องหาทั้งสองซึ่งจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาให้ จ. และพิมพ์ลายนิ้วมือในคำแปลไว้ กับจำเป็นต้องส่งบันทึกการสอบปากคำจำเลยในฐานะผู้ทำหน้าที่ล่ามแปลภาษาให้ จ. ฟัง เป็นพยานหลักฐานต่อศาล และเพื่อให้พยานดังกล่าวมีคุณค่าในการรับฟังจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำตัวจำเลยมาเบิกความยืนยัน การที่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จโดยเบิกความกลับคำให้การในชั้นสอบสวนเป็นว่า จำเลยพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือลงในเอกสารทุกฉบับโดยที่จำเลยมิได้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลและมิได้สาบานตัวว่าจะทำหน้าที่เป็นล่ามแปลต่อพนักงานสอบสวน ทั้งเบิกความด้วยว่าจำเลยมิได้ทำหน้าที่เป็นล่ามในการชี้ตัวและชี้ภาพถ่ายผู้ต้องหาทั้งสองเลย ความเท็จที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลย พยานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ล่ามแปลของจำเลยดังกล่าว ย่อมเป็นพยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยมิชอบที่ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เลย เพราะต้องห้ามมิให้โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก บัญญัติแต่เพียงว่า "ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี..." เท่านั้น แสดงว่าเพียงความเท็จที่ผู้กระทำผิดเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความจริงได้ก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ตามองค์ประกอบความผิดดังกล่าวหาได้ระบุว่าต้องเป็นข้อสำคัญในคดีถึงขนาดที่ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ได้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10449/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานต่างด้าวผ่านล่ามต้องมีการสาบานตนของล่าม มิฉะนั้นกระบวนการสืบพยานไม่ชอบ
ผู้เสียหายทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเบิกความโดยไม่ปรากฏว่าล่ามได้สาบานหรือปฏิญาณตนแล้ว และไม่ปรากฏว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อในคำให้การพยานในฐานะล่ามนั้นเป็นใคร การสืบพยานปากผู้เสียหายทั้งสามจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 13 ชอบที่จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหายทั้งสามและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำสารภาพของจำเลยชาวเขาที่ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีล่ามแปลตามกฎหมาย หากไม่มี ถ้อยคำรับสารภาพนั้นใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าว้าไม่เข้าใจภาษาไทยและต้องสื่อสารกันด้วยภาษามือ กับจำเลยต้องเบิกความผ่านล่าม เชื่อว่าจำเลยไม่รู้และเข้าใจภาษาไทย การที่พันตำรวจโท ช. สอบปากคำจำเลยโดยไม่ได้จัดหาล่ามแปลให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ ถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาที่มีจำเลยเป็นชาวต่างด้าว จำเป็นต้องมีล่ามสาบานตนและลงลายมือชื่อในคำแปลตามกฎหมาย
ตามคำให้การจำเลย คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตลอดจนรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ณ ที่ใดเลยว่า ร. ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจ ไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปลและก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลคำให้การจำเลยต่างด้าวโดยล่ามที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่าง และการรับสารภาพที่ไม่เข้าใจ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 24สิงหาคม 2539 เวลากลางคืนหลังเที่ยง และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลย กระทำผิดตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวในฟ้องจำเลยจะฎีกา โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (9) วรรคสาม ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็น ชาวต่างประเทศเปรู พูดภาษาสเปน ซึ่งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏเพียงว่ามี ส. เป็นล่ามแปลคำให้การของจำเลยได้สาบานตัวแล้วเท่านั้น แต่หาได้มีการแปล เป็นภาษาสเปนให้จำเลยเข้าใจโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ไม่ อีกทั้งจำเลย ไม่เข้าใจความหมายในกฎหมายที่จำเลยลงลายมือรับสารภาพนั้น เท่ากับจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ให้การ รับสารภาพตามที่ล่ามแปลให้ฟัง โดยขอให้ศาลฎีการับฟังและ เชื่อถือข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกา ซึ่งล้วนเป็นการโต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาแล้วศาลวินิจฉัยลงโทษจำเลยนั้นข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า การสืบพยาน ปากผู้เสียหายไว้ก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมเป็นฎีกาในข้อกฎหมาย ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะแม้ศาลฎีกา จะวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำให้การในชั้นสอบสวนที่ล่ามไม่ได้สาบานตัว และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีครอบครองยาเสพติด
ล่ามแปลคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนโดยมิได้สาบานตัวเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 วรรคสอง มีผลทำให้ไม่อาจใช้คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมารับฟังเป็นพยานหลักฐานใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำร้องทุกข์และคำให้การที่มีการใช้ล่ามแปล
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่ง จะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายเป็นล่าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ล่ามในการให้การสอบสวนของผู้เสียหาย ไม่ขัดต่อกฎหมาย
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่งจะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนใช้ผู้เสียหายเป็นล่าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการจัดล่ามแปลภาษาให้จำเลยชาวต่างชาติ ไม่ถือเป็นเหตุเพิกถอนกระบวนพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา13มิได้บังคับว่าในการพิจารณาของศาลทุกครั้งจะต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศในกรณีที่จำเลยเป็นชาวต่างประเทศการจะให้มีล่ามแปลหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แม้ในวันสอบคำให้การจำเลยศาลชั้นต้นจะมิได้จัดล่ามแปลคำฟ้องเป็นภาษาอังกฤษให้แก่จำเลยซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียฟังแต่จำเลยยังมิได้ให้การในวันนั้นโดยได้แต่งตั้งทนายความและยื่นคำให้การต่อศาลในอีกหนึ่งเดือนต่อมาโดยมีลายมือชื่อของล่ามลงไว้ด้วยแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องที่ศาลได้อ่านให้ฟังในวันสอบคำให้การจำเลยแล้วทั้งต่อมาก็ปรากฏว่ามีล่ามแปลทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดีจึงไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนและพิจารณาพิพากษาใหม่
of 2