คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการริบมัดจำเมื่อโจทก์ผิดสัญญา แม้ไม่มีข้อตกลงซ่อมแซมบ้าน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญามัดจำเพื่อซื้อขายบ้านพิพาทกัน ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องทำการซ่อมแซมบ้านพิพาทและตรวจสอบเนื้อที่ก่อนโจทก์จึงจะทำสัญญาจะซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทดังโจทก์อ้าง การที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ทั้งที่จำเลยได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญามัดจำ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญามัดจำและริบมัดจำเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, การนำสืบพยานนอกฟ้อง, และประเด็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อนจำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน1,000,000บาทเศษจึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรีมูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วยพยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคารดังกล่าวการพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวกศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้นหาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่งและโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่าจำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน4,068,734บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณาฟ้องของโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทกับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้นโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบจึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่1ที่จำเลยที่1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่1คืนการที่โจทก์ที่2ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่1เท่านั้นโจทก์ที่2ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์เรียกคืนจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเงินเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณาแต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณากลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัวและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่เช่นนี้การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน14ล้านบาทเศษส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงินเพียง8ล้านบาทเศษโจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ4ล้านบาทเศษเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คได้อย่างไรอันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณีหาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความ, การนำสืบ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเรียกทรัพย์สินคืน
จำเลยให้การเพียงว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วย พยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคาร การพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวก ศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม
อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้น หาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่ง และโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน 4,068,734 บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณา ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้ว นำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คืน การที่โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฟ้องเรียกคืน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณา แต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณา กลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัว และศาลชั้นต้นกำหนดประะเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่ เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณา และค่าของแถมเป็นเงินเพียง 8 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ 4 ล้านบาทเศษ เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คได้อย่างไร อันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณี หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ว่าในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นซึ่งหมายความว่าถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน1ปีแล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นหรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน1ปีแต่ก็พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่าน.ส.3ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่15มกราคม2525ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกการกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่15มกราคม2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2535จึงพ้น10ปีฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ว่าในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นซึ่งหมายความว่าถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน1ปีแล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นหรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน1ปีแต่ก็พ้น10ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่าน.ส.3ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่15มกราคม2525ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรกการกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่15มกราคม2525โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์2535จึงพ้น10ปีฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สุจริต
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญา-ซื้อขาย คือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องลาภมิควรได้: สิทธิเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องในเรื่องลาภมิควรได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 ว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเกิน 1 ปี แล้วถึงแม้จะยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น หรือถ้าผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนยังไม่เกิน 1 ปี แต่ก็พ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเช่นกันโจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3 ของจำเลยได้มีการออกทับที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2525 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริตมาแต่เริ่มแรก การกระทำของจำเลยเป็นการขายที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้รับว่าสิทธิที่จะเรียกคืนเงินค่าซื้อที่ดินจากจำเลยของโจทก์ได้มีขึ้นตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายคือวันที่ 15 มกราคม 2525 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2535 จึงพ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดราคาที่ดินโดยคณะกรรมการและการชำระเงินตามสัญญา แม้มีการสอบเขตภายหลังก็ไม่ถือเป็นการสำคัญผิด
เมื่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ตรวจสอบจำนวนเนื้อที่ดินและกำหนดค่าทดแทนที่ดินแล้วได้มีการนำเสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตชลประทาน จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกรมชลประทานโจทก์เพื่อพิจารณาอนุมัติดังนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างตัวแทนของโจทก์กับ พ. สามีจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ยอมผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นแม้ต่อมาได้มีการสอบเขตที่ดินของ พ. อีกครั้งหนึ่งและเจ้าหน้าที่ของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้จัดแบ่งราคาที่ดินออกเป็นสองส่วน ทำให้ค่าทดแทนที่ดินที่ พ. มีสิทธิได้รับลดลง และโจทก์ได้สมัครใจจ่ายค่าทดแทนจำนวนนี้ให้ พ. ไปแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์จะมากำหนดราคาซื้อขายที่ดินขึ้นใหม่แต่ฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้ราคาที่ดินลดต่ำลงโดยผู้ขายไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นช่างรังวัดที่ดิน มีหน้าที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของ พ.ที่ถูกเขตชลประทานตามที่ฝ่ายพ.กับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานโจทก์นำชี้และตามแนวหลักเขตคลองชลประทานที่เจ้าหน้าที่ของกองสำรวจภูมิประเทศปักไว้ถูกต้องตามระเบียบแล้ว หาได้รังวัดไปโดยพลการตามอำเภอใจของตนไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดิน เพราะในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะอนุกรรมการระดับอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว โจทก์จึงมิอาจอ้างได้ว่าพ. กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ผูกพันโดยความสมัครใจ และการกำหนดค่าทดแทนที่ดินโดยคณะกรรมการ
เมื่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ตรวจสอบจำนวนเนื้อที่ดินและกำหนดค่าทดแทนที่ดินแล้วได้มีการนำเสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตชลประทาน จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกรมชลประทานโจทก์เพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างตัวแทนของโจทก์กับ พ.สามีจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ยอมผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น แม้ต่อมาได้มีการสอบเขตที่ดินของ พ.อีกครั้งหนึ่ง และเจ้าหน้าที่ของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้จัดแบ่งราคาที่ดินออกเป็นสองส่วน ทำให้ค่าทดแทนที่ดินที่ พ.มีสิทธิได้รับลดลง และโจทก์ได้สมัครใจจ่ายค่าทดแทนจำนวนนี้ให้ พ.ไปแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์จะมากำหนดราคาซื้อขายที่ดินขึ้นใหม่แต่ฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้ราคาที่ดินลดต่ำลงโดยผู้ขายไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 เป็นช่างรังวัดที่ดิน มีหน้าที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของ พ.ที่ถูกเขตชลประทานตามที่ฝ่าย พ.กับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานโจทก์นำชี้และตามแนวหลักเขตคลองชลประทานที่เจ้าหน้าที่ของกองสำรวจภูมิประเทศปักไว้ถูกต้องตามระเบียบแล้ว หาได้รังวัดไปโดยพลการตามอำเภอใจของตนไม่อีกทั้งจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดิน เพราะในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะอนุกรรมการระดับอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว โจทก์จึงมิอาจอ้างได้ว่า พ.กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากความล่าช้าในการส่งมอบและติดตั้งตามสัญญาซื้อขาย การตีความมูลค่าที่ใช้คำนวณค่าปรับ
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาทคิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาท และการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 61 ทวิ วรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า "ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์ อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12 แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกระทำได้
of 45