คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: รัฐมีสิทธิเรียกเก็บ แม้การขายทอดตลาดถูกเพิกถอน
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยบริบูรณ์ทางทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้ และได้ให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่มีบทบัญญัติไว้ให้จำเลยคืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินคืนไม่ได้ แม้เพิกถอนการขายทอดตลาด เหตุไม่ใช่ความผิดจำเลย
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยบริบูรณ์ทางทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้ และได้ให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่มีบทบัญญัติไว้ให้จำเลยคืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้ความชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล. ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องสืบพยานประเด็นเพิ่มเติม หากมีข้อพิพาทนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืนในฐานลาภมิควรได้
เมื่อสัญญาซื้อขายบ้านตามฟ้องเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เงินค่าซื้อบ้านที่จำเลยได้รับชำระไว้จากโจทก์จึงเป็นเงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยจำต้องคืนแก่โจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินค่าซื้อบ้านโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเลิกกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้องไม่ เพราะคดีแพ่งนั้นเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และตามข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ชัดแจ้งอย่างใดแล้ว ศาลก็ยกข้อกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืน: ลาภมิควรได้ vs. ติดตามทรัพย์คืน การให้การของจำเลยต้องชัดแจ้งเหตุขาดอายุความ
คำให้การของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว เพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าสมนาคุณตอบแทนคืนเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลยนั้น เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยผิดหลงโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้: การให้การไม่ชัดเจนและการระบุฐานฟ้อง
คำให้การของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าสมนาคุณตอบแทนคืนเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลยนั้น เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดย ผิดหลง โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายมาในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืน: ลาภมิควรได้ vs. ติดตามทรัพย์คืน การให้การชัดเจนของจำเลยมีผลต่อการวินิจฉัยอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย เนื่องจากโจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยหลงผิด จำเลยให้การว่าไม่ต้องคืนเงินแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเกิน1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการเบิกเงินของจำเลย ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว ส่วนอายุความที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้นั้น ต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์จ่ายเงินค่าสมนาคุณตอบแทนให้แก่จำเลยรับไปโดยหลงผิด โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินที่รับไปส่งคืนแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินให้โจทก์โดยมิได้บรรยายในฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. 1336 กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน เมื่อโจทก์ทำหนังสือทวงถามจำเลยฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2530ถือว่าโจทก์ทราบว่ามีสิทธิเรียกเงินคืนตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 มีนาคม 2531 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเช็คผิดเงื่อนไขและลาภมิควรได้: โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินจากกรรมการบริษัท
บริษัท ค. เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 1135ไว้ต่อโจทก์ มีเงื่อนไขว่าจำเลยร่วมกับ ส. ลงชื่อพร้อมประทับตราของบริษัทเบิกเงินได้ และจำเลยเปิดบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 7603 มีเงื่อนไขว่า ถ้าหากเงินในบัญชีเลขที่ 1135 มีไม่พอจ่ายให้โอนเงินจากบัญชีเลขที่ 7603 ได้ ต่อมาโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 30,000 บาท แก่ผู้ถือเช็คซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ค. ที่สั่งจ่ายเงินจากบัญชีเลขที่ 1135 ไปแต่เงินในบัญชีไม่พอจ่าย โจทก์ได้หักเงินจากบัญชีของผู้อื่นผิดไปและได้ชดใช้เงินให้ผู้นั้นแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คซึ่งมีตรา บริษัท ค. ประทับคู่กับลายมือชื่อจำเลยกรรมการเป็นผู้สั่งจ่ายเพื่อประโยชน์ของบริษัท ค. แต่ผิดเงื่อนไข จึงไม่ชอบ โจทก์จะมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเลขที่ 1135หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ค. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ลาภงอกจากการนั้น เงินจำนวน 30,000 บาท จึงไม่ใช่ลาภมิควรได้สำหรับจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406เรียกคืนจากจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทไม่ต้องรับผิดในเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อประโยชน์บริษัท แม้มีการผิดพลาดในการจ่ายเงิน
เมื่อโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะกรรมการบริษัท ค.ให้เจ้าหนี้บริษัท ค. เป็นการสมประโยชน์ของบริษัท ค. แล้ว แม้โจทก์จะหักเงินมาชำระตามเช็คผิดบัญชี ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ค. กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเพียงกรรมการบริษัท ค.ได้ลาภงอกจากการนั้น เงินซึ่งโจทก์ได้จ่ายตามเช็ค ไม่ใช่ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 โจทก์เรียกคืนจากจำเลยไม่ได้
of 45