คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองโดยผู้ไม่มีสิทธิ & ลาภมิควรได้: ผู้รับจำนองต้องคืนเงินไถ่ถอนให้ผู้ซื้อที่ดิน
ล. เจ้าของที่ดินขายที่ดินให้ ม. โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว ล. นำที่ดินนั้นไปจำนองต่อจำเลยที่ 3 โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน ต่อมาภายหลัง ล. ได้นำที่ดินรายเดียวกันนี้ไปขายให้โจทก์อีก โจทก์ไม่ทราบเรื่องที่ ล. ขายให้ ม. จึงรับซื้อไว้ และชำระราคาที่ดินให้จำเลยที่ 3 เป็นค่าไถ่ถอนจำนอง ดังนี้ ถือว่าในขณะที่ ล. จำนองที่ดินนั้น ล. ผู้จำนอง ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน สัญญาจำนองระหว่าง ล. กับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปเป็นการไถ่ถอนจำนอง และจำเลยที่ 3 รับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย และทำให้โจทก์เสียเปรียบ. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ชำระไป คืนจากจำเลยที่ 3 ได้ในฐานลาภมิควรได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าที่ดินไปจากโจทก์. ขอให้จำเลยที่ 3คืนเงินให้โจทก์ เป็นที่เห็นได้แล้วว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองที่ทำโดยผู้ไม่มีสิทธิ จำนองแล้วรับเงินโดยไม่มีมูลอ้างฐานลาภมิควรได้
ล. เจ้าของที่ดินขายที่ดินให้ ม. โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว ล. นำที่ดินนั้นไปจำนองต่อจำเลยที่ 3โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกันต่อมาภายหลัง ล. ได้นำที่ดินรายเดียวกันนี้ไปขายให้โจทก์อีกโจทก์ไม่ทราบเรื่องที่ ล. ขายให้ ม. จึงรับซื้อไว้ และชำระราคาที่ดินให้จำเลยที่ 3 เป็นค่าไถ่ถอนจำนอง ดังนี้ ถือว่าในขณะที่ ล.จำนองที่ดินนั้น ล. ผู้จำนอง ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน สัญญาจำนองระหว่าง ล. กับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายการที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปเป็นการไถ่ถอนจำนองและจำเลยที่ 3 รับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายและทำให้โจทก์เสียเปรียบ. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปคืนจากจำเลยที่ 3 ได้ในฐานลาภมิควรได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าที่ดินไปจากโจทก์. ขอให้จำเลยที่ 3คืนเงินให้โจทก์เป็นที่เห็นได้แล้วว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ตามคำพิพากษา แม้จำเลยจะถูกพิพากษาว่าเบิกความเท็จในคดีแพ่ง แต่การยึดทรัพย์นั้นชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นให้จำเลย จำเลยย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ แม้ภายหลังโจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีแพ่งเกี่ยวกับอายุความที่โจทก์ตัดฟ้องไว้ คำพิพากษาคดีอาญาในเรื่องที่จำเลยเบิกความเท็จ ก็หามีผลลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งไม่
จำเลยอาจกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาคดีอาญาแต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพราะเหตุจำเลยเบิกความเท็จ กลับฟ้องคดีโดยมีมูลฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าคดีแพ่งที่จำเลยฟ้องนั้นขาดอายุความแล้ว และจำเลยเบิกความเท็จเกี่ยวกับวันตายของผู้กู้เงิน จนศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยยังแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยึดไว้อีก เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้จำเลยมีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้นได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยขอประกาศขายทรัพย์สินที่ยึด ภายหลังจากจำเลยรู้ว่าจำเลยมีความผิดในคดีอาญา เป็นการกระทำโดยไม่ สุจริต และละเมิดต่อโจทก์ การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เป็นลาภมิควรได้และการถอนการบังคับคดีจะพึงกระทำได้ก็ต้องขอและว่ากล่าวกันแต่ในคดีเดิมเมื่อมีกรณีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีได้ แม้จำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นให้จำเลย จำเลยย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ แม้ภายหลังโจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา และศาลพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีแพ่งเกี่ยวกับอายุความที่โจทก์ตัดฟ้องไว้คำพิพากษาคดีอาญาในเรื่องที่จำเลยเบิกความเท็จ ก็หามีผลลบล้างคำพิพากษาในคดีแพ่งไม่
จำเลยอาจกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาคดีอาญา แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพราะเหตุจำเลยเบิกความเท็จ กลับฟ้องคดีโดยมีมูลฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าคดีแพ่งที่จำเลยฟ้องนั้นขาดอายุความแล้ว และจำเลยเบิกความเท็จเกี่ยวกับวันตายของผู้กู้เงิน จนศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยยังแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยึดไว้อีก เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้จำเลยมีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้นได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยขอประกาศขายทรัพย์สินที่ยึดภายหลังจากจำเลยรู้ว่าจำเลยมีความผิดในคดีอาญา เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและละเมิดต่อโจทก์ การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เป็นลาภมิควรได้และการถอนการบังคับคดีจะพึงกระทำได้ก็ต้องขอและว่ากล่าวกันแต่ในคดีเดิมเมื่อมีกรณีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมของภรรยาที่ไม่มีสิทธิในมรดก: การกระทำโดยสุจริตและเจตนา
