พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ยุติตามคำสั่งศาล และอายุความของหนี้จากสัญญาจ้าง
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนั้น ทนายจำเลยได้มาศาลและลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้ โดยมิได้ติดใจโต้แย้งในขณะนั้นหรือในระยะเวลาต่อมาตามที่กฎหมายกำหนดขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพิ่มเติมแต่ประการใด ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนด จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ว่ากล่าวอีก และปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่า พ.เป็นเพียงพนักงานของโจทก์ มิใช่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่จะมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำให้การของจำเลย จึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ ดังนี้ ปัญหาที่จำเลยอาศัยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องต่อไปอีกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์ แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์ แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายที่ทำการ – ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการโดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานครและได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่16มกราคม2526ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัยเขตพญาไทกรุงเทพมหานครต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีการที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรีโดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา7วรรคหนึ่ง(1)ถึง(4)หรือมาตราอื่นใดแห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการจำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อย้ายตามที่ทำการ - ข้อยกเว้น พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้าน
เดิมจำเลยรับราชการที่กรมวิเทศสหการ โดยเริ่มรับราชการครั้งแรกที่หน่วยงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร และได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2526 ซึ่งขณะนั้นที่ทำการของโจทก์ตั้งอยู่ที่ทบวงมหาวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การที่โจทก์ย้ายสำนักงานหรือที่ทำการจากท้องที่ในกรุงเทพมหานครไปอยู่ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี โดยจำเลยต้องย้ายติดตามไปปฏิบัติราชการประจำที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ มีผลเท่ากับจำเลยได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ในต่างท้องที่ และการที่จำเลยเช่าบ้านอยู่นอกเขตท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นของมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) หรือมาตราอื่นใดแห่ง พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยมีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะจาก พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ และอายุความการเรียกคืนเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกัน แต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่น จึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่น ดังนั้น เงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืน เมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง
ที่พิพาทราคา 250,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน 410,000 บาท จึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4941/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอน อายุความคืนเงิน และการคำนวณดอกเบี้ย
ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างที่พิพาทยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ข้อที่ว่าโจทก์รู้หรือไม่รู้ว่ามีบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ทราบว่าการซื้อขายที่พิพาทจะเป็นโมฆะในขณะตกลงซื้อขายกันแต่เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีอื่นจึงถือว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินจากจำเลยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีอื่นนั้นเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน1ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อการซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆะตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีอื่นดังนั้นเงินค่าที่พิพาทที่จำเลยผู้ขายได้รับจากโจทก์ผู้ซื้อจึงต้องคืนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนเมื่อจำเลยไม่คืนให้ต้องถือว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เรียกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง ที่พิพาทราคา250,000บาทการที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจากจำเลยเป็นจำนวน410,000บาทจึงเกินไปจากราคาที่พิพาทที่โจทก์มีสิทธิเรียกคืนแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย โจทก์ต้องคืนเงินดาวน์
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อโดยอยู่ในระหว่างโจทก์เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวกับบ. ก็ตามแต่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก่อนที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่1ตามสัญญาสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมีผลใช้บังคับได้ เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา567ส่วนค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดซึ่งจำเลยที่1จ่ายเป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่งและทำสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นและเป็นทางให้จำเลยที่1เสียเปรียบหากทรัพย์ที่เช่าซื้อมิได้สูญหายเพราะความผิดของจำเลยที่1หรือโจทก์นำเงินดาวน์มาหักเป็นค่าเช่าซื้อก่อนสัญญาเช่าซื้อระงับโจทก์ก็ต้องคืนให้แก่จำเลยที่1 เมื่อจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะแม้โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สูญหายคืนเงินดาวน์ฐานลาภมิควรได้
ขณะโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อก็ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงมัดจำและการคืนเงินกรณีไม่ชำระราคาที่ดินตามสัญญา
โจทก์และ น.กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่า ในวันทำสัญญาโจทก์มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท และ น.ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 5,000,000 บาท ให้จำเลยเป็นมัดจำ และมีข้อตกลงข้อ 4 ว่า หากธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยยินดีคืนเงินจำนวน1,000,000 บาท ตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์ และสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำขึ้นตามข้อ 3 เป็นอันยกเลิก แต่เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยก็ไม่ได้คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาทแก่โจทก์ และกลับมีการเพิ่มข้อตกลงเป็นข้อ 6 ว่า จำเลยได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท จากโจทก์เพื่อเป็นการวางเงินเพิ่มตามข้อ 1 และตกลงขยายระยะเวลาตามข้อ 5 ออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 แสดงว่าโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงเปลี่ยนแปลงเฉพาะเรื่องเพิ่มวงเงินที่โจทก์ได้วางตามข้อ 1 จาก 1,000,000 บาท เป็น1,500,000 บาท และขยายระยะเวลาจ่ายเงินร้อยละ 50 ของราคาที่ดินออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 เท่านั้น ส่วนข้อความอื่น ๆ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันตามเดิม เมื่อถึงวันที่ 27 กันยายน 2534 โจทก์ไม่นำเงินอีกร้อยละ 50 ของราคาที่ดินที่ยังขาดอยู่มาชำระให้จำเลย จำเลยก็จะต้องคืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่ะบุไว้ในข้อ 4 และกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกทรัพย์คืนตามข้อตกลง มิใช่โจทก์เรียกให้จำเลยคืนทรัพย์ในลักษณะลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการทหารเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้ายประการใดๆในที่ดินเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เช่นนี้ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นโจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหารการวางมัดจำจำนวน300,000บาทของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตามความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจการรับเงินมัดจำจำนวน300,000บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินหวงห้ามเป็นโมฆะ การคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราช-กฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406