คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอำพรางสัญญาขายฝาก โมฆะตามกฎหมาย ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3ก. เพื่อจำเลยจะได้นำน.ส.3ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก4 วันโจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3110/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย/ฝาก/กู้ที่ไม่สมบูรณ์/นิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยชำระหนี้/โอนที่ดิน
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายฝากกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดที่โจทก์แจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3110/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย/ฝาก/กู้ที่มิได้ทำตามฟอร์ม/ผิดนัด/นิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ของคู่กรณี
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายฝากกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดที่โจทก์แจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ไม่เป็นเหตุฟ้องระงับการบังคับคดี
การที่โจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงไม่ใช่ลาภมิควรได้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยงดการบังคับคดีซึ่งจำเลยมีสิทธิบังคับคดีได้ในคดีก่อนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้
การที่โจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยตามคำพิพากษา เรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย จึงไม่ใช่ลาภมิควรได้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยงดการบังคับคดีซึ่งจำเลยมีสิทธิบังคับคดีได้ในคดีก่อนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ธนาคารผู้ทรงเช็คต้องคืนเงินส่วนเกินให้ผู้สั่งจ่าย
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช. ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนด จำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญเมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้นจำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเช็คให้สูงขึ้นโดยไม่ประจักษ์ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิเรียกเก็บเงินได้เฉพาะจำนวนเดิม การรับเงินส่วนเกินเป็นอันไม่มีมูล
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช.ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนดจำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญ เมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้น จำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินบำเหน็จตกทอดของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาล เป็นโมฆะ
เงินบำเหน็จที่จะตกได้แก่บรรดาทายาทผู้มีสิทธิของผู้ตาย ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 นั้น มิใช่มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยแจ้งให้กรมการเงินกระทรวงกลาโหมหักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายเพื่อใช้หนี้จำเลยนั้น เป็นการมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับทายาทผู้ตาย
การที่มารดาโจทก์ไปตกลงให้หักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายที่จะได้แก่โจทก์บางส่วนชำระหนี้แก่จำเลยนั้น เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่ได้กระทำไปแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผลให้โจทก์ต้องชำระหนี้เมื่อมารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(13) ข้อตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะจำเลยไม่มีมูลที่จะอ้างเพื่อการชำระหนี้จากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้หักเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตศาลเป็นโมฆะและเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องคืนเงิน
เงินบำเหน็จตกทอดซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย มิใช่มรดกของผู้ตาย
โจทก์เป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำนิติกรรมที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้ชำระหนี้ของบุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ผู้ตาย และได้รับเงินบำเหน็จตกทอดไปเป็นการชำระหนี้โดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เยาว์ และถือได้ว่าเป็นการได้ซึ่งทรัพย์สินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้หักเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้แทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การรับเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเหตุให้เรียกคืนได้
เงินบำเหน็จตกทอดซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย มิใช่มรดกของผู้ตาย
โจทก์เป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำนิติกรรมที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้ชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ผู้ตาย และได้รับเงินบำเหน็จตกทอดไปเป็นการชำระหนี้โดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้เยาว์ และถือได้ว่าเป็นการได้ซึ่งทรัพย์สินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
of 45