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย มิได้ฟ้องแย้งในนามทายาทซึ่งเป็นบุตรโจทก์ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตายโจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่งจึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมของภรรยาที่มิได้จดทะเบียนสมรส แม้ทราบว่าไม่มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายมิได้ฟ้องแย้งในนามทายาทซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตาย โจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่ง จึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้จากสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่า จำเลยที่ 2 มีสามีเป็นคนต่างด้าวรับซื้อที่ดินของโจทก์ไปเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะนั้นมีผลเป็นการฟ้องเรียกเอาคืน ซึ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า หนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะซึ่งมีผลเป็นการเรียกที่ดินคืน และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ทั้งตามฎีกาของโจทก์ยังขอให้พิพากษาให้โจทก์ได้กลับคืนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามเดิมด้วย กรณีจึงเป็นการเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้
การฟ้องเรียกที่ดินคืนฐานลาภมิควรได้เนื่องแต่โมฆะกรรม โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ โจทก์รู้ถึงสิทธิเรียกคืนหรือภายในสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมอันเป็นโมฆะซึ่งสิทธิเรียกคืนได้มีขึ้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดิน และจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีสามีเป็นคนต่างด้าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 มาแต่เดิมหาได้ไม่เพราะมิได้เป็นการฟ้องแย้งโจทก์ แต่เป็นการฟ้องแย้งจำเลยด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้จากสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่า จำเลยที่ 2 มีสามีเป็นคนต่างด้าวรับซื้อที่ดินของโจทก์ไปเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาว่าหนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะนั้นมีผลเป็นการฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า หนังสือสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโมฆะซึ่งมีผลเป็นการเรียกที่ดินคืน และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลมาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ทั้งตามฎีกาของโจทก์ยังขอให้พิพากษาให้โจทก์ได้กลับคืนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามเดิมด้วย กรณีจึงเป็นการเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้
การฟ้องเรียกที่ดินคืนฐานลาภมิควรได้เนื่องแต่โมฆะกรรม โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงสิทธิเรียกคืน หรือภายในสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมอันเป็นโมฆะซึ่งสิทธิเรียกคืนได้มีขึ้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดินและจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีสามีเป็นคนต่างด้าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งแสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น เป็นของจำเลยที่ 1 มาแต่เดิมหาได้ไม่เพราะมิได้เป็นการฟ้องแย้งโจทก์ แต่เป็นการฟ้องแย้งจำเลยด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ไม่สมบูรณ์ และความรับผิดของคู่สัญญาเมื่อมีการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด
โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสได้ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้ออาคารสงเคราะห์เป็นผู้เช่าซื้อโดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินค่าเช่าซื้อ และภายหลังเมื่อจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นแล้วให้โอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์หรือบุตรเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงให้สำเร็จลุล่วงไป แต่กลับเอาสิทธิการเช่าซื้อไปโอนให้จำเลยที่ 2 เสีย เป็นเหตุให้โจทก์หรือบุตรไม่อาจรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นได้ เช่นนี้จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
การที่จำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาอย่างใดกับโจทก์ เพราะระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์หาได้มีสัญญาต่อกันอย่างใดไม่และแม้โจทก์จะก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมสิ้นเงินไป 25,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิเช่าซื้ออาคารนี้มาก็ไม่เป็นลาภมิควรได้อันต้องคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและการผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จากการไม่โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ได้ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้ออาคารสงเคราะห์เป็นผู้เช่าซื้อโดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินค่าเช่าซื้อ และภายหลังเมื่อจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นแล้วให้โอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์หรือบุตรเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงให้สำเร็จลุล่วงไป แต่กลับเอาสิทธิการเช่าซื้อไปโอนให้จำเลยที่ 2 เสีย เป็นเหตุให้โจทก์หรือ บุตรไม่อาจรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นได้ เช่นนี้จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
การที่จำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาอย่างใดกับโจทก์ เพราะระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์หาได้มีสัญญาต่อกันอย่างใดไม่และแม้โจทก์จะก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมสิ้นเงินไป 25,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิเช่าซื้ออาคารนี้มาก็ไม่เป็นลาภมิควรได้อันต้องคืนแก่โจทก์
of 45