พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานการคำนวณค่าจ้าง กรณีลูกจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ฐานคำนวณ และการหักเงินที่จ่ายไปแล้ว
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทำเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์กองทัพอากาศ ย่อมมีผลผูกพันและบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายต่อการจัดเตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับสมัครเข้ารับราชการยังสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์และกำหนดค่าปรับในกรณ๊ที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตห้ามมิให้เข้าอยู่ขัดต่อประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จึงไม่ชอบ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเขตห้ามมิให้บุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตพื้นที่บางส่วนของบางจังหวัด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในเขตจังหวัดพื้นที่นั้น ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 (ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว) เป็นประกาศที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์เข้าไปทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตห้ามมิให้บุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หนังสืออนุญาตดังกล่าวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการออกหนังสืออนุญาตนั้นจากโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตห้ามมิให้เข้าอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ถือเป็นหนังสืออนุญาตที่ไม่ชอบ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเขตห้ามมิให้บุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตพื้นที่บางส่วนของบางจังหวัด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในเขตจังหวัดพื้นที่นั้น ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495(ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว) เป็นประกาศที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์เข้าไปทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตห้ามมิให้บุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หนังสืออนุญาตดังกล่าวจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการออกหนังสืออนุญาตนั้นจากโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องเงินคืนจากสัญญาเดิม แม้เปลี่ยนเหตุผลอ้างอิง ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จจากจำเลย อ้างว่าจำเลยไม่คืนเงิน ตามสิทธิให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืน เพราะโจทก์ ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงิน จำนวนนี้ชำระหนี้ที่โจทก์เป็นหนี้เงินยืม จากจำเลยส่วนหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนเดียวกันคืนอีกอ้างว่าเป็นลาภมิควรได้ จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินไว้ชำระหนี้เพราะ ไม่มีหนี้ต่อกัน จึงต้องคืนแก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีก็เหมือนกับคดีแรกว่า โจทก์มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยได้หรือไม่ โดยจะนำเงินจำนวนนี้ไป หักหนี้ที่ ยืมจากจำเลยไปได้หรือไม่ เป็นการเรียกทรัพย์คืน โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกเงินคืนจากข้อตกลงหักหนี้เงินยืม แม้เปลี่ยนเหตุอ้างเป็นลาภมิควรได้ ก็ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จจากจำเลย อ้างว่าจำเลยไม่คืนเงิน ตามสิทธิให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืน เพราะโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงิน จำนวนนี้ชำระหนี้ที่โจทก์เป็นหนี้เงินยืม จากจำเลยส่วนหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนเดียวกันคืนอีกอ้างว่าเป็นลาภมิควรได้ จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินไว้ชำระหนี้เพราะไม่มีหนี้ต่อกันจึงต้องคืนแก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีก็เหมือนกับคดีแรกว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยได้หรือไม่ โดยจะนำเงินจำนวนนี้ไปหักหนี้ที่ ยืมจากจำเลยไปได้หรือไม่ เป็นการเรียกทรัพย์คืนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์ ศาลพิจารณาคืนเงินในลักษณะลาภมิควรได้ หากจำเลยรับเงินจริง
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์ต้องคืนที่ดินให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ในลักษณะลาภมิควรได้เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงเรื่องลาภมิควรได้ไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยได้รับเงินค่าขายฝาก 30,000 บาท จากโจทก์หรือไม่แล้วพิพากษาใหม่ คดีในชั้นฎีกาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลที่ชำระเกินมาในชั้นฎีกาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์และประเด็นลาภมิควรได้ การคืนเงินและที่ดิน
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ต้องคืนที่ดินให้จำเลย จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ในลักษณะลาภมิควรได้เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงเรื่องลาภมิควรได้ไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยได้รับเงินค่าขายฝาก 30,000 บาท จากโจทก์หรือไม่แล้วพิพากษาใหม่
คดีในชั้นฎีกาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลที่ชำระเกินมาในชั้นฎีกาแก่โจทก์
คดีในชั้นฎีกาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลที่ชำระเกินมาในชั้นฎีกาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3 ก. เพื่อจำเลยจะได้นำ น.ส.3 ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก 4 วัน โจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลยและจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์