พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินที่จ่ายโดยสำคัญผิด: เริ่มนับจากวันที่รู้ความจริง
โจทก์จ่ายเงินค่าเสียหายให้แก่จำเลยด้วยความสำคัญผิดว่าอ. ผู้ขับขี่รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเป็นฝ่ายประมาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่า อ. มิใช่ผู้ประมาท ดังนี้ที่จำเลยรับเงินไปจากโจทก์ จึงเป็นการรับชำระหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวให้คู่ความฟังในวันใดถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่ได้ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้จึงเริ่มต้นนับในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงบัญชีซ้ำซ้อนและความรับผิดชอบในการคืนเงิน กรณีจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์
จำเลยนำเช็คจำนวนเงิน 120,000 บาท เข้าฝากในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารโจทก์ โจทก์ลงบัญชีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นเงิน240,000 บาท จำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเหลือเพียง 57 บาท 32สตางค์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 120,000 บาท คืนได้ กรณีเป็นเรื่องลงบัญชีซ้ำซ้อนเนื่องจากความพลั้งเผลอหาใช่เป็นการกระทำการตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ และการที่จำเลยปฏิเสธไม่คืนเงินให้แก่โจทก์ตามคำบอกกล่าว จำเลยจึงผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีและการขาดอายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงิน
ธนาคารโจทก์ได้รับหนังสือลงวันที่ 11 มิถุนายน 2524 จากธนาคารอ. ซึ่งแจ้งว่า ล. ได้โอนเงินให้แก่จำเลยจำนวน 30,000 บาทดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาเพียงครั้งเดียว แสดงว่าธนาคารโจทก์เพิ่งทราบจากหนังสือดังกล่าวว่า ล. โอนเงินให้แก่จำเลยเพียงครั้งเดียว เมื่อจำเลยได้รับเงินที่ ล. โอนให้แก่จำเลยไปจากธนาคารโจทก์รวม 2 ครั้ง การรับโอนเงินครั้งที่ 2 จึงเป็นการรับเงินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 ซึ่งไม่เกินระยะเวลา 1 ปีนับตั้งแต่โจทก์ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่ากะซ้ำซ้อนกับค่าทำงานในวันหยุด และการเรียกร้องเงินคืนจากความผิดพลาดในการคำนวณค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 นั้น หากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่เพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเอง แต่ต้องให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่คู่ความอุทธรณ์ต่อไป
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผิดสัญญาคืนเช็ค: ฟ้องภายใน 10 ปี นับจากจำเลยไม่คืนเช็ค แม้มีประเด็นตัวการตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าจ้างตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 ไม่มอบเช็คแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์ชำระเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 3 อีก และขอให้โจทก์อายัดเช็ค โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 สัญญาว่าจะนำเช็คพิพาทมาคืนให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มิได้นำมาคืน จนโจทก์ทั้งสามถูกฟ้องและต้องใช้เงินแก่ผู้ทรงเช็ค ดังนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผิดสัญญาไม่คืนเช็คให้ตามข้อตกลงเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ฐานผิดสัญญา ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีแม้คำฟ้องจะได้บรรยายเกี่ยวกับตัวการตัวแทน หรือระบุว่าจำเลยทั้งสามจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องละเมิด หรือลาภมิควรได้.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ายังไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนตัดสิน
โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา1ปีแบ่งชำระค่าเช่าเป็น4งวดโจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่าเหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลงดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้วตามข้อตกลงในเรื่องการเช่าแต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกันจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไปหาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคสองไม่ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้เป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ายังไม่สมบูรณ์ สิทธิและหน้าที่เกิดขึ้นแล้ว ศาลต้องสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา 1 ปี แบ่งชำระค่าเช่าเป็น 4 งวด โจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่า เหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้ว ตามข้อตกลงในเรื่องการเช่า แต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกัน จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป หาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองไม่ ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอัน จะอ้างกฎหมายได้ การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้ เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ายังไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนตัดสิน
โจทก์ตกลงเช่าห้องอาหารของจำเลยเป็นเวลา 1 ปี แบ่งชำระค่าเช่าเป็น 4 งวด โจทก์ได้ชำระค่าเช่างวดแรกให้จำเลยครบถ้วนแล้วคู่กรณีโต้เถียงกันว่า เหตุที่ไม่อาจทำสัญญาเป็นหนังสือกันได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดข้อตกลง ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีนิติสัมพันธ์กันแล้วตามข้อตกลงในเรื่องการเช่าแต่เหตุที่ยังไม่อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรได้เพราะยังคงโต้เถียงกันจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไปหาใช่กรณีเป็นที่สงสัยอันจะเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้ถือว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองไม่ทั้งเงินที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ เพราะจำเลยรับไว้เป็นค่าเช่างวดแรกตามข้อตกลงจึงไม่ใช่รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การที่ศาลล่างด่วนตัดพยานทั้งที่คู่กรณียังมีข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่เช่นนี้เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนองแทนกัน การคืนเงินที่เสียไป และลาภมิควรได้
คดีเดิมศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าโจทก์ไม่มีอำนาจชำระหนี้จำนองเป็นหน้าที่ของจำเลยจะนำเงินไปชำระแก่ผู้รับจำนองคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความการที่โจทก์ชำระหนี้จำนองโดยตนมิได้เป็นหนี้และมิได้มีเจตนากระทำแทนจำเลยจึงไม่ทำให้โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองแต่ทำให้ที่พิพาทของจำเลยปลอดจากภาระจำนองเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ต้องชำระหนี้จำนองอีกกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยได้ที่พิพาทโดยปลอดภาระจำนองโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้เสียไปในการไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม.