พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลสำหรับวัตถุดิบผลิตสินค้าน้ำอัดลมที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้า
โจทก์นำน้ำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลม ระหว่างต้นปี 2507 ถึงเดือนกรกฎาคม 2509 โจทก์เสียภาษีที่ที่ว่าการอำเภอโดยโจทก์ยื่นแบบ ภ.ค.4 แสดงยอดราคาน้ำเชื้อที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วคำนวณออกมาเป็นภาษีการค้าบวกกับภาษีบำรุงเทศบาล ต่ออำเภอภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งชำระเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2509 กรมศุลกากร เป็นผู้เก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากรจำเลยโดยเมื่อโจทก์นำน้ำชื้อมาในราชอาณาจักรก็ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายการสินค้าคือใบอินวอยซ์ เมื่อกรมศุลกากรตรวจถูกต้องแล้วก็จะเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โดยแยกเป็นอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล ดังนี้ การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งทางอำเภอและทางกรมศุลกากรดังกล่าว แม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนกรมสรรพากรจำเลย แต่ก็หาใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1734/2519)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขาย การที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ไห้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขาย การที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ไห้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในการผลิต ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้า - อายุความไม่ขาด
โจทก์นำน้ำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลม ระหว่างต้นปี 2507 ถึงเดือนกรกฎาคม 2509 โจทก์เสียภาษีที่ที่ว่าการอำเภอโดยโจทก์ยื่นแบบภ.ค.4 แสดงยอดราคาน้ำเชื้อที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วคำนวณออกมาเป็นภาษีการค้าบวกกับภาษีบำรุงเทศบาลต่ออำเภอ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งชำระเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2509กรมศุลกากรเป็นผู้เก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากรจำเลยโดยเมื่อโจทก์นำน้ำเชื้อเข้ามาในราชอาณาจักรก็ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายการสินค้าคือใบอินวอยซ์ เมื่อกรมศุลกากรตรวจถูกต้องแล้วก็จะเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โดยแยกเป็นอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล ดังนี้ การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งทางอำเภอและทางกรมศุลกากรดังกล่าวแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนกรมสรรพากรจำเลย แต่ก็หาใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1734/2519)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขายการที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ให้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้ จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขายการที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ให้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้ จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การประเมินภาษีถูกต้องและโจทก์ไม่เคยอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเรียกเก็บภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรซึ่งจำเลยมีสิทธิประเมินได้ มิใช่ไม่มีมูลจะอ้างได้ตามกฎหมายโจทก์อ้างว่าจำต้องเสียเงินเพราะจำเลยไม่ยอมปล่อยของจากศุลกากรไม่ได้ โจทก์ไม่อุทธรณ์การประเมินก่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะไม่ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะเนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนโอน และสิทธิในการเรียกเงินคืน
เมื่อข้อความในสัญญาแสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาโดยชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายที่ดินระหว่างกันเด็ดขาด ไม่มีความตอนใดแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่าจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินกันในภายหลัง กล่าวคือคู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินกันเอง โดยมิได้คำนึงถึงการแบ่งแยกโฉนดและจดทะเบียนโอนที่ดินต่อกันแต่ประการใดกรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไปและเมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ เงินราคาที่ดินซึ่งผู้ซื้อชำระต่อกันไปเสร็จแล้ว ผู้ซื้อชอบที่จะเรียกร้องเอาคืนจากผู้ขายได้ในฐานลาภมิควรได้ แต่ผู้ซื้อหามีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ขายได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นผลจากการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะเมื่อไม่ได้จดทะเบียนโอน สิทธิเรียกร้องได้เฉพาะเงินคืนในฐานลาภมิควรได้
เมื่อข้อความในสัญญาแสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาโดยชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายที่ดินระหว่างกันเด็ดขาด ไม่มีความตอนใดแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่าจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินกันในภายหลัง กล่าวคือคู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินกันเอง โดยมิได้คำนึงถึงการแบ่งแยกโฉนดและจดทะเบียนโอนที่ดินต่อกันแต่ประการใดกรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไปและเมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ เงินราคาที่ดินซึ่งผู้ซื้อชำระต่อกันไปเสร็จแล้ว ผู้ซื้อชอบที่จะเรียกร้องเอาคืนจากผู้ขายได้ในฐานลาภมิควรได้ แต่ผู้ซื้อหามีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ขายได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นผลจากการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมที่ศาลวินิจฉัยแล้วย่อมต้องห้ามตามกฎหมาย และการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่ลาภมิควรได้
คดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์และบริวารให้ออกไปจากห้องเช่าพร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย ศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์และบริวาร และให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้าง 4 เดือนเป็นเงิน 2,000 บาท กับค่าเสียหายต่อไปอีกเดือนละ 1,500 บาทจนกว่าโจทก์จะคืนห้องเช่าให้จำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า ศาลพิพากษาในคดีก่อน กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 เดือนละ 1,500 บาท ไม่ถูก ความจริงควรเป็นเดือนละ 500 บาท ดังนี้ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้าม มิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จำเลยรับชำระหนี้จากโจทก์ไปตามคำพิพากษาของศาลซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายนั้น หาใช่ลาภมิควรได้ไม่
การที่จำเลยรับชำระหนี้จากโจทก์ไปตามคำพิพากษาของศาลซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายนั้น หาใช่ลาภมิควรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นค่าเสียหายที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และการรับชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิใช่ลาภมิควรได้
คดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์และบริวารให้ออกไปจากห้องเช่าพร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย ศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์และบริวาร และให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้าง 4 เดือน เป็นเงิน 2,000 บาท กับค่าเสียหายต่อไปอีกเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าโจทก์จะคืนห้องเช่าให้จำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า ศาลพิพากษาในคดีก่อน กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 เดือนละ 1,500 บาท ไม่ถูก ความจริงควรเป็นเดือนละ 500 บาท ดังนี้ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จำเลยรับชำระหนี้จากโจทก์ไปตามคำพิพากษาของศาลซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายนั้นหาใช่ลาภมิควรได้ไม่
การที่จำเลยรับชำระหนี้จากโจทก์ไปตามคำพิพากษาของศาลซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายนั้นหาใช่ลาภมิควรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า และผลของการต่อสัญญาเช่าโดยปริยาย
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืนเพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า, สิทธิเรียกร้องเมื่อเช่าต่อเนื่อง, ความรับผิดของคู่สัญญา
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืน เพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น