คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 406

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ ถือเป็นการเสียเปรียบเจ้าหนี้และอาจถูกเพิกถอนได้
นิติกรรมการโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องได้ทำเป็นการยกให้โดยเสน่หาดังนี้ ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ชำระหนี้แทนบิดาและจำเลยผู้โอนซึ่งเป็นมารดาจะถือว่าเป็นค่าตอบแทนโดยตรงหาได้ไม่ การที่บุตรชำระหนี้แทนบิดามารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงประเภทนิติกรรมให้เป็นอื่นไปได้ ฉะนั้น การที่จำเลยโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องเพียงแต่จำเลยและสามีรู้ฝ่ายเดียวว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบก็พอแล้วที่จะเพิกถอนการโอนได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยยังมีที่ดินอีกแปลงหนึ่งก็ปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้อื่นอีกหลายราย บางรายก็ยังฟ้องร้องอยู่ราคาที่ดินที่ว่าก็ยังโต้เถียงกัน ไม่แน่ว่าทรัพย์สินของจำเลยจะพอชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ ดังนี้ ถือว่าการที่จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้องเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ ถือเป็นการเสียเปรียบเจ้าหนี้และเพิกถอนได้
นิติกรรมการโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องได้ทำเป็นการยกให้โดยเสน่หา ดังนี้ ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ชำระหนี้แทนบิดาและจำเลยผู้โอนซึ่งเป็นมารดา จะถือว่าเป็นค่าตอบแทนโดยตรงหาได้ไม่ การที่บุตรชำระหนี้แทนบิดามารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงประเภทนิติกรรมให้เป็นอื่นไปได้ ฉะนั้น การที่จำเลยโอนที่ดินรายพิพาทให้ผู้ร้องเพียงแต่จำเลยและสามีรู้ฝ่ายเดียวว่า เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบก็พอแล้วที่จะเพิกถอนการโอนได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยยังมีที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ก็ปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้อื่นอีกหลายราย บางรายก็ยังฟ้องร้องอยู่ ราคาที่ดินที่ว่าก็ยังโต้เถียงกันไม่แน่ว่าทรัพย์สินของจำเลยจะพอชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ ดังนี้ ถือว่าการที่จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ร้อง เป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน, อายุความหนี้, สิทธิยึดหน่วง, การสะดุดหยุดของอายุความ
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน อายุความสิทธิเรียกร้อง และสิทธิยึดหน่วง
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน. แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่. ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง.
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย. อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน, อายุความ, สิทธิยึดหน่วง: คดีขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่รู้สิทธิ หรือเกิน 10 ปีนับแต่ทำสัญญา
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้ โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการเรียกร้องเงินกินเปล่า: การเช่าต่อเนื่องไม่ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า ในขณะที่โจทก์ผู้เช่าอ้างว่าได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยผู้ให้เช่าไปนั้น โจทก์ผู้เช่ากำลังเช่าห้องพิพาทอยู่แล้ว ไม่ได้มีการก่อสร้างห้องเช่าใหม่ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้าง การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการเช่ากันอย่างธรรมดา การที่ผู้เช่าเสียเงินกินเปล่าให้แก่ผู้ให้เช่าในลักษณะเช่นนี้เพียงแต่ให้โจทก์ผู้เช่ามีสิทธิอยู่ในห้องเช่าต่อไปเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นดังกล่าวแล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าให้โจทก์อยู่ในห้องเช่าต่อไปอีก 3 ปี หาได้ไม่เพราะการฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
โจทก์ตกลงยอมเสียเงินกินเปล่า 120,000 บาท ให้จำเลยเพื่อสิทธิที่โจทก์จะได้เช่าห้องพิพาทต่อไปอีก 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 ในการที่โจทก์ได้จ่ายเงินกินเปล่าล่วงหน้า 40,000 บาท ให้จำเลยไป ความปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ได้อยู่ในห้องเช่าตลอดมานับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อเทียบตามส่วนกับจำนวนเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับประโยชน์คุ้มกันกับเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินกินเปล่า 40,000 บาทนี้คือจากจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการเรียกร้องเงินกินเปล่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า ในขณะที่โจทก์ผู้เช่าอ้างว่าได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยผู้ให้เช่าไปนั้น โจทก์ผู้เช่ากำลังเช่าห้องพิพาทอยู่แล้ว ไม่ได้มีการก่อสร้างห้องเช่าใหม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้างการเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการเช่ากันอย่างธรรมดาการที่ผู้เช่าเสียเงินกินเปล่าให้แก่ผู้ให้เช่าในลักษณะเช่นนี้เพียงแต่ให้โจทก์ผู้เช่ามีสิทธิอยู่ในห้องเช่าต่อไปเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นดังกล่าวแล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าให้โจทก์อยู่ในห้องเช่าต่อไปอีก 3 ปีหาได้ไม่ เพราะการฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
