คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์: การตีความ 'ชุด' และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
โจทก์ได้ทำสัญญาขายเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งเสร็จแก่จำเลย แล้วต่อมาโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมอุปกรณ์และติดตั้งให้แก่จำเลยไม่ทันกำหนดตามสัญญา โดยสัญญาฉบับพิพาท ข้อ 6 ระบุไว้ว่าโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมเสาอากาศและอุปกรณ์ห้องส่งติดตั้งให้จำเลยแล้วเสร็จภายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยช้ากว่ากำหนดไป 132 วัน ซึ่งตามสัญญาข้อ 12 จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดตามสัญญา 12,140,000 บาท คิดเป็นเงินค่าปรับ 3,204,960 บาทและการขายเหมาดังข้อความในสัญญาข้อ 1 นั้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ข้อ 61 ทวิวรรคสี่มีว่า "ในกรณีการซื้อสิ่งของที่คิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใดให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด" การที่โจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงทำกันขึ้นประกอบเข้าด้วยกันจากข้อความในสัญญาข้อที่เขียนไว้ว่า "ผู้ซื้อตกลงซื้อและผู้ขายตกลงขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศรวมทั้งอุปกรณ์ห้องส่งขนาดเล็กรวม 1 ชุด พร้อมทั้งการติดตั้งตามสถานที่ที่กำหนด ฯลฯ" กับข้อความในสัญญาข้อ 12 ที่เขียนว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฯลฯ" แล้วก็จะเห็นได้ว่ามีคำว่า"ชุด" ตรงกัน และพิจารณาประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว จึงแปลความในสัญญาได้ว่า จากมูลค่าที่ซื้อขายทั้งหมดเนื่องจากเครื่องส่งโทรทัศน์อุปกรณ์ส่วนควบและระบบสายเสาอากาศ คือสิ่งของประกอบกันเข้าเป็นชุด วัตถุแห่งสัญญาก็คือการส่งมอบเครื่องส่งโทรทัศน์สีพร้อมการติดตั้งและสามารถแพร่ภาพออกอากาศได้มิใช่หมายความถึงเฉพาะราคาสิ่งของเป็นชุดที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งมอบของและติดตั้งล่าช้าเกินกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 12แต่ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ส่วนดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่โจทก์จะได้รับคืนนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5946/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละข้อต่อสู้และการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
แม้จำเลยจะให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม แต่ปัญหาดังกล่าวในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการชี้สองสถานนั้นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำฟ้องระบุว่าจำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจากโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองนำ ป.พ.พ.มาตรา 640 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการคลาดเคลื่อนหรือนอกคำฟ้อง ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การว่า โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้นั้น ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้ ได้หรือไม่ ก็หาเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5946/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละข้อต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุม และการวินิจฉัยนอกคำฟ้องกรณีการยืมใช้คงรูป
แม้จำเลยจะให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม แต่ปัญหาดังกล่าวในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการชี้สองสถานนั้นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามคำฟ้องระบุว่าจำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจากโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการคลาดเคลื่อนหรือนอกคำฟ้องส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การว่า โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้นั้น ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้ได้หรือไม่ ก็หาเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบหุ้นโดยไม่สุจริตและผลของการคืนหุ้น/ชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก.แทนจำเลย จำนวน1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก.จำนวน 2,000หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้นเป็นเงิน 301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก.ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกัน โจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบใบหุ้นเกินไปโดยสำคัญผิด และการรับใบหุ้นโดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้นหรือชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก. แทนจำเลยจำนวน 1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก. จำนวน 2,000 หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น เป็นเงิน301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก. ให้แก่จำเลยอีกจำนวน1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกันโจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอบและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรมที่เป็นที่หลวงหวงห้าม
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้นสามารถซื้อขายและโอนกันได้ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่หลวงซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ แต่ความจริงโอนกันไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามโอนไว้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 156ที่แก้ไขใหม่) คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1ต้องคืนเงินค่าซื้อที่ดินให้โจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินสมนาคุณที่จ่ายโดยผิดระเบียบ และเหตุลาภมิควรได้
จำเลยใก้การว่า โจทก์ทราบข้อทักท้วงของกระทรวงการคลังแล้วไม่ฟ้องภายใน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ จะต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใด เป็นหน้าที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเอง
โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การเบิกจ่ายเงินสมนาคุณผิดระเบียบและสิทธิในการเรียกคืน
จำเลยให้การว่า โจทก์ทราบข้อทักท้วงของกระทรวงการคลังแล้วไม่ฟ้องภายใน 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้จะต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใด เป็นหน้าที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเอง โจทก์เบิกเงินจากคลังจ่ายสมนาคุณแก่จำเลยโดยผิดระเบียบราชการเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินจำนวนนี้ การที่จำเลยรับเงินไปเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินเดือนซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย และอายุความการเรียกคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่ชอบ
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกเงินเดือนซึ่งจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 คืนโดยได้แจ้งจำนวนยอดรวมทั้งหมดแล้ว ถือว่าชัดแจ้งพอที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ถ้ายอดจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องมานั้นมากกว่าที่จำเลยได้รับ จำเลยก็ชอบที่จะต่อสู้มาในคำให้การได้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้รับเดือนละเท่าใด หักภาษีแล้วเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วการที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้นดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
of 45