โจทก์ตกลงยอมเสียเงินกินเปล่า 120,000 บาท ให้จำเลยเพื่อสิทธิที่โจทก์จะได้เช่าห้องพิพาทต่อไปอีก 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 ในการที่โจทก์ได้จ่ายเงินกินเปล่าล่วงหน้า 40,000 บาท ให้จำเลยไป ความปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ได้อยู่ในห้องเช่าตลอดมานับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อเทียบตามส่วนกับจำนวนเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับประโยชน์คุ้มกันกับเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปแล้วโจทก์จึงหามีสิทธิเรียกเงินกินเปล่า 40,000 บาทนี้คืนจากจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและเงินกินเปล่า: การบังคับสัญญาเช่าใหม่และสิทธิในการเรียกเงินคืน
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า ในขณะที่โจทก์ผู้เช่าอ้างว่าได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยผู้ให้เช่าไปนั้น. โจทก์ผู้เช่ากำลังเช่าห้องพิพาทอยู่แล้ว. ไม่ได้มีการก่อสร้างห้องเช่าใหม่. ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้าง.การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการเช่ากันอย่างธรรมดา.การที่ผู้เช่าเสียเงินกินเปล่าให้แก่ผู้ให้เช่าในลักษณะเช่นนี้เพียงแต่ให้โจทก์ผู้เช่ามีสิทธิอยู่ในห้องเช่าต่อไปเท่านั้น. จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา. เมื่อไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นดังกล่าวแล้ว. โจทก์จะนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าให้โจทก์อยู่ในห้องเช่าต่อไปอีก 3 ปีหาได้ไม่.เพราะการฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ. จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538.
โจทก์ตกลงยอมเสียเงินกินเปล่า 120,000 บาท ให้จำเลยเพื่อสิทธิที่โจทก์จะได้เช่าห้องพิพาทต่อไปอีก 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506. ในการที่โจทก์ได้จ่ายเงินกินเปล่าล่วงหน้า 40,000 บาท ให้จำเลยไป. ความปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ได้อยู่ในห้องเช่าตลอดมานับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เกินกว่า 1 ปีแล้ว. เมื่อเทียบตามส่วนกับจำนวนเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับประโยชน์คุ้มกันกับเงินกินเปล่าที่โจทก์เสียไปแล้ว. โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกเงินกินเปล่า 40,000 บาทนี้คืนจากจำเลยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746-747/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายกำหนดไถ่ขายฝากต้องห้ามตามกฎหมาย แม้รับเงินผ่อนชำระแล้ว จำเลยต้องคืนเงินหากไถ่ไม่ได้
โจทก์ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไว้กับจำเลย. ฟ้องโจทก์รับอยู่ในตัวว่าโจทก์มิได้ไถ่ทรัพย์พิพาทภายในกำหนด. แต่อ้างว่าจำเลยยอมให้โจทก์ผ่อนชำระราคาตามสัญญาขายฝากจนครบ. และเมื่อครบแล้วจำเลยจะคืนทรัพย์พิพาทที่ขายฝากให้. การตกลงดังนี้เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา496.
เมื่อโจทก์ไม่สามารถไถ่ที่ดินคืนภายในกำหนดเวลา.จำเลยก็จำต้องคืนเงินค่าผ่อนชำระที่ดินให้แก่โจทก์. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640-654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บค่าภาคหลวงไม้หลังไม้สูญหาย ไม่มีสิทธิเรียกเก็บและหักเงินมัดจำ
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2494 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้. ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น. แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์จะเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา 14(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีไม้อยู่ในเวลาที่เรียกเก็บค่าภาคหลวง.มิฉะนั้นเมื่อผู้รับอนุญาตไม่ชำระ ก็ไม่มีไม้ตกเป็นของแผ่นดิน.
โจทก์มีหนังสือเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ซึ่งมีรอยตราค่าภาคหลวงสูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่.จึงเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. ซึ่งโจทก์จะเอาเงินมัดจำการตรวจตีตราค่าภาคหลวงจำนวน 30,000บาท นั้นไปหักชำระเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าภาคหลวงไม่ได้.ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าภาคหลวงที่โจทก์ยังอ้างว่ายังขาดอยู่นั้นอีกด้วย. โจทก์ชอบที่จะคืนเงิน30,000 บาท ให้แก่จำเลยแต่ละรายตามส่วนการทำไม้ของจำเลย.
โจทก์เรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ที่มีตราค่าภาคหลวงทั้ง 1,021 ท่อนนั้นได้สูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่. จึงไม่มีไม้ที่ทำออกซึ่งจะต้องเสียค่าภาคหลวง. โจทก์จึงเอาเงิน 30,000 บาทมาหักกลบลบกับค่าภาคหลวง ซึ่งจำเลยจะต้องชำระตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่. จำเลยแต่ละรายมีสิทธิที่จะได้รับค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามใบอนุญาตของตนคืน.
of 45